พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๓ ประวัติจิตตคฤหบดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38398
อ่าน  415

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 61

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติจิตตคฤหบดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 61

อรรถกถาสูตรที่ ๓

๓. ประวัติจิตตคฤหบดี

ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ธมฺมกถิกานํ ท่านแสดงว่า จิตตคฤหบดีเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก.

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาบังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาได้ฟังธรรมกถา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก จึงกระทำกุศลยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดในเรือนแห่งนายพรานเนื้อ ต่อมา ในเวลาที่เขาสามารถจะทำการงานในป่าได้แล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตก ถือเอาหอกไปเพื่อจะฆ่าเนื้อ เข้าไปป่า กำลังมองดูตัวเนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าบังสุกุลคลุมศีรษะนั่งอยู่บนหลังแผ่นหินที่เงื้อมเขาเกิดเองแห่งหนึ่ง เกิดความสำคัญขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 62

จักนั่งกระทำสมณธรรมอยู่รูปเดียว ดังนี้ รีบไปเรือน ให้ปิ้งเนื้อที่ได้มาเมื่อวานไว้ที่เตาหนึ่ง หุงข้าวที่เตาหนึ่ง เห็นภิกษุสองรูปเที่ยวบิณฑบาต จึงรับบาตรของท่าน นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ให้รับอาหารแล้วสั่งคนอื่นว่า พวกท่านจงเลี้ยงดูพระผู้เป็นเจ้า ตัวเองก็ใส่ข้าวลงในหม้อ เอาใบไม้ผูกปากหม้อแล้วถือหม้อเดินไป ระหว่างทางก็เลือกเก็บดอกไม้นานาชนิด ถึงที่ที่พระเถระนั่ง ยกหม้อลงวางไว้ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า โปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าด้วยเถิด รับบาตรของพระเถระมาแล้วบรรจุข้าวจนเต็ม วางไว้ในมือพระเถระ บูชาพระเถระด้วยดอกไม้ที่คละกันเหล่านั้น ยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วเกิดแล้ว ขอบรรณาการ ๑,๐๐๐ จงมาถึงข้าพเจ้า ขอฝนดอกไม้ ๕ สีจงตกลง เหมือนอย่างการบูชาด้วยดอกไม้พร้อมกับบิณฑบาตมีรสอร่อยทำจิตให้แช่มชื่นฉะนั้น. พระเถระเห็นอุปนิสัยของเขาแล้ว บอกให้กรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตบังเกิดในเทวโลก. ในสถานที่เกิด ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงตามพื้นที่ประมาณแค่หัวเข่า ทั้งตนเองก็ประกอบด้วยยศยิ่งกว่าเทวดาองค์อื่นๆ.

เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี ณ นครมัจฉิกาสัณฑะ (๑) แคว้นมคธ. เวลาเขาเกิด ฝนดอกไม้ ๕ สีตกลงตามเขตประมาณแค่หัวเข่าทั่วพระนคร. ครั้งนั้น บิดามารดาของเขาคิดว่า บุตรของเรานำชื่อของตนมาด้วยตนเอง แม้ในวันเกิด ทั่วพระนครก็วิจิตรด้วยดอกไม้ ๕ สี จึงขนานนามเขาว่า จิตตกุมาร. ต่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เมื่อบิดาล่วงลับไป ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น. สมัยนั้น พระเถระชื่อว่ามหานามะ ใน


(๑) บาลีเป็น มัจฉิกสันฑะ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 63

จำนวนพระเถระปัญจวัคคีย์ ไปถึงนครมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคฤหบดีเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน จึงรับบาตร นำมายังเรือน บูชาด้วยบิณฑบาต ท่านฉันเสร็จแล้วก็นำไปยังสวนชื่ออัมพาตการาม สร้างที่อยู่ถวายพระเถระ ณ ที่นั้น ถือปฏิญญาเพื่อท่านอยู่รับบิณฑบาตในเรือนตนเป็นนิตย์. แม้พระเถระเห็นอุปนิสัยของจิตตคฤหบดีนั้น เมื่อแสดงธรรมจึงแสดงเฉพาะสฬายตนวิภังค์เท่านั้น. ไม่ช้านักจิตตคฤหบดีก็บรรลุพระอนาคามิผล. เพราะตนมีการพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้วในภพก่อน. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระอิสิทัตตเถระมาอยู่ในที่นั้น เมื่อฉันเสร็จในเรือนของเศรษฐีแล้ว ถูกท่านพระเถระ [มหานาม] ผู้ไม่อาจแก้ปัญหานิมนต์ไว้ จึงวิสัชนาปัญหาแก่อุบาสก เมื่อท่านทราบว่าเป็นสหายคฤหัสถ์กันมาก่อน คิดว่า บัดนี้ไม่ควรอยู่ในที่นี้ จึงหลีกไปตามสบาย. วันรุ่งขึ้น เศรษฐีคฤหบดีจึงอ้อนวอนพระมหากัสสปเถระผู้เฒ่า (๑) เพื่อทำอิทธิปาฏิหาริย์. แม้พระเถระก็แสดงปาฏิหาริย์ที่สำเร็จด้วยเตโชสมาบัติ คิดว่า บัดนี้ไม่สมควรอยู่ในที่นี้ แล้วก็หลีกไปตามสบาย.

ต่อมาวันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ไปยังอัมพาตการาม. เศรษฐีคฤหบดีก็ตระเตรียมสักการะอย่างใหญ่สำหรับพระอัครสาวกทั้งสองนั้น. พระสุธัมมเถระ เมื่อระรานจิตตคฤหบดีนั้น จึงด่าว่าเศรษฐีด้วยวาทะว่า นายขนมคลุกงา ถูกเศรษฐีนั้นไล่แล้ว ไปสำนักพระศาสดา ได้โอวาท ดำรงอยู่ในโอวาทพระทศพล ขอขมาจิตตคฤหบดีแล้วอยู่ในอัมพาตการามนั้นนั่นแหละ เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. ครั้งนั้นอุบาสกคิดว่า เราไม่พบพระทศพลมาล่วง


(๑) ม. พระมหานามเถระ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 64

เวลานานแล้ว แต่เมื่อเราไปเฝ้าพระศาสดา ไม่ควรไปมือเปล่า จึงให้ตีกลองป่าวประกาศว่า คนเหล่าใดประสงค์จะเฝ้าพระทศพล คนเหล่านั้นจงเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมากับเรา มีบริษัท ๒,๐๐๐ คนแวดล้อมพากันไปเฝ้าพระศาสดา. ในหนทางทุกๆ โยชน์ เหล่าเทวดาก็พากันตั้งเครื่องบรรณาการไว้. จิตตคฤหบดีนั้น ไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์. ขณะนั้น ฝนดอกไม้ ๕ สี ก็ตกลงมาจากอากาศ. พระศาสดาตรัสสฬายตนวิภังค์โปรดคนเหล่านั้น ตามอัธยาศัยของจิตตคฤหบดี. เมื่อจิตตคฤหบดีนั้น แม้ถวายทานแด่พระทศพลเพียงครึ่งเดือน ข้าวสาร น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้น ที่นำมาจากเรือนของตนก็มิได้หมดสิ้นไป. เครื่องบรรณาการที่ชาวกรุงราชคฤห์ส่งไปก็ยังเพียงพอ. แม้จิตตคฤหบดีนั้นเฝ้าพระศาสดาแล้ว เมื่อจะกลับไปเมืองของตน ก็ได้ถวายทุกสิ่งทุกอย่างที่นำมาด้วยเกวียนทั้งหลายแก่ภิกษุสงฆ์. เหล่าเทวดาก็ช่วยกันทำรัตนะ ๗ เต็มเกวียนที่ว่างเปล่า. ในระหว่างมหาชน เกิดพูดกันขึ้นว่า จิตตคฤหบดีช่างมีการทำสักการะและการนับถือจริงหนอ. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้น จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า

สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน

ยโส โภคสนปฺปิโต

ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ

ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.

คนผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคสมบัติ ไปยังประเทศใดๆ คนเขาก็บูชาในประเทศนั้นๆ.

ตั้งแต่นั้นมา จิตตคฤหบดีนั้น ก็มีอุบาสกที่เป็นอริยสาวก ๕๐๐ คน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 65

ห้อมล้อมเที่ยวไป. ต่อมาภายหลัง พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสกไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ ทรงทำกถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓