พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ ประวัติพระโมฆราชเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38378
อ่าน  468

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 500

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ประวัติพระโมฆราชเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 500

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ประวัติพระโมฆราชเถระ

ในสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ลูขจีวรธรานํ ท่านแสดงว่า ท่านพระโมฆราช เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทรงจีวรปอน จริงอยู่ พระเถระองค์นี้ทรงผ้าบังสกุลจีวร ที่ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่าง คือ ปอนด้วยผ้า ปอนด้วยด้าย ปอนด้วยเครื่องย้อม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ทรงจีวรปอน. ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

ก็ท่านพระโมฆราชนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิบังเกิดในครอบครัว กรุงหงสวดี หลังจากนั้น กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ทรงจีวรปอน ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในเรือนอำมาตย์ ในนครกัฏฐวาหนะ ก่อนแต่พระทศพลพระนามว่า กัสสปะ เสด็จอุบัติขึ้น ต่อมาเจริญวัย เฝ้าบำรุงพระเจ้ากัฏฐวาหนะ. ก็ได้ตำแหน่งอำมาตย์. สมัยนั้นพระกัสสปทศพล เสด็จอุบัติในโลกแล้ว พระเจ้ากัฏฐวาหนะทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก รับสั่งเรียกอำมาตย์นั้นมาตรัสว่า พ่อเอ๋ย พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ใครๆ ไม่อาจทำนครปัจจันต-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 501

ประเทศนี้ให้ว่างจากเราทั้งสองพร้อมๆ กันได้ ก่อนอื่น ท่านจงไปยังมัชฌิมประเทศ รู้ว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จงพาพระทศพล นำมายังนครปัจจันตประเทศนี้ แล้วทรงส่งไปพร้อมด้วยบุรุษ ๑,๐๐๐ คน. อำมาตย์นั้น ไปยังสำนักพระศาสดาฟังธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้ว ก็บวชในที่นั้นตามลำดับ ได้กระทำสมณธรรมอยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี. ส่วนบุรุษที่ไปกับอำมาตย์นั้น กลับมาสำนักพระราชาหมด. พระเถระนี้มีศีลบริบูรณ์กระทำกาละ (มรณะ) แล้ว เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ พุทธันดรหนึ่ง ถือปฏิสนธิในครอบครัวพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ก่อนพระทศพลของเราบังเกิด บิดามารดาได้ตั้งชื่อว่า โมฆราชมาณพ แม้พระเจ้ากัฏฐวาหนะ ก็ทรงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป แด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ พร้อมด้วยบริวารเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ พุทธันดรหนึ่ง ถือปฏิสนธิในครอบครัวปุโรหิต กรุงสาวัตถี ก่อนพระพระทศพลของเราเสด็จอุบัติขึ้น บิดามารดาตั้งชื่อว่า พาวรีมาณพ. สมัยต่อมาพาวรีมาณพเรียนไตรเพทแล้ว เที่ยวสอนศิลปะแก่พวกมาณพ ๑๖,๐๐๐ คน. ครั้งนั้น พาวรีมาณพก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทน เมื่อบิดาล่วงลับไป ในสมัยที่พระเจ้าปเสนทิโกศลประสูติ. แม้โมฆราชมาณพนี้ ก็เรียนศิลปะในสำนักพาวรีพราหมณ์

อยู่มาวันหนึ่ง พาวรีพราหมณ์อยู่ในที่ลับ ก็สำรวจดูสาระในศิลปะ ก็ไม่เห็นสาระที่เป็นไปในภายหน้า คิดว่า เราจักบวชอย่างหนึ่ง เสาะหาสาระที่เป็นไปในภายหน้า แล้วก็เข้าเฝ้าพระเจ้าโกศล (มหาโกศล) ให้ทรงอนุญาตการบวชแก่ตน. พาวรีพราหมณ์นั้น ได้รับราชานุญาติแล้วมีมาณพ ๑๖,๐๐๐ คนแวดล้อม ก็ออกไปเพื่อต้องการบวช. แม้พระเจ้าโกศล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 502

ก็ทรงส่งพระราชทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ไปพร้อมกับพาวรีพราหมณ์นั้น ด้วยดำรัสสั่งว่า อาจารย์บวชอยู่ในที่ใด พวกท่านจงไปที่อยู่ของอาจารย์ แล้วให้ทรัพย์ในที่นั้น. พาวรีพราหมณ์ประสงค์จะสำรวจสถานที่อันผาสุก ก็ออกไปจากมัชฌิมประเทศ ให้สร้างสถานที่อยู่ของตน ตรงคุ้งแม่น้ำโคธาวรี ระหว่างเขตแดนของพระเจ้าอัสสกะและเจ้ามัลละ. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งเดินไป เพื่อต้องการจะดูชฎิลทั้งหลาย (๑) เมื่อชฎิลเหล่านั้นอนุญาตแล้ว ก็สร้างสถานที่อยู่ของตน บนที่ดินที่เป็นของชฎิลเหล่านั้น. เขาเห็นกิจกรรมที่พาวรีพรมหมณ์ทำแล้ว ก็ให้สร้างครอบครัว ๑๐๐ ครอบครัว เรือน ๑๐๐ หลังอีก. คนทั้งหมดประชุมกันปรึกษากันว่า (๒) พวกเราจะอยู่ในที่ดินอันเป็นของผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย การอยู่เปล่าๆ หาใช่เหตุอันควรไม่ พวกเราจักให้พวกท่านอยู่เป็นสุข. แต่ละคนจึงวางกหาปณะ คนละกหาปณะไว้ในสถานที่อยู่ของพาวรีพราหมณ์ (๓) กหาปณะที่พวกเขาแม้ทั้งหมด นำมาวางไว้ ก็ตกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ. พาวรีพราหมณ์ถามว่า (๔) กหาปณะเหล่านี้พวกท่านนำมาเพื่อต้องการอะไร. พวกเขาตอบว่า เพื่อต้องการให้พวกท่านอยู่กันเป็นสุขเจ้าข้า. พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเงินทอง ก็ไม่พึงละ


(๑) ปาฐะว่า เตสํ สนฺติเก ภูมิฏาเน เตหิ อนุญฺาเต อตฺตโน วสนฏานํ อกาสิ พม่าเป็น เตสํสนฺตเก ภูมิฏฺาเน เตหิ อนุญฺาโต อตฺตโน วสนฏานํ อกาสิ. (แปลตามพม่า)

(๒) ปาฐะว่า มยํ อยฺยานํ สนฺติเก ภูมิภาเค วสนฺตา สุขํ วสิตุํ น สกฺโกม กหาปณํ สุขสํวาสํ เตทสฺสามาติ พม่าเป็น "มยํ อยฺยานํ สนฺตเก ภูมิภาเค วสาม, มุธา วสิตํ น การณํ, สุขวาสํ โวทสฺสามา" ติ (แปลตามพม่า)

(๓) ปาฐะว่า สพฺเพปิ อาคตกหาปณา พม่าเป็น สพฺเพหิปิ อาภตกหาปณา (แปลตามพม่า)

(๔) ปาฐะว่า กิมตฺกํ เอเต อาคตาติ อาหฯ สุขวา สนตฺถาย ภนฺเตติฯ พม่าเป็น กิมตฺถํ เอเต อาภตาติอาห. สุขวาสทานตฺถาย ภนฺเตติ. (แปลตามพม่า)

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 503

กองทรัพย์ขนาดใหญ่ออกบวช พวกท่านรับเอากหาปณะของพวกท่านไปเสีย. พวกเขาบอกว่า พวกเราจะไม่ยอมรับทรัพย์ที่พวกเราบริจาคแล้วอีก แต่พวกเราจักนำมาทำนองนี้ทุกๆ ปี ขอพระเป็นเจ้าจงรับกหาปณะเหล่านี้ไว้ ให้ทานก็แล้วกัน. พราหมณ์จึงยอมรับ มอบไว้ในงบให้ทานแก่ ผู้กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก ภาวะที่พาวรีพราหมณ์นั้น เป็นทายกสืบๆ กันมา ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป

ครั้งนั้น พราหมณี (ภริยา) ของพราหมณ์ผู้เกิดมา ในวงศ์ของชูชกพราหมณ์ ในหมู่บ้านทุนนวิตถะ ในแคว้นกลิงคะ ลุกขึ้นเตือนพราหมณ์ (สามี) ว่า เขาว่าพาวรีกำลังให้ทาน ท่านจงไปนำเงินทองมาจากที่นั้น. พราหมณ์นั้น ถูกพราหมณีเตือนก็ไม่อาจทนอยู่ได้ เมื่อจะไปยังสำนักพาวรีก็ไป เมื่อพาวรีให้ทานวันวานแล้ว เข้าบรรณศาลากำลังนอนนึกถึงทาน และครั้งเข้าไปถึงก็พูดว่า ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด. พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ท่านมาไม่ถูกเวลา เราให้ทานแก่พวกยาจกที่มาถึงไปแล้ว บัดนี้ไม่มีกหาปณะดอก. พราหมณ์พูดว่า ท่านพราหมณ์ ข้าไม่ต้องการกหาปณะมากมายเลย เมื่อท่านให้ทานถึงเท่านี้ ข้าก็ไม่อาจงดเว้นกหาปณะได้ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มี ถึงเวลาให้ทานแล้ว ท่านจึงจักได้อีก. พราหมณ์ ท่านพราหมณ์ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มีถึงเวลาแล้ว จึงจักได้อีก พราหมณ์พูดว่า ก็เวลาท่านให้ทาน ข้าจักมาได้อย่างไร แล้วจึงก่อทรายเป็นสถูปใกล้ประตูบรรณศาลา โรยดอกไม้สีแดงไปรอบๆ ทำปากขมุบขมิบเหมือนบ่นมนต์แล้วพูดว่า ศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง. พาวรีพราหมณ์คิดว่า พราหมณ์ผู้นี้มีเดชมาก ถือการประพฤติตปะ เป็นจรณกพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 504

พูดว่า ท้าย ๗ วัน ศีรษะของเราจงแตก ๗ เสี่ยง ๕๐๐ กหาปณะที่เราจะพึงให้แก่พราหมณ์นี้ก็ไม่มี พราหมณ์ผู้นี้จักฆ่าเราถ่ายเดียว

เมื่อพาวรีพราหมณ์นั้น นอนเต็มแปร้ด้วยความเหี่ยวแห้งอย่างนั้น ในตอนราตรี มารดาของพาวรีพราหมณ์ ในอัตตภาพติดต่อกันมา บังเกิดเป็นเทวดา. นางเห็นบุตรเต็มแปร้ด้วยความเหี่ยวแห้งใจ จึงมากล่าวว่า ลูกเอ๋ย ตาพราหมณ์นั่นก็ไม่รู้ว่าศีรษะจะแตกหรือไม่แตก เจ้าไม่รู้หรือว่า พระพุทธะทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้วในโลก ถ้าเจ้ายังมีความสงสัย ก็จงไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม พระศาสดาจักตรัสบอกเหตุนั้นแก่เจ้าก็ได้นะ. พาวรีพราหมณ์ ตั้งแต่ได้ยินเสียงเทวดากล่าว ก็โล่งใจรุ่งขึ้น พอได้อรุณก็เรียกศิษย์ทุกคนมาแล้ว กล่าวว่า พ่อเอ๋ย เขาว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ถึงพวกท่านก็จงรีบไป รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่ แล้วจงกลับมาบอกเรา เราก็จักไปเฝ้าพระศาสดา ก็แต่ว่าอันตรายแห่งชีวิตรู้กันยาก เพราะเราแก่เฒ่าแล้ว พวกท่านไปเฝ้าพระศาสดา จงทูลถามปัญหาโดยทำนองอย่างนี้ อย่างนี้กะพระองค์ จึงแต่งปัญหาชื่อ สมองแตก ให้ไป ต่อนั้นพาวรีพราหมณ์คิดว่า พวกมาณพเหล่านี้ทุกคน เป็นบัณฑิต ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว เมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้ว จะพึงกลับมาหาเราหรือไม่หนอทีนี้ จึงให้สัญญาแก่อชิตมาณพ หลานชายของตนว่า เจ้าควรกลับมาถ่ายเดียว มาบอกคุณที่ตนได้แก่เรา ลำดับนั้น เหล่าชฎิล ๑๖,๐๐๐ ยกอชิตมาณพเป็นหัวหน้า จึงออกจาริกไปพร้อมกับอันเตวาสิกหัวหน้า๑๖ คน ด้วยหมายใจว่า จักทูลถามปัญหากะพระศาสดา ในที่ๆ ไปๆ ถูกถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไปไหน ก็ตอบว่า พวกเราจะไปเฝ้าพระทศพลถามปัญหา เมื่อจะชักตั้งแต่ปลายมาตลอดบริษัท ก็เดินทางได้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 505

หลายร้อยโยชน์

พระศาสดาทรงดำริว่า ในวันที่มาณพเหล่านั้นๆ มา โอกาสจักไม่มีแก่ผู้อื่น ที่นี่จึงเป็นที่ไม่ควร สำหรับบริษัทนี้ จึงเสด็จไปประทับนั่ง ณ หลังแผ่นหิน ที่ปาสาณเจดีย์ แม้อชิตมาณพนั้นกับบริษัท ก็ขึ้นหลังแผ่นหินนั้น เห็นสมบัติแห่งพระสรีระของพระศาสดา ก็คิดว่าบุรุษผู้นี้ คงจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีหลังคาอันเปิดแล้วในโลกนี้ จึงไปเอาใจถามปัญหาที่อาจารย์ส่งมอบแก่ตนมา. วันนั้น บริษัทที่มาถึงนั้น ประมาณ ๑๒ โยชน์ ในระหว่างศิษย์ ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพ ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตกว่าทุกคน เขาจึงดำริว่า อชิตมาณพนี้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทุกคน ไม่ควรถามปัญหาก่อน เขาละอายต่ออชิตมาณพนั้น จึงไม่ถามก่อน. เมื่ออชิตมาณพนั้น ถามปัญหาแล้ว จึงถามปัญหากะพระศาสดาเป็นคนที่สอง. พระศาสดาทรงดำริว่า โมฆราชมาณพเป็นคนถือตัว ทั้งญาณของเขาก็ยังไม่แก่เต็มที่ ควรจะนำความถือตัวของเขาออกไป จึงตรัสว่า โมฆราชเธอจงพักไว้ คนอื่นๆ ถามปัญหาก่อน. โมฆราชมาณพนั้นได้ความรุกรานจากสำนักพระศาสดา คิดว่า เราเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ ด้วยเข้าใจว่า ไม่มีคนที่จะเป็นบัณฑิตเกินกว่าเรา ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงทราบความในใจ ย่อมไม่ตรัส พระศาสดาคงจักทรงเห็นโทษในการถามของเรา จึงนิ่งเสีย. โมฆราชมาณพนั้น เมื่อมาณพคนที่ ๘. ถามปัญหาไปตามลำดับ ก็อดกลั้นไว้ไม่ได้ ลุกขึ้นอีกเป็นคนที่ ๙ พระศาสดาก็ทรงรุกรานเขาอีก. โมฆราชมาณพนั้น ก็ต้องนิ่ง คิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจจะเป็นนวกะ ผู้ใหม่ในสงฆ์ได้แล้ว จึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า ญาณของท่าน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 506

แก่เต็มที่แล้ว จึงทรงตอบปัญหา. จบเทศนา ท่านก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับชฎิล ๑,๐๐๐ คน บริวารของตน. โดยทำนองนี้ นี่แล ชฏิล ๑๕,๐๐๐ คนที่เหลือ ก็บรรลุพระอรหัต แม้ทั้งหมด ก็ได้เป็นเอหิภิกขุทรงบาตรจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์. แต่ชนที่เหลือท่านไม่กล่าวถึง. ท่านพระโมฆราชเถระนี้ ก็ทรงจีวรประกอบด้วย ความปอน ๓ อย่างมาตั้งแต่นั้น. ก็เรื่องตั้งขึ้นในปารายนวรรคอย่างนี้. แต่ภายหลังพระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวัน กำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับ เมื่อจะทรงสถาปนาท่านพระโมฆราชเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ทรงจีวรปอน จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆราชเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรปอน.

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๔

จบอรรถกถาเถรบาลีมีประมาณ ๔๑ สูตร

จบประวัติพระภิกษุสาวกเอตทัคคะ (รวม ๔๑ ท่าน)