พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๖ ประวัติอุคคคฤบดีชาวเมืองเวสาลี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38401
อ่าน  431

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 71

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติอุคคคฤบดีชาวเมืองเวสาลี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 71

อรรถกถาสูตรที่ ๖

๖. ประวัติอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี

ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า มนาปทายกานํ ท่านแสดงว่า อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 72

ดังได้สดับมา อุคคคฤหบดีนั้น ครั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐี เมืองเวสาลี. เวลาท่านเกิดมีชื่อไม่แน่นอน. แต่ต่อมา ร่างกายของท่านสูงขึ้น. สง่างามเหมือนเสาระเนียดที่ตกแต่งแล้ว เหมือนแผ่นผ้าที่วิจิตรด้วยลวดลายที่เขายกขึ้น ทั้งคุณทั้งหลายของท่านก็ฟุ้งขจรไป. ท่านจึงชื่อว่าอุคคเศรษฐี เพราะเรือนร่างและคุณทั้งสองนี้ฟุ้งขจรไป. ก็ท่านอุคคคฤหบดีนี้นั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลด้วยการเฝ้าพระทศพลครั้งแรกเท่านั้น ต่อมาก็กระทำให้แจ้งมรรคและผล ๓ เวลาที่ตัวแก่เฒ่า ท่านไปในที่ลับนั่งคิดว่า สิ่งใดๆ เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา เราจักถวายสิ่งนั้นๆ นั่นแหละแด่พระทศพล เราได้ฟังคำนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาว่า บุคคลผู้ถวายของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านดำริอย่างนี้ว่า พระศาสดาทรงทราบจิตใจของเราบ้างหรือหนอ พึงเสด็จมายังประตูนิเวศน์. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบจิตใจของท่าน มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จมาปรากฏ ณ ประตูนิเวศน์ทันที. ท่านทราบว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว ก็ขะมักเขม้นอย่างเหลือเกิน เดินไปสู่สำนักพระทศพล กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วรับบาตรของพระศาสดา อาราธนาให้เสด็จเข้าไปยังเรือน แล้วให้พระศาสดาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันดีที่จัดไว้ แล้วให้ภิกษุสงฆ์นั่งเหนืออาสนะที่เหลือ แล้วเลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 73

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารรสเลิศต่างๆ ครั้นเสร็จภัตกิจ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ ชื่อว่ารับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บุคคลผู้ถวายของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดๆ ที่ชอบใจของข้าพระองค์ สิ่งนั้นๆ ข้าพระองค์ถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. ทำพระศาสดาให้ทรงทราบแล้ว นับตั้งแต่นั้นไป ก็ถวายสิ่งที่ชอบใจเขา แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. ก็เรื่องนั้นทั้งหมดจักมาในอุคคสูตร ปัญจกนิบาตแล. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร จึงทรงสถาปนาอุบาสกผู้นั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖