พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑ ประวัติพระอานนทเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38367
อ่าน  392

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 443

วรรคที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัติพระอานนทเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 443

วรรคที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัติพระอานนทเถระ

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า พหุสฺสุตานํ เป็นต้นดังนี้. แม้พระเถระรูปอื่นๆ ที่เป็นพหูสูต มีธิติทรงจำและเป็นอุปัฏฐากก็มีอยู่ ส่วนท่านพระอานนท์นี้ เล่าเรียนพระพุทธวจนะ ก็ยึดยืนหยัดอยู่ในปริยัติดุจผู้รักษาเรือนคลัง ในศาสนาของพระทศพล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้เป็นพหูสูต. อนึ่ง สติที่เล่าเรียนพระพุทธวจนะแล้ว ทรงจำไว้ของพระเถระนี้เท่านั้น ก็มีกำลังกว่าพระเถระรูปอื่นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจ่งชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีสติทรงจำ. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ นี่แล ยืนหยัดยึดอยู่บทเดียว ก็ถือเนื้อความได้ถึงหกหมื่นบท จำได้ทุกบท โดยทำนองที่พระศาสดาตรัสไว้ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีคติ. อนึ่ง ความเพียรเล่าเรียน ความเพียรท่องบ่น ความเพียรทรงจำ และความเพียรอุปัฏฐากพระศาสดา ของท่านพระอานนท์รูปนั้นเท่านั้น ที่ภิกษุอื่นๆ เทียบไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีธิติ. อนึ่ง ท่านพระอานนท์รูปนี้ เมื่ออุปัฏฐากพระตถาคต ก็ไม่อุปัฏฐาก ด้วยอาการอุปัฏฐากของเหล่าภิกษุ ผู้อุปัฏฐากรูปอื่นๆ ด้วยว่าเหล่าภิกษุผู้อุปัฏฐากรูปอื่นๆ เมื่ออุปัฏฐากพระตถาคต อุปัฏฐากอยู่ไม่ได้นาน ทั้งอุปัฏฐากยึดพระหฤทัยของพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 444

พุทธะทั้งหลายไว้ไม่ได้. ส่วนพระเถระ นับแต่วันที่ได้ตำแหน่งพระอุปัฏฐาก ก็เป็นผู้ปรารภความเพียร อุปัฏฐากยึดพระหฤทัยของพระตถาคตไว้ได้ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้อุปัฏฐาก. ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกัปสุดท้ายเจ็ดแสนกัปแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ อุบัติในโลก พระองค์มีพระนครชื่อว่า หงสวดี มีพระราชบิดาพระนามว่า นันทะ พระราชมารดาผู้เป็นพระเทวีพระนามว่า สุเมธา มีพระโพธิสัตว์ พระนามว่า อุตตรกุมาร. พระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช ในวันพระราชโอรสประสูติ ทรงประกอบความเพียรเนืองๆ แล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตามลำดับ ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้น ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ล่วงเวลาไป ๗ วัน ทรงยื่นพระบาทออก ด้วยหมายจักทรงวางไว้ที่แผ่นดิน ครั้งนั้น ดอกปทุมมีขนาดที่กล่าวไว้แล้ว แต่หนหลัง ชำแรกแผ่นดินชูขึ้นรองรับ เพราะหมายถึง ดอกปทุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรากฏพระนามว่า ปทุมุตตระ นั่นแล. พระองค์มีพระอัครสาวก นามว่า เทวิละองค์หนึ่ง จุลชาตะองค์หนึ่ง มีหมู่พระอัครสาวิกา นามว่า อมิตา องค์หนึ่ง อสมา องค์หนึ่ง ทรงมีพระอุปัฏฐากนามว่า สุมนะ. พระปทุมุตตรผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสงเคราะห์พระพุทธบิดา มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร ประทับอยู่ ณ กรุงหงสวดีราชธานี. ส่วนพระกนิษฐภาดาของพระองค์ พระนามว่า สุมนกุมาร. พระราชาพระราชทานบ้านส่วยสองพันโยชน์ นับแต่กรุงหงสวดี แด่สุมนราชกุมารนั้น. สุมนราชกุมารนั้น เสด็จมาเฝ้าพระราชบิดา และพระศาสดา เป็นครั้งคราว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 445

ต่อมาวันหนึ่ง ชนบทชายแดนก่อกบฏ สุมนราชกุมาร จึงส่งข่าวถวายพระราชา พระราชาทรงให้ตอบไปว่า พ่อตั้งเจ้าไว้ในตำแหน่งนั้น เพราะเหตุไร สุมนราชกุมารนั้น ปราบกบฏสงบแล้ว ส่งข่าวไปกราบทูลพระราชาว่า เทวะ ชนบทสงบราบคาบแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาทรงยินดีตรัสว่า ลูกพ่อจงรีบมา. สุมนราชกุมารนั้น มีอำมาตย์ประมาณพันคน ทรงปรึกษากับอำมาตย์เหล่านั้นในระหว่างทางว่า พระราชบิดาของเราทรงยินดี ถ้าจะพระราชทานพรแก่เรา เราจักรับอะไร. ลำดับนั้น อำมาตย์บางพวกทูลพระราชกุมารว่า โปรดรับช้าง รับม้า รับชนบท รับรัตนะ ๗ อีกพวกหนึ่งทูลว่า พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ทรัพย์พระองค์ได้ไม่ยาก แต่ทรัพย์นั้นแม้ได้แล้ว ก็จำต้องละไปทั้งหมด บุญต่างหากที่พระองค์จะพาไปได้ เพราะฉะนั้น เมื่อสมมติเทพพระราชทานพร ขอพระองค์โปรดรับพร คือการอุปัฏฐาก พระปทุมุตตรผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดไตรมาสเถิด พระเจ้าข้า. พระราชกุมารนั้นรับสั่งว่า พวกท่านเป็นกัลยาณมิตรของเรา พวกท่านทำจิตคิดอยู่นี้ ให้เกิดแก่เรา เราจักทำอย่างนั้น แล้วเสด็จไปถวายบังคมพระราชบิดา ถูกพระราชบิดาสวมกอดจุมพิตที่กระหม่อม แล้วตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะให้พรแก่เจ้า ดังนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กระหม่อมฉันปรารถนาจะเป็นผู้อุปัฏฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ตลอดไตรมาส เพื่อทำชีวิตไม่ให้เป็นหมัน พระพุทธบิดาตรัสว่า พ่อไม่อาจให้พรข้อนี้แก่ลูกได้ดอก พ่อจะให้พรอย่างอื่นนะลูก. พระราชกุมารกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดาว่า กษัตริย์ไม่ตรัสคำสองนะ พระเจ้าข้า ขอโปรดพระราชทานพรนี้แก่กระหม่อม-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 446

ฉันเถิด พรอย่างอื่น กระหม่อมฉันไม่ต้องการ พระเจ้าข้า. พระพุทธบิดาตรัสว่า ธรรมดาว่า พระหฤทัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้กันได้ยาก หากพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประสงค์ เมื่อพ่อให้พรเจ้าแล้ว จักมีอะไร. พระราชกุมารกราบทูลว่า ดีละ เทวะ กระหม่อมฉันจักทราบ พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ แล้วเสด็จไปยังพระวิหาร

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี พระราชกุมารจึงเสด็จไปยังสำนักภิกษุทั้งหลาย ที่ประชุมกัน ณ ศาลาทรงกลม. ภิกษุเหล่านั้น ทูลถามพระราชกุมารว่า ถวายพระพร พระราชบุตร พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุอะไร. พระราชกุมารตรัสว่า เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดชี้บอกพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่ข้าพเจ้าทีเถิด เหล่าภิกษุทูลว่า พระราชบุตร พวกอาตมภาพเข้าเฝ้าพระศาสดา ในเวลาที่มุ่งมาดปรารถนาไม่ได้ดอก ตรัสถามว่า ใครเล่าถึงจะเฝ้าได้เจ้าข้า. ทูลตอบว่า ถวายพระพร พระราชบุตรพระนามว่า สุมนเถระ. พระราชกุมารตรัสถามถึงที่นั่งของพระเถระว่า พระเถระนั้นอยู่ไหนเล่า ท่านเจ้าข้า. แล้วเสด็จไปตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดชี้บอกพระผู้มีพระภาคเจ้า แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด เมื่อพระราชกุมารกำลังทอดพระเนตร เห็นอยู่นั่นแล พระเถระก็เข้าอาโปกสิณฌาน อธิษฐานแผ่นดินใหญ่ให้เป็นน้ำ ดำลงในแผ่นดินไปปรากฏที่พระคันธกุฎีของพระศาสดา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ พระสุมนเถระว่า สุมนะ เหตุไร เธอจึงมา ท่านทูลว่า พระราชบุตรเสด็จมา ประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. ตรัสว่า แน่ะภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดอาสนะสิ เมื่อพระราชกุมารกำลังทอดพระเนตรเห็นอยู่ นั่นแล พระเถระก็ถือเอาพุทธอาสนะ ดำลงในพระคันธกุฎี ไปปรากฏ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 447

นอกบริเวณ จัดอาสนะไว้ที่บริเวณ พระราชกุมาร ทรงเห็นเหตุน่าอัศจรรย์ทั้งสองนี้แล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุรูปนี้ใหญ่หนอ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จออกจากพระคันธกุฎี แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ เมื่อตรัสถามว่า ก่อนราชบุตร พระองค์เสด็จมาเมื่อไร พระราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าพระคันธกุฎี แต่ภิกษุทั้งหลายบอกว่า ท่านเข้าเฝ้าไม่ได้ ในขณะที่มุ่งมาดปรารถนา จึงส่งข้าพระองค์ ไปยังสำนักของพระเถระ ส่วนเพระเถระ แสดงด้วยถ้อยคำๆ เดียว พระเถระนี้เป็นที่สนิทสนม ในพระศาสนาของพระองค์ หรือพระเจ้าข้า ตรัสว่าใช่แล้ว พระราชกุมาร ภิกษุรูปนี้เป็นที่สนิทสนมในศาสนาของเรา. ทูลว่า ภิกษุรูปนี้ทำอะไร จึงเป็นที่สนิทสนม ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายทานรักษาศีล ทำอุโปสถกรรมนะสิ พระราชกุมาร พระราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ประสงค์จะเป็นผู้สนิทสนม ในพระพุทธศาสนาเหมือนพระเถระ พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์นะ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ พระราชกุมารเสด็จไปยังที่ประทับของพระองค์ จัดสักการะอย่างใหญ่ ตลอดคืนยังรุ่ง ได้ถวายขันธวารภัตร (อาหารที่ถวายพระระหว่างตั้งค่ายพักแรม) วันที่ ๗ ถวายบังคมพระศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับพร คือการอุปัฏฐากพระองค์ตลอดไตรมาสภายในพรรษา จากสำนักพระราชบิดา ขอพระองค์ทรงโปรดรับอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพื่อข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า อรรถประโยชน์ด้วยข้อนั้น มีไหมหนอ ก็ทรงเห็นว่ามีอยู่ จึงตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมอภิรมย์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 448

ยินดีในเรือนว่างแล พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์รู้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์รู้แล้ว แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะล่วงหน้าไปก่อน จะให้เขาสร้างพระวิหาร เมื่อข้าพระองค์ส่งคนไปทูล ขอพระองค์ โปรดเสด็จมาพร้อมด้วยภิกษุแสนรูป ทรงถือปฏิญาณแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระราชบิดา กราบทูลว่าเทวะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานปฏิญาณแก่กระหม่อมฉันแล้ว เมื่อกระหม่อมฉันส่งคนมากราบทูล ขอพระองค์พึงโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย พระเจ้าข้า ถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกไป ทรงสร้างวิหารทุกระยะทางโยชน์หนึ่ง เสด็จไปสิ้นทางไกลสองพันโยชน์ ครั้นเสด็จถึงแล้ว ทรงเลือกที่ตั้งพระวิหารในนครของพระองค์ ทรงเห็นอุทยานของกุฎุมพี (เศรษฐี) ชื่อ โสภะ ทรงซื้อด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สละพระราชทรัพย์แสนหนึ่ง โปรดให้สร้างพระวิหาร ณ พระวิหารนั้น โปรดให้สร้างพระคันธกุฎี สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และกุฎีที่เร้น และมณฑป เป็นที่พักกลางคืนและกลางวัน สำหรับเหล่าภิกษุนอกนั้น จัดสร้างกำแพงล้อมและซุ้มประตู แล้วทรงส่งคนไปยังสำนักพระราชบิดากราบทูลว่า กิจของกระหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ขอได้โปรดส่งพระศาสดาไปเถิด พระราชบิดา ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กิจของสุมนสำเร็จแล้ว เขาหวังการเสด็จไปของพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุแสนรูปแวดล้อมประทับอยู่ ณ วิหารทั้งหลาย ทุกระยะโยชน์หนึ่งได้เสด็จไป พระราชกุมาร ทรงทราบว่า พระศาสดากำลังเสด็จมา ก็เสด็จออกไปต้อนรับ สิ้นระยะทางโยชน์หนึ่ง ทรงบูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น ส่งเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงมอบถวายพระวิหารว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 449

สตสหสฺเสน เม กีตํ สตสหสฺเสน มาปิตํ

โสภนํ นาม อุยฺยานํ ปฏิคฺคณฺห มหามุนิ

ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์โปรดทรงรับอุทยาน ชื่อ โสภนะ ซึ่งข้าพระองค์ซื้อมาด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างวิหารด้วยทรัพย์แสนหนึ่งด้วยเถิด

พระราชกุมารนั้น ในวันเข้าพรรษา ถวายทานแล้ว เรียกบุตรภริยาของตนและเหล่าอมาตย์มาแล้วสั่งว่า พระศาสดาเสด็จมา ยังสำนักของพวกเราเป็นทางไกล ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเรา ทรงหนักในธรรมไม่เห็นแก่อามิส เพราะฉะนั้น เราจักนุ่งผ้าสองผืนตลอดไตรมาสนี้ สมาทานศีลสิบ อยู่เสียในที่นี้ นี่แหละ พวกท่านพึงถวายทานตลอดไตรมาสโดยทำนองนี้ แด่พระขีณาสพแสนรูป สุมนราชกุมารนั้น ประทับอยู่ในฐานะที่ถูกกันกับสถานที่อยู่ ของพระสุมนเถระ เห็นกิจกรรมทุกอย่างที่พระเถระกระทำวัตร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดำริว่า พระเถระนี้เป็นที่สนิทสนมในพระตถาคต เราควรปรารถนาตำแหน่งของพระเถระนั้น เมื่อใกล้วันปวารณาออกพรรษา จึงเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้าน ถวายมหาทาน ๗ วัน วันที่ครบ ๗ วัน ทรงวางไตรจีวรแทบเท้าภิกษุแสนรูป ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว หมอบบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญนั้นใด ที่ข้าพระองค์กระทำมาตั้งแต่ถวายทานระหว่างที่พักกลางทางมา ๗ วัน บุญอันนั้น ข้าพระองค์มิได้ประสงค์สวรรคสมบัติ มิได้ประสงค์พรหมสมบัติ แต่ข้าพระองค์ปรารถนาเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า จึงกระทำ อนึ่งเล่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์ ก็จะเป็นอุปัฏฐาก เหมือนพระสุมนเถระ ในอนาคตกาล พระศาสดาทรง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 450

เห็นไม่มีอันตราย สำหรับพระราชกุมารนั้น จึงทรงพยากรณ์ แล้วเสด็จกลับไป พระราชกุมารทรงสดับแล้ว ทรงดำริว่า ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ตรัสเป็นคำสอง ในวันที่สอง ก็ได้เป็นเหมือนถือบาตรจีวรของพระโคดมพุทธเจ้า ตามเสด็จไปเบื้องพระปฤษฎางค์

พระราชกุมารนั้น ในพุทธุปบาทกาลนั้น ถวายทานแล้ว บังเกิดในสวรรค์แสนปี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้ถวายผ้าห่มเพื่อรองรับบาตร แก่พระเถระผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ได้ทำการบูชา บังเกิดในสวรรค์อีก จุติจากภพนั้น เป็นพระเจ้าพาราณสี เสด็จขึ้นชั้นบนปราสาทอันประเสริฐ ทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ซึ่งมาแต่เขาคันธมาทน์ ให้นิมนต์มาแล้ว ให้ฉัน โปรดให้สร้างบรรณศาลา ๘ หลัง สำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ในมงคลอุทยานของพระองค์ ทรงตกแต่งตั่งทำด้วยรัตนะล้วน เตียงทำด้วยแก้วมณีอย่างละ ๘ และเชิงรองแก้วมณี ได้ทำการอุปัฏฐากถึงหมื่นปี. เหล่านี้เป็นฐานะที่ปรากฏแล้ว ก็ท่านถวายทานอยู่ถึงแสนกัป บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต กับพระโพธิสัตว์ของเรา จุติจากชั้นดุสิตนั้นแล้ว ก็บังเกิดในเรือนของเจ้าอมิโตทนศากยะ ลำดับนั้น ท่านเกิดแล้ว ทำพระญาติทั้งมวลของท่าน ให้ร่าเริงบันเทิงใจ เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติจึงขนานพระนามแก่ท่านว่า อานันทะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ตามลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ เป็นการเสด็จครั้งแรก กำลังเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์นั้น เมื่อเหล่าพระราชกุมารบรรพชา เพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็ออกบวชในสำนักพระศาสดา พร้อมกับเหล่าเจ้าศากยะ มีเจ้าภัททิยะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 451

เป็นต้น ไม่นานนัก ได้ฟังธรรมกถา ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีอุปัฏฐาก ไม่ประจำถึง ๒๐ ปี ในปฐมโพธิกาล บางคราวท่านพระนาคสมาล ถือบาตรจีวรตามเสด็จ บางคราวท่านพระนาคิตะ บางคราวท่านพระอุปวานะ บางคราวท่านพระสุนักขัตตะ บางคราว ท่านจุนทะ สมณุทเทส บางคราวท่านพระสาคตะ บางคราวท่านพระราธะ บางคราวท่านพระเมฆิยะ บรรดาพระอุปัฏฐากไม่ประจำเหล่านั้น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเดินทางไกล กับพระนาคสมาลเถระ ถึงทางสองแพร่ง พระเถระลงจากทางทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปทางนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า มาเถิดภิกษุ เราจะไปกันทางนี้ พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงถือทางพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะไปทางนี้ แล้วเริ่มจะวางบาตรจีวรลงที่พื้นดิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอามาสิภิกษุ ทรงรับบาตรจีวรแล้ว เสด็จดำเนินไป เมื่อภิกษุรูปนั้นเดินทางไปตามลำพัง พวกโจรก็ชิงบาตรจีวร และตีศีรษะแตก ท่านคิดว่า บัดนี้ก็มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นที่พึ่งของเราได้ ไม่มีผู้อื่นเลย แล้วมายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่โลหิตไหล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นี่อะไรกันล่ะ ภิกษุก็ทูลเรื่องราวถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปลอบว่า อย่าคิดเลยภิกษุ เราห้ามเธอ ก็เพราะเหตุอันนั้น นั่นแหละ อนึ่ง ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังบ้านชันตุคาม ใกล้ปาจีนวังสมฤคทายวัน กับพระเมฆิยเถระ แม้ในที่นั้น พระเมฆิยะเที่ยวบิณฑบาตไปในชันตุคาม พบสวนมะม่วงน่าเลื่อมใส ริมฝั่งแม่น้ำ ก็ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 452

ขอพระองค์โปรดรับบาตรจีวรของพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะทำสมณธรรม ที่ป่ามะม่วงนั้น แม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามสามครั้งก็ยังไป ถูกอกุศลวิตกเข้าครอบงำ ก็กลับมาทูลเรื่องราวถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านว่า เรากำหนดถึงเหตุของเธออันนี้แหละ จึงห้าม แล้วเสด็จดำเนินไปยังกรุงสาวัตถี ตามลำดับ

ณ กรุงสาวัตถีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง เหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐ ที่เขาจัดไว้ บริเวณพระคันธกุฎี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราแก่ลงภิกษุบางพวกกล่าวว่า ข้าพระองค์จะไปทางนี้ แล้วก็ไปเสียอีกทางหนึ่ง บางพวกก็วางบาตรจีวรของเราไว้บนพื้นดิน พวกเธอจงช่วยกันเลือก ภิกษุอุปัฏฐากประจำให้แก่เราเถิด. ภิกษุทั้งหลายเกิดธรรมสังเวช. ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตร ลุกจากอาสนะถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อปรารถนาพระองค์ พระองค์เดียว จึงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย สิ้นอสงไขยกำไรแสนกัป ผู้มีปัญญามาก เช่นข้าพระองค์ ชื่อว่า เป็นอุปัฏฐาก ก็ควรมิใช่หรือ ข้าพระองค์จะอุปัฏฐากล่ะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านว่า อย่าเลย สารีบุตรเราอยู่ทิศใด ทิศนั้นก็ไม่ว่างเลย โอวาทของท่านก็เหมือนโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กิจที่ท่านจะอุปัฏฐากเรา ไม่มีดอก พระอสีติมหาสาวก ตั้งต้นแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ก็ลุกขึ้นโดยอุบายนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงห้ามเสียสิ้น. ส่วนพระอานนท์เถระนั่งนิ่งเลย. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ภิกษุสงฆ์ทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกัน แม้ท่านก็จงทูลขอสิ. ท่านพระอานนทเถระ กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ธรรมดาว่าตำแหน่งที่ทูลขอได้แล้ว เป็น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 453

เช่นไรเล่า พระศาสดาไม่ทรงเห็นกระผมหรือ ถ้าพระศาสดาจักทรงชอบพระทัย ก็จักตรัสว่า อานนท์จงอุปัฏฐากเราดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไม่ต้องมีผู้อื่นชวนให้อุตสาหะดอก จักรู้ตัวเองแหละ แล้วอุปัฏฐากเรา. ต่อนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ลุกขึ้นสิอานนท์ ทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระทศพล.

พระเถระลุกขึ้นแล้วทูลขอพร ๘ ประการ คือ ส่วนที่ขอห้าม ๔ ส่วนที่ขอร้อง ๔ พระเถระทูลว่า ชื่อว่าพรส่วนที่ขอห้าม ๔ คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ประทานจีวร จักไม่ประทานบิณฑบาต อันประณีตที่พระองค์ทรงได้มาแล้วแก่ข้าพระองค์ จักไม่ประทานให้ข้าพระองค์อยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์ จักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ อย่างนี้ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถามว่า อานนท์ เธอเห็นโทษอะไรในข้อนี้ จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์จักได้วัตถุประสงค์เหล่านี้ไซร้ จักมีผู้กล่าวได้ว่า อานนท์บริโภคจีวร บริโภคบิณฑบาตอันประณีต อยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกัน ไปสู่ที่นิมนต์เดียวกันกับพระทศพล เมื่อได้ลาภนี้จึงอุปัฏฐากพระตถาคต หน้าที่ของผู้อุปัฏฐากอย่างนี้ จะมีอะไร เพราะฉะนั้น ท่านจึงทูลขอพรส่วนที่ขอห้าม ๔ ประการเหล่านี้ พระเถระทูลว่า พรส่วนที่ขอร้อง ๔ คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้ ถ้าข้าพระองค์จะพาคนที่มาแต่รัฐภายนอก ชนบทภายนอก เข้าเฝ้าได้ในขณะที่เขามาแล้ว ขณะใดข้าพระองค์เกิดความสงสัย ขณะนั้นข้าพระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมใดลับหลังข้าพระองค์ จักเสด็จมาตรัสธรรมนั้น แก่ข้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 454

อย่างนี้ ข้าพระองค์จึงจักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถามว่าอานนท์ ในข้อนี้ เธอเห็นอานิสงส์อะไร จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหล่ากุลบุตรผู้มีศรัทธาในโลกนี้ เมื่อไม่ได้โอกาสของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ พรุ่งนี้ ขอท่านกับพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับภิกษาในเรือนของกระผม ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จไปในที่นั้น ข้าพระองค์ไม่ได้โอกาสหาคนเข้าเฝ้าในขณะที่เขาประสงค์ และบรรเทาความสงสัย พวกเขาก็จักกล่าวได้ว่าอานนท์ อุปัฏฐากพระทศพลทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุเคราะห์ท่าน แม้อย่างนี้ และพวกเขาจักถามข้าพระองค์ ลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านอานนท์ คาถานี้ พระสูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ณ ที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้พรข้อนั้น พวกเขาก็จักกล่าวได้ว่า ท่านไม่รู้พระดำรัสแม้เท่านี้ เหตุไร ท่านจึงเที่ยวอยู่ได้ตั้งนาน ไม่ละพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย เหมือนกับเงา ด้วยข้อนั้น ข้าพระองค์ต้องการจะกล่าวธรรม ที่แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงลับหลังอีก เพราะฉะนั้น ท่านจึงทูลขอพรส่วนที่ขอร้อง ๔ ประการเหล่านี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ประทานพรแก่ท่าน. ท่านรับพร ๘ ประการอย่างนี้ จึงได้เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ.

ผลแห่งบารมีทั้งหลาย ที่บำเพ็ญมาตลอดแสนกัป ก็มาถึงท่านผู้ปรารถนาตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากประจำนั้น นั่นแล. ตั้งแต่วันที่ได้ตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากแล้ว ท่านอุปัฏฐากพระทศพล ด้วยกิจทั้งหลายเป็นต้น อย่างนี้คือ ด้วยน้ำ ๒ อย่าง ด้วยไม้สีฟัน ๓ อย่าง ด้วยการนวดพระหัตถ์และพระบาท ด้วยการนวดพระปฤษฎางค์ ด้วยการกวาดบริเวณพระคันธกุฎี คิดว่า พระศาสดาควรได้กิจนี้ ในเวลานี้ แล้วถือประทีปด้ามขนาด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 455

ใหญ่ไว้ ต่อจากเวลาเที่ยงคืนเดินตรวจรอบๆ บริเวณพระคันธกุฎี ราตรีหนึ่ง ๙ ครั้ง อนึ่งท่านมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะพึงง่วงนอนไซร้ เราก็ไม่อาจขานรับ เมื่อพระทศพลตรัสเรียก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ปล่อยประทีปด้ามหลุดจากมือ ตลอดคืนยังรุ่ง ในข้อนี้ มีวัตถุนิทานดังกล่าวนี้ แต่ภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงสรรเสริญท่านพระอานนทเถระ ผู้รักษาเรือนคลังธรรม โดยปริยายเป็นอันมาก จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้เป็นพหูสูต มีสติ มีสติ มีธิติ และพุทธอุปัฏฐาก ในพระศาสนานี้ แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑