พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ ประวัติพระสาคตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38376
อ่าน  455

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 491

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระสาคตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 491

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระสาคตเถระ

ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า เตโชธาตุกุสสานํ ท่านแสดงว่า ท่านพระสาคตเถระ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ ความจริง พระเถระนี้ ใช้เดชครอบงำเดชของนาคชื่อ อัมพติตถะ ได้ทำให้หายพยศ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

ก็พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว ในกรุงหงสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ จึงทำกุศลกรรมอย่างใหญ่ ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาทำกุศลตลอดชีวิตเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี. บิดามารดาจึงตั้งชื่อท่านว่า สาคตมาณพ.ต่อมา สาคตมาณพนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้ศรัทธา จึงบวชทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว บรรลุความเป็นผู้ชำนาญในสมาบัตินั้น. ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกไป ได้เสด็จถึงที่ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้น คนที่มาที่ไปมากด้วยกัน เป็นศัตรูของนายเรือเก่าที่ท่าน้ำ ตีนายเรือนั้นตาย. นายเรือนั้น ตั้งความปรารถนาด้วยทั้งจิตที่ขุ่นแค้น บังเกิดเป็นนาคราชมีอานุภาพมาก ที่ท่าเรือนั้น นั่นแหละ เพราะมีจิตขุ่นแค้น เขาจึงทำให้ฝนตกในเวลาที่มิใช่หน้าฝน ไม่ให้ฝนตก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 492

ในเวลาหน้าฝน. ข้าวกล้า ก็ไม่สมบูรณ์. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น ทำการเส้นสังเวยทุกปี เพื่อให้นาคราชนั้นสงบ สร้างเรือนหลังหนึ่ง ให้นาคราชนั้นอยู่. แม้พระศาสดาก็เสด็จข้ามทางท่านั้น มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ได้เสด็จไป ทรงมีพระประสงค์จะประทับอยู่คืนหนึ่ง ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น พระเถระนี้ทราบว่า เขาว่ามีนาคราชดุอยู่ที่นั้น จึงคิดว่า ควรจะทรมานนาคราชนี้ ให้หายพยศ แล้วจัดแจงที่ประทับอยู่ สำหรับพระศาสดาดังนี้แล้ว เข้าไปยังที่อยู่ของนาคนั่งขัดสมาธิ. นาคโกรธว่า สมณะโล้นนี้ชื่อไร จึงบังอาจเข้าไปนั่งยังที่อยู่ของเรา แล้วจึงบังหวนควันขึ้น. พระเถระก็ทำบังหวนควันยิ่งกว่า. พระยานาคทำไฟลุกโพลง. พระเถระก็ทำไฟลุกโพลงยิ่งกว่า ครอบงำเดชของนาคนั้น. นาคคิดว่า ภิกษุรูปนี้ใหญ่จริงหนอ จึงหมอบกราบลงแทบเท้าพระเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพระเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ. พระเถระบอกว่า กิจด้วยสรณะสำหรับเราไม่มีดอก ท่านจงถึงพระทศพลเป็นสรณะเถิด (๑) นาคนั้นรับคำว่า ดีละ แล้วเป็นผู้ถึงสรณะ.

(๒) นาคนั้นได้ถึงพระทศพล ผู้มีพระเศียร คือสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระเกล้างาม คือนิพพานารมณ์อันประเสริฐ ผู้มีพระนลาต คือจตุตถญาณอันประเสริฐ ผู้มีรัศมีพระอุณณาโลม คือสมาปัตติญาณ ดั่งวชิระอันประเสริฐ ผู้มีพระโขนงทั้งคู่อันประเสริฐเกินความงาม


(๑) ปาฐะว่า โส สาธูติ สรณํ คโตฯ โส อคจฺฉิ ตํ สรณํ ฯเปฯ สพฺพญฺญุตํปิ สํคโตฯ หุตฺวา อิโตปฏฺาย น กิญฺจ วิเหเมิ เทวํปิ สมฺมา วสฺสาเปมีติฯ พม่าเป็น โส สาธูติ สรณคโต หุตฺวา ตโต ปฏฺาย น กญฺจิ วิเหเติ, เทวมฺปิ สมฺมา วสฺสาเปติ, แปลตามพม่า

(๒) ที่วงเล็บไว้ฉบับพม่าสีหลไม่มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 493

แห่งนีลกสิณ ผู้มีคู่พระจักษุ คือทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ และสมันตจักษุอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระโสต คือทิพยโสตญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระนาสิกโด่ง คือโคตรภูญาณอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระปราง (แก้ม) คือมรรคผลญาณ และวิมุตติผลญาณอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระโอษฐ์ คือโลกิยญาณและโลกุตตรญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระทนต์งาม คือ สัตตตึสโพธิปักขิยญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระเขี้ยว ๔ คือจตุมรรคญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระชิวหา คือจตุสัจจญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระหณุ (คาง) คืออัปปฏิหตญาณ (พระญาณที่ไม่มีอะไรขัดขวาง) อันประเสริฐ ผู้มีพระศอ คือญาณเครื่องบรรลุวิโมกข์ อันยอดเยี่ยมอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระพาหา (แขน) คือจตุเวสารัชชญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระองคุลี (นิ้ว) กลมงาม คือทสานุสสติญาณอันประเสริฐ ผู้มีแผ่นพระอุระ (อก) เต็ม คือสัตตโพชฌงค์ ผู้มีคู่พระถัน (นม) คืออาสยานุสยญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระวรกายท่อนกลาง คือทศพลญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระชงม์ (แข้ง) คือปัญยินทรีย์และปัญจพละอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระอูรุ (ขา) คือทสกุศลกัมมปถอันประเสริฐ ผู้มีสังฆาฏิ คือศีลสมาธิปัญญาอันประเสริฐ ผู้มีบังสุกุลจีวรเครื่องปกปิดพระวรกาย คือหิริโอตตัปปะอันประเสริฐ ผู้มีพระอันตรวาสก (สะบง) คืออัฏฐังคิกมรรคญาณอันประเสริฐ ผู้มีประคตเอว คือจตุสิปัฏฐานอันประเสริฐ เป็นสรณะพระพุทธเจ้า ท่านให้แจ่มแจ้งแล้ว ดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุแม้พระสัพพัญญุตญาณแล้ว ตั้งแต่นั้น นาคก็ไม่เบียดเบียนใครๆ ทำฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สมบูรณ์พูนผล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 494

พวกชาวกรุงโกสัมพี ฟังข่าวว่า เขาว่าพระผู้เป็นเจ้าสาคตะ ทรมานอัมพติตถนาคได้แล้ว ต่างคอยการเสด็จมาของพระศาสดา จัดแจงสักการะเป็นอันมาก ถวายพระทศพล ชาวเมืองเหล่านั้น ครั้นถวายสักการะอย่างมาก แด่พระทศพลแล้ว ก็ตกแต่งน้ำใสสีขาว (ประเภทสุรา?) ไว้ในเรือนทุกหลัง ตามคำแนะนำของเหล่าภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุ ๖ รูป) วันรุ่งขึ้น เมื่อพระสาคตเถระ เที่ยวบิณฑบาตก็พากันถวายน้ำนั้น บ้านละหน่อยๆ พระเถระถูกผู้คนทั้งหลายขะยั้นขะยอ เพราะยังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ก็ดื่มทุกเรือนหลังละหน่อยๆ เดินไปไม่ไกลนัก ก็สิ้นสติล้มลงที่กองขยะ เพราะไม่มีอาหารรองท้อง. พระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว เสด็จออกไปเห็นท่านพระสาคตะเถระนั้น ก็โปรดให้พาตัวไปพระวิหาร ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบท. วันรุ่งขึ้น ท่านได้สติ ฟังเขาเล่าถึงเหตุที่ตนทำแล้ว ก็แสดงโทษที่ล่วงเกิน ขอให้พระทศพลงดโทษแล้ว เกิดความสสดใจ เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. เรื่องปรากฏในพระวินัย ดังกล่าวมานี้. พึงทราบเรื่องพิสดารตามนัยที่มาแล้วในวินัยนั้น นั่นแล ภายหลังพระศาสดาประทับนั่ง ในพระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระสาคตเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุแล.

จบ อรรถกถาพระสูตรที่ ๑๐