พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๗ ประวัติพระปิลินทวัจฉเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38362
อ่าน  444

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระปิลินทวัจฉเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระปิลินทวัจฉเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า เทวานํ ปิยมนาปานํ ทรงแสดงว่า พระปิลันทวัจฉเถระ เป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้เป็นที่รัก และเป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ พระเถระนั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรงให้มหาชนตั้งอยู่ในศีลห้า ได้ทรงกระทำกุศล ที่มุ่งผลข้างหน้า คือ สวรรค์ โดยมากเหล่าเทวดาที่บังเกิด ในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ได้โอวาทของพระองค์ นั่นแล ตรวจดูสมบัติของตน ในสถานที่ที่บังเกิดแล้ว นึกอยู่ว่า เราได้สวรรค์สมบัตินี้ เพราะอาศัยใครหนอ ก็รู้ว่า เราได้สมบัติ เพราะอาศัยพระเถระ จึงนมัสการพระเถระทั้งเวลาเช้า เวลาเย็น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายก็คำว่า ปิลินท เป็นชื่อของท่าน, คำว่า วัจฉะ เป็นโคตรของท่าน รวมคำทั้ง ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 428

นั้นเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า "ปิลินทวัจฉะ" ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้.

ได้ยินมาว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้ เกิดในครอบครัวของผู้ที่มีโภคสมบัติมาก ในกรุงหงสวดี ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา โดยนัยมีในก่อน นั่นแล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มาบังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า ปิลินทวัจฉะ สมัยอื่นต่อมา ท่านฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้ศรัทธา บรรพชาอุปสมบทแล้ว เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านเมื่อพูดกับคฤหัสถ์ก็ดี ภิกษุก็ดี ใช้โวหารว่า ถ่อย ทุกคำว่า "มาซิเจ้าถ่อย,ไปซิเจ้าถ่อย, นำไปซิเจ้าถ่อย, ถือเอาซิเจ้าถ่อย" ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้วก็นำไปทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมดาพระอริยะ ย่อมไม่กล่าวคำหยาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่า พระอริยะทั้งหลาย ไม่กล่าวผรุสวาจา ข่มผู้อื่น ก็แต่ว่า ผรุสวาจานั้น พึงมีได้โดยที่เคยตัวในภพอื่น" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระปิลินทวัจฉเถระพยายามแล้วพยายามเล่า เมื่อกล่าวกับคฤหัสถ์ก็ดี กับภิกษุทั้งหลายก็ดี ก็พูดว่า "เจ้าถ่อย เจ้าถ่อย" ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเรื่องนี้มีเหตุเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกล่าวเช่นนั้น แห่งบุตรของเราประพฤติจน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 429

เคยชินในปัจจุบันเท่านั้น ก็หามิได้ แต่ในอดีตกาล บุตรของเรานี้ บังเกิดในครอบครัวแห่งพราหมณ์ ผู้มักกล่าวว่า ถ่อย ถึง ๕๐๐ ชาติ ดังนั้นบุตรของเรานี้ จึงกล่าวเพราะความเคยชิน มิได้กล่าวด้วยเจตนาหยาบ จริงอยู่โวหารแห่งพระอริยะทั้งหลาย แม้จะหยาบอยู่บ้าง ก็ชื่อว่า บริสุทธิ์แท้ เพราะเจตนาไม่หยาบ ไม่เป็นบาปแม้มีประมาณเล็กน้อย ในเพราะการกล่าวนี้. ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถานี้ในพระธรรมบทว่า

อกกฺกสํ วิญฺาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย

ยาย นาภิสเช กิญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ

พึงกล่าวแต่ถ้อยคำที่ไม่หยาบ ที่เข้าใจกันได้ ที่ควรกล่าว ที่เป็นคำจริง ซึ่งไม่กระทบใครๆ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์.

อยู่ต่อมาวันหนึ่ง พระเถระเข้าไปบิณฑบาตกรุงราชคฤห์ พบผู้ชายผู้หนึ่งถือดีปลีมาเต็มถาด กำลังเข้าไปในกรุง จึงถามว่า เจ้าถ่อย ในภาชนะของแกมีอะไร ชายผู้นั้น คิดว่า สมณะรูปนี้ กล่าวคำหยาบกับเราแต่เช้าเทียว เราก็ควรกล่าวคำเหมาะแก่สมณะรูปนี้เหมือนกัน จึงตอบว่า ในภาชนะของข้ามีขี้หนูซิท่าน. พระเถระพูดว่า เจ้าถ่อย มันจักต้องเป็นอย่างว่านั้น. เมื่อพระเถระคล้อยหลังไป ดีปลีกกลายเป็นขี้หนูไปหมด เขาคิดว่า ดีปลีเหล่านี้ ปรากฏเสมือนขี้หนู จะเป็นจริงหรือไม่หนอ ลองเอามือบี้ดู ทีนั้นเขาก็รู้ว่าเป็นขี้หนูจริงๆ ก็เกิดความเสียใจอย่างยิ่ง. เขาคิดว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 430

เป็นเฉพาะดีปลีเหล่านี้ เท่านั้นหรือ หรือในเกวียนก็เป็นอย่างนี้ด้วย จึงเดินไปตรวจดู ก็พบว่าดีปลีทั้งหมด ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เอามือกุมอกแล้วคิดว่า นี้ไม่ใช่การ กระทำของคนอื่น ต้องเป็นการกระทำของภิกษุ ที่เราพบตอนเช้านั่นเอง พระเถระจักรู้มายากลอย่างหนึ่งเป็นแน่ จำเราจะตามหาสถานที่ๆ ภิกษุนั้นเดินไป จึงจักรู้เหตุ ดังนี้แล้ว จึงเดินไปตามทางที่พระเถระเดินไป ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งพบชายผู้นั้น กำลังเดินเครียด จึงถามว่า พ่อมหาจำเริญเดินเครียดจริง ท่านกำลังเดินไปทำธุระอะไร. เขาจึงบอกเรื่องนั้นแก่บุรุษผู้นั้น. บุรุษผู้นั้นฟังเรื่องราวของเขาแล้ว ก็พูดอย่างนี้ว่าพ่อมหาจำเริญ อย่าคิดเลย จักเป็นด้วยท่านพระปิลินทวัจฉะ พระผู้เป็นเจ้าของข้าเอง ท่านจงถือดีปลีนั้นเต็มภาชนะ ไปยืนข้างหน้าพระเถระ แม้เวลาที่พระเถระกล่าวว่า นั่นอะไรล่ะ เจ้าถ่อย ก็จงกล่าวว่าดีปลีท่านขอรับ. พระเถระจักกล่าวว่า จักเป็นอย่างนั้น เจ้าถ่อย. มันก็จะกลายเป็นดีปลีไปหมด ชายผู้นั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น แต่ต่อมาภายหลัง พระศาสดา ทรงทำเรื่องที่พระเถระเป็นที่รัก ที่พอใจของเหล่าเทวดาเป็นเหตุ จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้เป็นที่รัก ที่พอใจของเทวดาแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗