พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑ ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38407
อ่าน  426

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 83

อุบาสิกาบาลี

อรรถกถาวรรคที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 83

อุบาสิกาบาลี

อรรถกถาวรรคที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๑

๑. ประวัตินางสุชาดา เสนีย (๑) ธิดา

อุบาสิกาบาลี สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปมํ สรณํ คจฺฉนฺตีนํ ท่านแสดงว่า ธิดาของเสนียะชื่อสุชาดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ในสรณะก่อนคนอื่นทั้งหมด.

แม้นาง ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา นางฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถึงสรณะก่อนอุบาสิกาทั้งปวง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป บังเกิดในครอบครัวของกุฎุมพีชื่อเสนียะ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด เจริญวัยแล้วได้ทำความปรารถนาไว้ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้านางไปมีเหย้าเรือนกะคนที่เสมอๆ กัน ได้บุตรชายในท้องแรก จักทำพลีกรรมประจำปี. ความปรารถนาของนางก็สำเร็จ.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงทำทุกรกิริยาครบปีที่ ๖ ในวันวิสาขปุณณมี นางคิดว่า จักทำพลีกรรมแต่เช้าตรู่ จึงตื่นขึ้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี แล้วใช้ให้เขารีดนมโค. เหล่าลูกโคก็ไม่ไป ถือเอาเต้านมของเหล่า


(๑) บาลีข้อ ๑๕๒ เป็นเสนานีกุฎุมพี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 84

แม่โคนม. พอเอาภาชนะใหม่ๆ เข้าไปรองใกล้นม หยาดน้ำนมก็ไหลโดยธรรมดาของตน นางสุชาดาเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ถือเอาน้ำนมด้วยมือของตนเองใส่ภาชนะใหม่ เริ่มเคี่ยว. เมื่อข้าวมธุปายาสกำลังเคี่ยวอยู่ ฟองใหญ่ๆ ก็ผุดขึ้นเวียนขวาไปรอบๆ. หยาดมธุปายาสสักหยดหนึ่งก็ไม่กระเด็นออกข้างนอก. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร. ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ถือพระขรรค์ตั้งการรักษา. ท้าวสักกะรวบรวมฟืนติดไฟ. เหล่าเทวดานำโอชะใน ๔ ทวีปมาใส่ในข้าวมธุปายาสนั้น. ในวันนั้นนั่นเอง นางสุชาดาเห็นข้ออัศจรรย์เหล่านี้ จึงเรียกนางปุณณทาสีมาสั่งว่า แม่ปุณณะ วันนี้ เทวดาของเราน่าเลื่อมใสเหลือเกิน ตลอดเวลาเท่านี้ ข้าไม่เคยเห็นความอัศจรรย์เห็นปานนี้เลย เจ้าจงรีบไปปฏิบัติเทวสถาน. นางปุณณทาสีรับคำนางว่า ดีละ แม่เจ้า ขมีขมันรีบไปยังโคนต้นไม้. ฝ่ายพระโพธิสัตว์รอเวลาแสวงหาอาหาร ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้แต่เช้าตรู่. นางปุณณะเดินไปเพื่อจะปัดกวาดโคนต้นไม้ ก็มาบอกนางสุชาดาว่า เทวดาประทับนั่งอยู่โคนต้นไม้แล้ว. นางสุชาดากล่าวว่า แม่มหาจำเริญ ถ้าเจ้าพูดจริง เจ้าก็ไม่ต้องเป็นทาสีละ แล้วประดับเครื่องประดับทุกอย่าง จัดข้าวมธุปายาสอย่างดีลงในถาดทองมีค่าแสนหนึ่ง เอาถาดทองอีกถาดหนึ่งปิด แล้วหุ้มห่อด้วยผ้าขาว ห้อยพวงของหอมพวงมาลัยไว้รอบๆ ยกขึ้นเดินไป พบพระมหาบุรุษก็เกิดปีติอย่างแรง ก้มตัวลงตั้งแต่สถานที่ๆ พบ ปลงถาดลงจากศีรษะ เปิดออก แล้ววางข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ ไหว้ แล้วกล่าวว่า ขอมโนรถของท่านจง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 85

สำเร็จเหมือนมโนรถของดิฉันที่สำเร็จแล้วเถิด แล้วก็หลีกไป.

พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้ริมฝั่ง ลงสรงสนานแล้วเสด็จขึ้น ทรงปั้นเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดทองลงในแม่น้ำ เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถานตามลำดับ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประทับ ณ โพธิมัณฑสถาน ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงเห็นอุปนิสัยของเด็กชื่อยสะ บุตรของนางสุชาดา จึงเสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. แม้ยสกุลบุตรเห็นนางบำเรอ นอนเปิดร่างในลำดับต่อจากครึ่งราตรี เกิดความสลดใจพูดว่า วุ่นวายหนอ ขัดข้องหนอ แล้วออกจากนิเวศน์ เดินไปยังสำนักพระศาสดานอกพระนคร ฟังธรรมเทศนาแล้วแทงตลอดมรรคผล ๓. ขณะนั้น บิดาของเขาเดินตามรอยเขาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องของยสกุลบุตร. พระศาสดาทรงปกปิดยสกุลบุตรไว้ ทรงแสดงธรรม จบเทศนา เศรษฐีคฤหบดีก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ส่วนยสะบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเขาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของเขาก็หายไป เขาได้เป็นผู้ทรงบาตรและจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์. แม้บิดาของท่านก็นิมนต์พระศาสดา. พระศาสดาทรงมีพระยสกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ ติดตามไปข้างหลัง เสด็จไปเรือนของเศรษฐีนั้น เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด. จบเทศนา นางสุชาดามารดา และภริยาเก่าของพระยสะ ก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ในวันนั้น นางสุชาดากับหญิงสะใภ้ ก็ดำรงอยู่ในเตวาจิกสรณะ คือ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ครบ ๓ เป็นสรณะ. นี้เป็นความย่อใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 86

เรื่องนั้น. ส่วนโดยพิสดาร เรื่องนี้มาแล้วในคัมภีร์ขันธกะ. ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะ แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑