อรรถกถาสูตรที่ ๘ ประวัติสูรอัมพัฏฐอุบาสก
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 75
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ประวัติสูรอัมพัฏฐอุบาสก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 75
อรรถกถาสูตรที่ ๘
๘. ประวัติสูรอัมพัฏฐอุบาสก
ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อเวจฺจปฺสนฺนานํ ท่านแสดงว่า ปุรพันธเศรษฐีอุบาสก [บาลีว่า สูรอัมพัฏฐะ] เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกอริยสาวกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว.
ดังได้สดับมา อุบาสกผู้นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐี. พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ. ต่อมา เขาเจริญวัย ดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นเหตุแห่งโสดาปัตติมรรคของเขา จึงเสด็จไปถึงประตูนิเวศน์ในเวลาเที่ยวแสวงหาอาหาร. เขาเห็นพระทศพลจึงคิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในสกุลใหญ่ และเป็นผู้อันมหาชนรู้จักกันอย่างดีในโลก ด้วยเหตุนั้น การไม่ไปสำนักของพระสมณโคดมนั้น ไม่สมควร. เขาจึงไปสู่สำนักพระศาสดา กราบที่พระยุคลบาท รับบาตรแล้วอาราธนาให้เสด็จเข้าไปเรือน ให้ประทับนั่งบนบัลลังก์มีค่ามาก ถวายภิกษา เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงนั่ง ณ ที่ สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมตามอำนาจจริยาของเขา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 76
จบเทศนาเขาก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้พระศาสดาทรงฝึกเขาแล้วก็เสด็จไปพระเชตวันวิหาร. ลำดับนั้น มารคิดว่า ชื่อว่าปุรพันธะนี้เป็นสมบัติของเรา แต่พระศาสดาเสด็จไปเรือนเขาวันนี้ ได้ทรงทำให้มรรคปรากฏเพราะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอ เพียงที่เราจะรู้ว่า เขาพ้นจากวิสัยของเราหรือยังไม่พ้น จึงเนรมิตรูปละม้ายพระทศพล ทั้งทรงจีวร ทั้งทรงบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าทีเดียว ทรงพระลักษณะ ๓๒ ประการ ได้ประทับยืนใกล้ประตูเรือนของปุรพันธอุบาสก. แม้ปุรพันธอุบาสก ฟังว่าพระทศพลเสด็จมาอีกแล้ว ก็คิดว่า ธรรมดาการเสด็จไปชนิดไม่แน่นอนของพระพุทธะทั้งหลายไม่มีเลย เหตุไรหนอจึงเสด็จมา ดังนี้แล้ว จึงรีบเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ด้วยสำคัญว่าพระทศพล กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงเสด็จมาอีก. มารกล่าวว่า ดูก่อน ปุรพันธะ เราเมื่อกล่าวธรรมไม่ทันพิจารณาแล้วกล่าวคำไปข้อหนึ่งมีอยู่ แท้จริงเรากล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหมดทุกอย่าง แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งหมดเห็นปานนั้น ด้วยว่า ขันธ์บางจำพวกที่เทียง มั่นคง ยั่งยืน มีอยู่. ทีนั้น ปุรพันธอุบาสกคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนักอย่างยิ่ง ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธะทั้งหลายตรัสเป็นคำสองไม่มี. จึงคิดใคร่ครวญว่า ขึ้นชื่อว่ามาร เป็นข้าศึกของพระทศพล ผู้นี้ต้องเป็นมารแน่ จึงกล่าวว่า ท่านเป็นมารหรือ. ถ้อยคำที่พระอริยสาวกกล่าวได้เป็นประหนึ่งเอาขวานฟันมารนั้น. เพราะเหตุนั้น มารจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนไม่ได้ จึงกล่าวว่า ใช่ละ ปุรพันธะ เราเป็นมาร. ปุรพันธอุบาสกจึง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 77
ชี้นิ้วกล่าวว่า มารตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็มาทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวไม่ได้ดอก. พระทศพลมหาโคดมเมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรงแสดงธรรมปลุกให้ตื่นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง. ท่านอย่ายืนใกล้ประตูเรือนของเรานะ. มารฟังคำของปุรพันธอุบาสกนั้นแล้ว ก็ถอยกรูด ไม่อาจพูดจา อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง. แม้ปุรพันธอุบาสก เวลาเย็นก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลกิริยาที่มารทำแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารพยายามทำศรัทธาของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว. พระศาสดาทรงทำเหตุนั้นนั่นแลให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาปุรพันธอุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘