พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๖ ประวัติพระนันทาเถรี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38387
อ่าน  688

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 32

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระนันทาเถรี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 32

อรรถกถาสูตรที่ ๖

๖. ประวัติพระนันทาเถรี

ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ฌายีนํ ยทิทํ นนฺทา ท่านแสดงว่า พระนันทาเถรีเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดีในฌาน.

ดังได้สดับมา พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมกถา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ยินดียิ่งในฌาน จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. จากนั้นนางก็เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี ก่อนพระศาสดาของเราอุบัติ. พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า นันทา. เรียกกันว่า รูปนันทา. ต่อมาพระนางได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี เพราะทรงมีพระสิริโฉมงามเยี่ยม. เมื่อพระทศพลของเราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ตามลำดับ ทรงให้พระนันทะและพระราหุลผนวชแล้วเสด็จหลีกไปแล้ว. เวลาพระเจ้าสุทโธทนมหาราชปรินิพพานแล้ว พระนางทรงทราบว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีและพระมารดาของพระราหุลเสด็จออกทรงผนวชในสำนักพระศาสดาแล้ว ทรงดำริว่า ตั้งแต่พระมารดามหาปชาบดีโคตมีและพระมารดา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 33

พระราหุลทรงผนวชแล้ว เราก็มีงานอยู่ในที่นี้ จึงไปสำนักพระมหาปชาบดีโคตมี ทรงผนวชแล้ว. นับตั้งแต่วันที่ทรงผนวช ทรงทราบว่า พระศาสดาทรงตำหนิรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา ถึงวาระรับพระโอวาท ก็สั่งภิกษุณีรูปอื่นไป แล้วให้นำพระโอวาทมา.

พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางหลงมัวเมาพระสิริโฉม จึงตรัสว่า ภิกษุณีทั้งหลายต้องมารับโอวาทของตนด้วยตนเอง ส่งภิกษุณีรูปอื่นไปแทนไม่ได้. แต่นั้น พระนางรูปนันทา เมื่อไม่เห็นทางอื่น ก็ไปรับพระโอวาททั้งที่ไม่ปรารถนา. พระศาสดาทรงเนรมิตรูปหญิงผู้หนึ่งด้วยพุทธฤทธิ์ โดยอำนาจจริตของพระนาง ทรงทำให้เป็นเหมือนหญิงนั้นจับใบตาลถวายงานพัดอยู่. พระนางรูปนันทาเห็นรูปหญิงนั้นแล้วคิดว่า เรามัวเมาโดยมิใช่เหตุจึงไม่มา. หญิงแม้เหล่านี้เที่ยวไปสนิทสนมในสำนักพระศาสดา รูปของเราไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งรูปของหญิงเหล่านี้ เราไม่รู้เลยจึงไม่มาเสียตั้งนาน ถือเอาอิตถีนิมิตนั้นนั่นแหละ ยืนสำรวจดูอยู่. เพราะพระนางสมบูรณ์ด้วยบุพเหตุอย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบทว่า อฏฺีนํ นครํ กตํ ทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลายเป็นต้น แล้วตรัสพระสูตรว่า

จรํ วา ยทิวา ติฏฺํ

นิสินฺโน อุท วา สยํ

เดินก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี เป็นต้น.

พระนางตั้งความสิ้นความเสื่อมลงในรูปนั้นนั่นแหละ บรรลุพระอรหัต. เรื่องนี้ในที่นี้ ท่านมิได้ทำให้พิสดาร เพราะเหมือนกับเรื่องของพระเขมาเถรี. ตั้งแต่นั้นมาพระรูปนันทาเถรีก็ได้บรรลุธุระระหว่างภิกษุณีผู้ยินดียิ่งในฌาน. ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 34

เชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ จึงทรงสถาปนาพระนันทาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดีในฌาน แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖