พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๙ ประวัติหมอชีวกโกมารภัจ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38404
อ่าน  429

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 77

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติหมอชีวกโกมารภัจ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 77

อรรถกถาสูตรที่ ๙

๙. ประวัติหมอชีวกโกมารภัจ

ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปุคฺคลปฺปสนฺนานํ ท่านแสดงว่า หมอชีวกโกมารภัจ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในบุคคล.

ดังได้สดับมา หมอชีวกนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 78

นั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์ของสตรีชื่อสาสวดี (๑) อาศัยรูปเลี้ยงชีพ อาศัยอภัยราชกุมารอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. ก็ขึ้นชื่อว่าสตรีผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพ เวลาคลอด ถ้าเป็นบุตรชายก็ทิ้งเสีย ถ้าเป็นบุตรหญิงก็เลี้ยงไว้. ดังนั้น นางจึงเอากระด้งใส่เด็กชายทิ้งเสียที่กองขยะ. ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเสด็จไปที่เข้าเฝ้า ทอดพระเนตรเห็นเด็กชายนั้น จึงตรัสถามว่า พนาย อะไรนั่น ฝูงกาจึงรุมล้อมเต็มไป ทรงส่งพวกราชบุรุษไป เมื่อเขากราบทูลว่า ทารก พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ยังเป็นอยู่หรือ พนาย. ทรงฟังว่า ยังเป็นอยู่ พระเจ้าข้า. จึงโปรดให้นำไปเลี้ยงไว้ภายในบุรีของพระองค์. เขาพากันขนานนามท่านว่า ชีวก. พออายุได้ ๑๖ ปี ก็ไปกรุงตักกศิลา เรียนแพทย์ศิลปะ ได้ลาภสักการะจากราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร ได้กระทำพระโรคของพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้หายจนทรงพระสำราญ ท้าวเธอก็ส่งข้าวสาร ๕๐๐ เล่มเกวียน กหาปณะ ๑๖,๐๐๐ และคู่ผ้าแคว้นสีพีที่ประมาณค่ามิได้ ทั้งผ้าบริวารนับจำนวน ๑,๐๐๐ พระราชทานแก่หมอชีวกนั้น. สมัยนั้น พระศาสดาทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ. หมอชีวกประกอบเภสัชทูลถวายการขับถ่ายในพระวรกายที่มีธาตุสะสมแล้วแด่พระศาสดา คิดว่า ปัจจัย ๔ เฉพาะเป็นของๆ เรามีอยู่ ดังนี้ จึงอาราธนาให้พระศาสดาประทับอยู่ในวิหารของตน ปรุงยาถวาย น้อมคู่ผ้านั้นถวาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงใช้สอยคู่ผ้านี้ แล้วได้ถวายผ้า ๑,๐๐๐ ผืนที่ได้มาพร้อมกับคู่ผ้านั้นแก่พระภิกษุสงฆ์. นี้เป็นความย่อในเรื่องหมอชีวกโกมารภัจนั้น. ส่วน


(๑) ม. สาลวดี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 79

โดยพิสดาร เรื่องหมอชีวกมาแล้วในขันธกวินัย ต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร จึงทรงสถาปนาหมอชีวกโกมารภัจไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เลื่อมใสในบุคคล แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙