พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๒ ประวัตินางวิสาขามิคารมารดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38408
อ่าน  484

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 86

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ประวัตินางวิสาขามิคารมารดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 86

อรรถกถาสูตรที่ ๒

๒. ประวัตินางวิสาขามิคารมารดา

ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ทายิกานํ ท่านแสดงว่า นางวิสาขามิคารมารดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดียิ่งในการถวายทาน.

ดังได้สดับมา นางวิสาขานั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในการถวายทาน จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนานว่า กัสสปะ บังเกิดเป็นราชธิดาองค์น้องน้อยกว่าเขาทั้งหมดแห่งพระราชธิดาพี่น้อง ๗ พระองค์ ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ. ก็ครั้งนั้น พระราชธิดาพี่น้อง ๗ พระองค์ คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุนี ภิกขุทาสิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสี ครบ ๗. พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาล] คือ พระเขมา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 87

พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระโคตมี พระธรรมทินนา พระนางมหามายา และนางวิสาชา ครบ ๗.

บรรดาพระราชธิดาเหล่านั้น พระนางสังฆทาสีเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์ของนางสุมนเทวี ภริยาหลวงของธนัญชัยเศรษฐี บุตรของเมณฑกเศรษฐี ภัททิยนคร แคว้นอังคะ. บิดามารดาได้ตั้งชื่อนางว่า วิสาขา. เวลานางมีอายุได้ ๗ ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของเสลพราหมณ์และเหล่าสัตว์พวกจะตรัสรู้อื่นๆ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปถึงนครนั้น ในแคว้นนั้น.

สมัยนั้น เมณฑกคฤหบดี เป็นหัวหน้าของเหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน ครองตำแหน่งเศรษฐี. เหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน คือ เมณฑกเศรษฐี ๑ ภริยาหลวงของเขาชื่อจันทปทุมา ๑ บุตรของเขาชื่อธนัญชัย ๑ ภริยาของธนัญชัยนั้นชื่อสุมนเทวี ๑ ทาสของเมณฑกเศรษฐีชื่อปุณณะ ๑. มิใช่แต่เมณฑกเศรษฐีอย่างเดียวดอก ถึงในราชอาณาจักรของพระเจ้าพิมพิสาร ก็มีบุคคลผู้มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วนถึง ๕ คน คือ โชติยะ ชฏิละ เมณฑกะ ปุณณะ และกากพลิยะ. บรรดาคนทั่ง ๕ นั้น เมณฑกเศรษฐีนี้ ทราบว่าพระทศพลเสด็จมาถึงนครของตน จึงเรียกเด็กหญิงวิสาขา ธิดาธนัญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรมา แล้วสั่งอย่างนี้ว่า แม่หนู เป็นมงคลทั้งเจ้า ทั้งปู่ เจ้าจงพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม พร้อมด้วยเด็กหญิง ๕๐๐ คน บริวารของเจ้า มีทาสี ๕๐๐ นางเป็นบริวาร จงทำการรับเสด็จพระทศพล. นางฟังคำของปู่ ก็ปฏิบัติตาม. แต่เพราะนางเป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ นางก็ไปด้วยยาน เท่าที่พื้นที่ยานจะไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 88

ได้ แล้วก็ลงจากยานเดินไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดด้วยอำนาจจริยาของนาง. จบเทศนา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับเด็กหญิง ๕๐๐ คน แม้เมณฑกเศรษฐี ก็เข้าไปเฝ้าถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดด้วยอำนาจจริยาของเศรษฐีนั้น. จบเทศนา เมณฑกเศรษฐีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อาราธนาพระศาสดาเพื่อเสวยในวันพรุ่ง. วันรุ่งขึ้น ก็เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอย่างประณีตในนิเวศน์ของตน ได้ถวายมหาทานโดยอุบายนั้น ครึ่งเดือน. พระศาสดาประทับอยู่ ณ ภัททิยนคร ตามพุทธอัธยาศัย แล้วก็เสด็จหลีกไป. พึงวิสัชนากถามรรคอื่นต่อจากนี้ แล้วกล่าวเรื่องการเกิดของนางวิสาขา.

จริงอยู่ ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลทรงส่งข่าวสาสน์ไปยังสำนักของพระเจ้าพิมพิสารว่า ในราชอาณาเขตของหม่อมฉัน ชื่อว่าสกุลที่ได้โภคสมบัตินับไม่ถ้วนไม่มีเลย สกุลที่ได้โภคสมบัตินับไม่ถ้วนของพระองค์มีอยู่ ขอได้โปรดทรงส่งสกุลที่ได้โภคสมบัตินับไม่ถ้วนไปให้หม่อมฉันด้วยเถิด. พระราชาทรงปรึกษากับเหล่าอำมาตย์. เหล่าอำมาตย์ปรึกษากันว่า ไม่อาจส่งสกุลใหญ่ๆ ไป แต่เราจะส่งเฉพาะบุตรเศรษฐีคนหนึ่งไป จึงขอร้องธนัญชัยเศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐี. พระราชาทรงสดับคำปรึกษาของอำมาตย์เหล่านั้น ก็ทรงส่งธนัญชัยเศรษฐีไป. ครั้งนั้น พระเจ้าโกศลพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้เขาอยู่ในนครสาเกต ท้ายกรุงสาวัตถีไป ๗ โยชน์. ก็ในกรุงสาวัตถี บุตรของมิคารเศรษฐีชื่อปุณณวัฒนกุมาร เจริญวัยแล้ว. ขณะนั้น บิดาของเขารู้ว่า บุตรของเรา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 89

เจริญวัยแล้ว เป็นสมัยที่จะผูกพันด้วยฆราวาสวิสัย จึงส่งคนทั้งหลายผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุไป ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงเสาะหาเด็กหญิงในสกุลที่มีชาติเสมอกับเรา. คนเหล่านั้นไม่พบเด็กหญิงที่ต้องใจตนในกรุงสาวัตถี จึงพากันไปนครสาเกต.

วันนั้นนั่นเอง วิสาขา มีหญิงสาว ๕๐๐ คนที่มีวัยรุ่นเดียวกันแวดล้อม พากันไปยังบึงใหญ่แห่งหนึ่ง เพื่อเล่นนักษัตรฤกษ์ คนแม้เหล่านั้น เที่ยวไปภายในนคร ก็ไม่พบเด็กหญิงที่ถูกใจตน จึงยืนอยู่นอกประตูเมือง. ขณะนั้น ฝนเริ่มตก. เหล่าเด็กหญิงที่ออกไปกับนางวิสาขาก็รีบเข้าศาลา เพราะกลัวเปียกฝน. คนเหล่านั้นไม่พบเด็กหญิงตามที่ปรารถนาในระหว่างเด็กหญิงเหล่านั้น. แต่นางวิสาขาอยู่ข้างหลังเด็กหญิงเหล่านั้นทั้งหมด ไม่นำพาฝนที่กำลังตก เปียกปอนเข้าไปยังศาลาเพราะไม่รีบเดิน. คนเหล่านั้นเห็นนางแล้วก็คิดว่า เด็กหญิงคนนี้สะสวยยิ่งกว่าแม้เด็กหญิงคนอื่นๆ ก็รูปนี้นั้นเป็นสิ่งที่หญิงบางพวกตกแต่งได้ เหมือนช่างทำรถตกแต่งล้อรถได้ฉะนั้น จึงกล่าวต่อไปว่า จำเราจะต้องรู้ว่าเด็กหญิงคนนี้พูดไพเราะหรือไม่. ดังนั้น จึงกล่าวกะนางว่า แม่หนู เจ้าเหมือนกับสตรีที่มีวัยเป็นผู้ใหญ่ฉะนั้น. นางจึงถามว่า พ่อท่าน พวกท่านเห็นอะไรจึงกล่าว. คนเหล่านั้นตอบว่า หญิงสาวที่เล่นกับเจ้าคนอื่นๆ รีบมาเข้าศาลาเพราะกลัวเปียกฝน ส่วนเจ้าเหมือนหญิงแก่ ไม่รีบสาวเท้ามา ไม่นำพาว่าผ้าจะเปียก ถ้าช้างหรือม้าไล่ตามเจ้าอย่างนี้นี่แล เจ้าจะทำอย่างไร. นางกล่าวว่า พ่อท่าน ขึ้นชื่อว่าผ้าหาได้ไม่ยาก ในสกุลของฉันหาได้ง่าย ส่วนผู้หญิงเจริญวัยแล้ว ก็เป็นเหมือนสินค้าที่เขาขาย เมื่อมือหรือเท้าหักไป คนทั้งหลายเห็นผู้หญิงที่เรือนร่างบกพร่อง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 90

ก็รังเกียจ ถ่มน้ำลายหนีไป เพราะเหตุนั้น ฉันจึงค่อยๆ เดินมา

คนเหล่านั้นคิดว่า ชื่อว่าหญิงในชมพูทวีปนี้ ไม่มีจะเทียบกับเด็กหญิงคนนี้ ไม่มีที่จะเทียบกันทั้งรูป ทั้งคำพูด รู้เหตุและมิใช่เหตุแล้วจึงพูด ดังนี้แล้ว ก็เหวี่ยงพวงมาลัยไปบนนาง. ขณะนั้น นางวิสาขาคิดว่า เราไม่ถูกเขาหวงแหนมาก่อน แต่บัดนี้เราถูกเขาหวงแหนแล้ว จึงนั่งลงที่พื้นดินโดยอาการที่จะถูกเขานำไปแล้ว. ครั้งนั้น คนทั้งหลายจึงเอาม่านกั้นล้อมนางไว้ตรงนั้นนั่นเอง. นางรู้ว่าเขาปิดกั้นไว้ ก็มีหมู่ทาสีห้อมล้อมกลับไปเรือน. คนของมิคารเศรษฐีเหล่านั้นก็พากันไปสำนักธนัญชัยเศรษฐีพร้อมกับนาง เมื่อเศรษฐีถามว่า พ่อคุณ พวกท่านเป็นชาวบ้านไหน ก็ตอบว่า พวกเราเป็นคนของมิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี ทราบว่าที่เรือนท่านมีเด็กหญิงเจริญวัยแล้ว ท่านจึงส่งพวกเรามา. ธนัญชัยเศรษฐีกล่าวว่า ดีละ พ่อคุณ เศรษฐีของพวกท่านเทียบกับเราไม่ได้ทางโภคสมบัติก็จริง แต่ก็เท่าเทียมกันโดยชาติ. ธรรมดาว่า คนที่เพียบพร้อมด้วยอาการทุกอย่าง หาได้ยาก. พวกท่านจงไปบอกเศรษฐีว่า เรายอมรับ. คนเหล่านั้นสดับคำของธนัญชัยเศรษฐีนั้นแล้ว ก็กลับไปกรุงสาวัตถี แจ้งความยินดีและความเจริญแก่มิคารเศรษฐีแล้วกล่าวว่า นายท่าน พวกเราได้เด็กหญิงในเรือนของธนัญชัยเศรษฐีแล้ว. มิคารเศรษฐีฟังดังนั้นก็ดีใจว่า พวกเราได้เด็กหญิงในเรือนของสกุลใหญ่ จึงส่งข่าวไปบอกธนัญชัยเศรษฐีทันทีว่า บัดนี้เราจักนำเด็กหญิงมา โปรดกระทำกิจที่ควรทำเสีย. แม้ธนัญชัยเศรษฐีก็ส่งข่าวตอบมิคารเศรษฐีไปว่า เรื่องนี้ไม่เป็นการหนักสำหรับเราเลย เศรษฐีโปรดกระทำกิจที่ควรทำสำหรับตนเถิด. มิคารเศรษฐีจึงไปเข้าเฝ้าพระเจ้าโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 91

เทวะ. เด็กหญิงผู้มีกิริยาเป็นมงคลแก่ข้าพระองค์มีอยู่คนหนึ่ง เด็กหญิงนั้นชื่อวิสาขา ธิดาของท่านธนัญชัยเศรษฐี ข้าพระองค์จักนำมาให้แก่ปุณณวัฒนกุมาร ทาสของพระองค์ ขอทรงโปรดอนุญาตให้ข้าพระองค์ไปนครสาเกตเถิด พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ดีละ ท่านเศรษฐี ถึงเราก็ควรจะมาด้วยมิใช่หรือ. เศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์จะบังอาจให้บุคคลเช่นพระองค์เสด็จได้อย่างไรเล่า. พระราชามีพระราชประสงค์จะทรงสงเคราะห์สกุลใหญ่ ทรงรับว่า เอาเถิด ท่านเศรษฐี เราจักมาด้วย แล้วก็เสด็จไปยังนครสาเกตพร้อมด้วยมิคารเศรษฐี.

ธนัญชัยเศรษฐีรู้ว่า มิคารเศรษฐีพาพระเจ้าโกศลมาด้วย จึงออกไปรับเสด็จ พาพระราชาไปยังนิเวศน์ของตน. ทันใดนั้นเอง ก็จัดสถานที่อยู่ และมาลัยของหอมเป็นต้นไว้พร้อมสรรพ สำหรับพระราชา สำหรับทหารของพระราชา และสำหรับมิคารเศรษฐี รู้กิจทุกอย่างด้วยตนเองว่า สิ่งนี้ควรได้แก่ผู้นี้ สิ่งนี้ควรได้แก่ผู้นี้. ชนนั้นๆ ก็คิดว่า ท่านเศรษฐีกระทำสักการะแก่เราเท่านั้น. ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงส่งข่าวไปบอกธนัญชัยเศรษฐีว่า ท่านเศรษฐีไม่อาจจะเลี้ยงดูพวกเราได้นานๆ ขอท่านเศรษฐีจงกำหนดเวลาที่เด็กหญิงจะไปเถิด. แม้ธนัญชัยเศรษฐีก็ส่งข่าวถวายพระราชาว่า บัดนี้ ฤดูฝนมาถึงแล้ว ทหารของพระองค์จะเที่ยวไปตลอด ๔ เดือนคงไม่ได้ กิจใดๆ ควรจะได้ กิจนั้นทั้งหมดเป็นภาระของข้าพระองค์ ขอเทวะโปรดเสด็จไปเวลาที่ข้าพระองค์ส่งธิดาไปอย่างเดียวเถิด พระเจ้าข้า. นับแต่นั้นมา นครสาเกตก็ได้เป็นเหมือนตำบลบ้านที่มีงานนักษัตรฤกษ์อยู่เป็นนิตย์. ล่วงไป ๓ เดือน โดยอาการอย่างนี้. เครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์ สำหรับธิดาของธนัญชัยเศรษฐีก็ยัง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 92

ไม่เสร็จ. ครั้งนั้น เหล่าเจ้าหน้าที่ประจำงานก็มาบอกธนัญชัยเศรษฐีว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่มีสำหรับชนเหล่านั้นไม่มีดอก แต่ฟืนใช้หุงต้มสำหรับทหารไม่เพียงพอ. ธนัญชัยเศรษฐีจึงสั่งว่า พ่อเอ๋ย ไปรื้อโรงช้าง โรงม้า เอาไม้มาใช้หุงต้มอาหารเถิด. เมื่อหุงต้มกันอยู่อย่างนี้ล่วงไปครึ่งเดือน แต่นั้น เหล่าเจ้าหน้าที่ก็มาบอกอีกว่า ฟืนยังไม่พอ. ธนัญชัยเศรษฐีก็สั่งว่า พ่อเอ๋ย ในฤดูนี้เราหาฟืนไม่ได้อีกแล้ว พวกท่านจงเปิดเรือนคลังผ้า เอาผ้าชนิดหยาบๆ มาฟั่นเป็นเกลียวชุบในถังน้ำมัน ใช้หุงต้มอาหารเถิด. เมื่อหุงต้มโดยทำนองนี้ก็เต็ม ๔ เดือน. ต่อนั้น ธนัญชัยเศรษฐีรู้ว่า เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์สำหรับธิดาเสร็จแล้ว จึงสั่งว่า พรุ่งนี้เราจะส่งธิดาไป จึงเรียกธิดาเข้ามานั่งใกล้ๆ ได้ให้โอวาทว่า ลูกเอ๋ย ธรรมดาว่า สตรีจะอยู่ในสกุลสามี ควรจะศึกษามารยาทอย่างนี้ อย่างนี้. มิคารเศรษฐีนั่งอยู่ภายในห้อง ก็ได้ยินโอวาทของธนัญชัยเศรษฐี. แม้ธนัญชัยเศรษฐีก็โอวาทธิดาอย่างนี้ว่า ลูกเอ๋ย ธรรมดาว่า สตรีผู้จะอยู่ในสกุลบิดาของสามี ไฟในก็ไม่พึงนำออก ไฟนอกก็ไม่พึงนำเข้า พึงให้แก่ผู้ที่ให้ ไม่พึงให้แก่ผู้ที่ไม่ให้ พึงให้ทั้งแก่ผู้ที่ให้ ทั้งแก่ผู้ที่ไม่ให้ พึงนั่งเป็นสุข พึงบริโภคเป็นสุข พึงนอนเป็นสุข พึงบำเรอไฟ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน ครั้นให้โอวาท ๑๐ อย่างนี้ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น ก็ประชุมนายกองทุกกอง จัดกุฎุมพี ๘ นาย ในพวกเสนาของพระราชาเป็นนายประกัน แล้วกล่าวว่า ถ้าความผิดเกิดแก่ธิดาของเราในที่ๆ ไปแล้วไซร้ พวกท่านพึงชำระ แล้วให้ประดับธิดาด้วยเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์มีค่า ๙ โกฏิ ให้ทรัพย์ ๕๔ เล่มเกวียน เป็นมูลค่าสำหรับผงเครื่องหอมสำหรับผสมน้ำอาบ ให้ทาสีรูปสวยคอยปรนนิบัติใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 93

เวลาเดินทางประจำธิดา ๕๐๐ นาง รถเทียมม้าอาชาไนย ๕๐๐ คัน สักการะทุกอย่างๆ ละ ๑๐๐. ชี้แจงให้พระเจ้าโกศลและมิคารเศรษฐีทราบแล้ว เวลาธิดาไป เรียกเจ้าหน้าที่ควบคุมคอกโคมา สั่งว่า พ่อเอ๋ย ในที่ๆ ธิดาเราไปแล้ว ให้เตรียมโคมาไว้ เพื่อธิดาเราต้องการดื่มน้ำนม. ให้เตรียมโคใช้งานไว้ เพื่อธิดาเราต้องการเทียมยาน เพราะเหตุนั้น พวกท่านพึงเปิดประตูคอกโค ในหนทางที่ธิดาเราไป เอาโคใช้งาน ๘ ตัวที่อ้วนพีจัดเป็นตัวนำฝูงโค ถึงซอกเขาชื่อโน้น มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต เมื่อฝูงโคถึงที่นั้นแล้ว พึงตีกลองเป็นสัญญาณให้เปิดประตูคอกโค. คนเหล่านั้นรับคำของเศรษฐีว่า ดีละ แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น. เมื่อประตูคอกเปิดออกแล้ว แม่โคทั้งหลายที่อ้วนพีก็ออกไป แต่เมื่อประตูปิด เหล่าโคที่ฝึก โคมีกำลัง และโคดุ ก็โลดแล่นออกไปข้างนอก แล้วเดินตามทางไป เพราะแรงบุญของนางวิสาขา.

ครั้งนั้น เวลาถึงกรุงสาวัตถี นางวิสาขาคิดว่า เราจะนั่งในยานที่ปกปิดเข้าไปหรือยืนบนรถเข้าไปดีหนอ. ขณะนั้น นางดำริว่า เมื่อเราเข้าไปด้วยยานที่ปกปิด ความวิเศษของเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ก็จักไม่มีใครรู้กันทั่ว นางแสดงตัวทั่วนคร ยืนบนรถเข้าสู่พระนคร. ชาวกรุงสาวัตถีเห็นสมบัติของนางวิสาขาแล้วพากันกล่าวว่า เขาว่า สตรีผู้นี้ชื่อนางวิสาขา และสมบัติเห็นปานนี้ก็สมควรแก่นางทีเดียว นางเข้าไปเรือนมิคารเศรษฐีด้วยสมบัติอย่างใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. ก็ในวันที่นางมาถึง ชาวกรุงทั่วไปต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการตามกำลังสามารถไป ด้วยกล่าวว่า ธนัญชัยเศรษฐีของเราได้กระทำสักการะอย่างใหญ่แก่ผู้คนที่มาถึงนครของตน. นางวิสาขา สั่งให้ให้เครื่องบรรณาการ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 94

ตอบการที่ชาวกรุงส่งไปๆ ทั่วไปในสกุลของกันและกัน ในนครนั้นนั่นเอง.

ขณะนั้น ลำดับอันเป็นส่วนแห่งราตรี แม่ม้าแสนรู้ตัวหนึ่งตกลูก. นางจึงใช้ให้เหล่าทาสีถือคบไฟไปที่นั้น ให้อาบน้ำอุ่นให้แม่ม้า ใช้น้ำมันชโลมตัวให้แม่ม้า แล้วก็กลับไปสถานที่อยู่ของตน. ฝ่ายมิคารเศรษฐี ทำการฉลองงานอาวาหมงคลแก่บุตร ๗ วัน ไม่สนใจพระตถาคต แม้ประทับอยู่วิหารใกล้ๆ วันที่ครบ ๗ วัน เชิญเหล่าชีเปลือยให้นั่งเต็มไปทั่วทั้งนิเวศน์ ส่งข่าวบอกนางวิสาขาว่า ธิดาของเราจงมาไหว้พระอรหันต์ทั้งหลาย. นางเป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบัน ได้ฟังว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ ก็ร่าเริงยินดี เดินไปยังสถานที่นั่งของชีเปลือยเหล่านั้น มองดูชีเปลือยเหล่านั้นแล้วคิดว่า ชีเปลือยเหล่านี้ไม่ใช่พระอรหันต์ จึงตำหนิว่า เหตุไรท่านพ่อจึงให้เรียกข้าพเจ้ามายังสำนักของเหล่าคนที่เว้นจากหิริโอตตัปปะ ดังนี้แล้ว ก็กลับไปสถานที่อยู่ของตนเสีย. เหล่าชีเปลือยเห็นนางแล้ว ทั้งหมดก็ติเตียนเศรษฐีในทันทีนั่นแหละว่า ท่านคฤหบดี ท่านหาหญิงคนอื่นไม่ได้หรือ เหตุไรท่านจึงเชิญหญิงผู้นี้ซึ่งเป็นสาวิกาของพระสมณโคดม ตัวกาลกิณีใหญ่ ให้เข้าไปในเรือน จงรีบนำหญิงผู้นั้นออกไปเสียจากเรือนนี้. ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า เราไม่อาจขับไล่หญิงผู้นี้ออกไปจากเรือนตามคำของชีเปลือยเหล่านี้ได้ เพราะหญิงผู้นี้เป็นธิดาของสกุลใหญ่ จึงกล่าวว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าคนหนุ่มสาวทั้งหลาย พึงทำทั้งที่รู้บ้าง ทั้งที่ไม่รู้บ้าง ขอพวกท่านจงนิ่งๆ ไว้ แล้วก็ส่งเหล่าชีเปลือยกลับไป นั่งบนแท่นใหญ่ อันนางวิสาขาถือช้อนทองเลี้ยงดูอยู่ บริโภคข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยในถาดทอง.

สมัยนั้น พระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไปบิณฑบาตมา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 95

ถึงประตูเรือนของเศรษฐี. นางวิสาขาเห็นพระเถระแล้วคิดว่า ไม่ควรบอกบิดาสามี ดังนี้ ทั้งที่เศรษฐีนั้นก็เห็นพระเถระนั้นผู้ยังไม่จากไป คงยังยืนอยู่อย่างนั้น. แต่เศรษฐีนั้นเป็นคนพาล แม้เห็นพระเถระก็ทำเป็นเหมือนไม่เห็น ก้มหน้าบริโภคข้าวมธุปายาสเรื่อยไป. นางวิสาขาก็รู้ได้ว่า บิดาสามีของเราแม้เห็นพระเถระก็ไม่ทำอาการว่าเข้าใจ จึงเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า โปรดไปข้างหน้าก่อนเถิด เจ้าข้า บิดาสามีของดิฉันกำลังกินบุญเก่า. เศรษฐีนั้น เวลาที่เหล่านิครนถ์ว่ากล่าวคราวก่อนก็อดกลั้นได้ แต่ในขณะที่นางวิสาขากล่าวว่า กินบุญเก่า ก็วางมือ สั่งว่า พวกเจ้าจงนำข้าวปายาสนี้ออกไปจากที่นี้ และจงนำหญิงผู้นี้ออกไปจากเรือนหลังนี้ ด้วยว่า หญิงผู้นี้ทำให้เราชื่อว่าเป็นผู้กินของไม่สะอาดในเรือนมงคลเห็นปานนี้. แต่ว่าในนิเวศน์นั้นแล ทาสและกรรมกรเป็นต้น ทั้งหมดเป็นสมบัติของนางวิสาขา ไม่มีใครๆ สามารถจะจับมือเท้านางได้ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถจะกล่าวด้วยปากก็ไม่มี. เมื่อนางวิสาขาฟังคำของบิดาสามีแล้ว กล่าวว่า ท่านพ่อขา พวกเราจะไม่ออกไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ดอก ดิฉันก็ไม่ได้ถูกท่านนำมาจากท่าน้ำเหมือนพวกกุมภทาสี ธรรมดาว่า เหล่าธิดาของบิดามารดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ออกไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้นี่แหละ ในวันที่ดิฉันมาในที่นี้ บิดาของดิฉันก็ให้เรียกกุฎุมพี ๘ นายมาสั่งว่า ถ้าความผิดเกิดเพราะธิดาของเรา พวกท่านจงช่วยกันชำระ แล้วก็มอบดิฉันไว้ในมือของกุฎุมพี ๘ นายนั้น ขอท่านพ่อโปรดให้เรียกกุฎุมพี ๘ นายนั้นมาให้เขาชำระว่า เป็นความผิดหรือมิใช่ความผิดของดิฉันสิเจ้าคะ. ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า เด็กหญิงคนนี้พูดดี จึงให้เรียกกุฎุมพี ๘ นายมาสั่งว่า เด็กหญิงคนนี้เรียกเราผู้ซึ่งนั่งในเรือน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 96

มงคลในวันที่ครบ ๗ วันว่า เป็นคนกินของไม่สะอาด. กุฎุมพี ๘ นายนั้นจึงถามนางว่า เขาว่าอย่างนี้ จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย ท่านบิดาสามีของดิฉันจักต้องการกินของไม่สะอาดเอง แต่ดิฉันมิได้พูดให้ทำอย่างนั้น. ส่วนเมื่อพระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งยืนใกล้ประตูเรือน ท่านบิดานี้กำลังบริโภคมธุปายาสมีน้ำน้อยอยู่ ไม่สนใจพระเถระนั้นเลย ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงพูดเท่านี้ว่า ไปข้างหน้าก่อนเถิด เจ้าข้า บิดาสามีของดิฉันไม่ทำบุญในอัตภาพนี้ กำลังกินบุญเก่าๆ อยู่. กุฎุมพี ๘ นายจึงกล่าวว่า แม่เจ้าไม่มีความผิดในข้อนี้ ธิดาของเราพูดมีเหตุ เหตุไรท่านจึงโกรธเล่า. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อเจ้าเอ๋ย ความผิดนั้นไม่มีก็ช่างเถิด แต่เด็กหญิงคนนี้ในวันที่มาก็ไม่ให้ความเอาใจใส่ในบุตรเรา ได้ไปยังสถานที่ตนเองปรารถนา. กุฎุมพี ๘ นายถามว่า เขาว่าอย่างนั้น จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย ดิฉันไม่ไปยังที่ๆ ตนชอบใจ แต่ในเรือนหลังนี้ เมื่อแม่ม้าแสนรู้ตกลูก ดิฉันคิดว่า ไม่ทำแม้ความเอาใจใส่แล้วนั่งเฉยๆ เสีย ไม่สมควร จึงให้เหล่าทาสีถือคบไฟห้อมล้อมไปที่นั่น จึงสั่งให้ดูแลรักษาแม่ม้าที่ตกลูกจ้ะ. กุฎุมพี ๘ นายกล่าวว่า พ่อเจ้า ธิดาของเราได้กระทำกิจกรรมแม้เหล่าทาสีก็ต้องทำในเรือน ท่านเห็นโทษอะไรในข้อนี้. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อเจ้าเอ๋ย นั่นเป็นคุณความดี ก็ช่างเถิด แต่บิดาของเด็กหญิงคนนี้ เมื่อให้โอวาทในวันที่มาในที่นี้ก็กล่าวว่า ไฟในไม่ควรนำออก. กุฎุมพี ๘ นายถามนางว่า เขาว่าอย่างนั้น จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย บิดาของดิฉันมิได้พูดหมายถึงไฟนั่นดอก แต่เรื่องความลับอันใดของผู้หญิงมีมารดาสามีเป็นต้นเกิดขึ้นภายในนิเวศน์ เรื่องความลับอันนั้นไม่ควรบอกแก่เหล่าทาสและทาสี

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 97

เพราะว่าเรื่องเห็นปานนั้น มีแต่จะขยายตัวออกไปเป็นการทะเลาะกัน เพราะฉะนั้น บิดาของดิฉันหมายถึงข้อนี้จึงพูดจ้ะ พ่อคุณทั้งหลาย. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อคุณเอ๋ย ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นก็ช่างเถิด แต่บิดาของเด็กหญิงคนนี้กล่าวว่า ไฟนอกไม่ควรนำเข้าไปภายใน ก็เมื่อไฟในดับไปแล้ว เราไม่นำไฟข้างนอกเข้ามาได้หรือ. กุฎุมพี ๘ นายถามนางว่า เขาว่าอย่างนั้น จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า บิดาของดิฉันมิได้พูดหมายถึงไฟนั้นดอกจ้ะ แต่ความผิดอันใดที่เหล่าทาสและกรรมกรพูดกัน ความผิดอันนั้นไม่ควรบอกเล่าผู้คนภายใน ฯลฯ แม้คำใด ท่านบิดากล่าวว่า พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น คำนั้นท่านก็กล่าวหมายถึงว่า พึงให้แก่พวกคนที่ยืมเครื่องมือเครื่องใช้แล้วนำมาส่งคืนเท่านั้น. แม้คำที่ว่า เย น เทนฺติ ท่านก็กล่าวหมายถึงว่า ไม่พึงให้แก่พวกคนที่ยืมเครื่องมือเครื่องใช้แล้วไม่นำมาส่งคืน. ส่วนคำนี้ว่า ททนฺตสฺสาปิ อททนฺตสฺสาปิ ทาตพฺพํ ท่านกล่าวหมายถึงว่า เมื่อญาติมิตรตกยากมาถึงแล้ว เขาจะสามารถให้ตอบแทน หรือไม่สามารถให้ตอบแทนได้ก็ตาม ก็ควรให้ทั้งนั้น. แม้คำนี้ว่า สุขํ นิสิทิตพฺพํ ท่านกล่าวหมายถึงว่า เมื่อดิฉันเห็นมารดาบิดาสามีแล้ว ไม่ควรนั่งเฉยในที่ที่ตนควรลุกยืนขึ้น คำว่า สุขํ ภุญฺชิตพฺพํ ท่านกล่าวหมายถึงว่า ไม่บริโภคก่อนมารดาบิดาสามีและสามี ควรจะเลี้ยงดูท่านเหล่านั้นแล้วรู้ว่า ทุกท่านได้แล้วหรือยังไม่ได้อะไร แล้วตนเองบริโภคทีหลัง. คำว่า สุขํ นิปชฺชิตพฺพํ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ว่า ไม่พึงขึ้นที่นอนแล้วนอนก่อนมารดาบิดาสามีและสามี ต้องทำวัตรปฏิบัติที่สมควรทำแก่ท่านเหล่านั้น แล้วตนเองจึงควรนอนทีหลัง. คำว่า อคฺคิ ปริจริตพฺโพ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ว่า ควรจะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 98

เห็นทั้งบิดามารดาสามี ทั้งสามี เป็นเหมือนกองไฟและเหมือนพญางู. เศรษฐีกล่าวว่า จะเป็นคุณเท่านี้ก็ช่างเถิด แต่บิดาของเด็กหญิงคนนี้ ให้นอบน้อมเทวดาภายใน ประโยชน์อะไรของโอวาทนี้. กุฎุมพี ๘ นายถามนางว่า เขาว่าอย่างนั้น จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า จริงจ้ะ พ่อคุณทั้งหลาย บิดาของดิฉันกล่าวคำนี้หมายอย่างนี้ ตั้งแต่เราอยู่ครองเรือนตามประเพณี เห็นนักบวชมาถึงประตูเรือนของตนแล้ว ถวายของเคี้ยวของกินที่มีอยู่ในเรือนแก่เหล่านักบวชแล้ว ตนเองจึงควรกิน. ครั้งนั้น กุฎุมพีเหล่านั้น จึงถามเศรษฐีนั้นว่า ท่านมหาเศรษฐี ท่านเห็นเหล่านักบวชแล้ว ที่จะชอบใจว่า ไม่ควรให้ทั้งนั้นหรือ. ท่านเศรษฐีมองไม่เห็นคำตอบอย่างอื่น จึงได้แต่นั่งก้มหน้า.

ครั้งนั้น เหล่ากุฎุมพีจึงถามเศรษฐีนั้นว่า ความผิดอย่างอื่นของธิดาเรายังมีอยู่หรือ. ตอบว่า ไม่มีดอก พ่อคุณ ถามว่า ก็เพราะเหตุไรท่านจึงขับไล่ธิดา ซึ่งไม่มีความผิดออกไปจากเรือนโดยมิใช่เหตุ. ขณะนั้น นางวิสาขากล่าวว่า ยังไม่ควรไปตามคำของบิดาสามีเรา ก่อนแต่วันที่เรามา บิดาเรามอบเราไว้ในมือพวกท่านเพื่อชำระความผิดเรา บัดนี้ เราไปได้สะดวกแล้วละ จึงสั่งเหล่าทาสีและทาสให้ทำการตระเตรียมยานเป็นต้นไว้. คราวนั้น เศรษฐีพากุฎุมพีเหล่านั้นไปพูดกะนางว่า แม่หนู พ่อไม่รู้จึงพูดไป จงยกโทษให้พ่อเสียเถิด. นางกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย ดิฉันพึงอดโทษแก่พวกท่านได้ จะอดโทษให้ก่อน แต่ดิฉันเป็นธิดาของท่านเศรษฐีผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธศาสนา เราเว้นภิกษุสงฆ์เสียมิได้ ถ้าเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ตามชอบใจของเรา เราก็จักอยู่. เศรษฐีกล่าวว่า แม่หนู เจ้าจงบำรุงเหล่าสมณะของเจ้าได้ตามชอบใจ. ดังนั้น นางวิสาขา

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 99

จึงให้นิมนต์พระทศพล อาราธนาให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั่งเต็มนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น. แม้บริษัทของชีเปลือยรู้ว่าพระศาสดาเสด็จไปเรือนมิคารเศรษฐี ก็ไปที่นั้น พากันนั่งล้อมเรือนไว้. นางวิสาขาให้น้ำทักษิโณทกแล้วส่งข่าวบอกว่า สักการะทุกอย่างจัดไว้แล้ว ขอท่านบิดาสามีของเราโปรดจงมาเลี้ยงดูพระทศพล. เศรษฐีนั้นฟังคำของนางวิสาขาแล้วก็กล่าวว่า ธิดาของเราจงเลี้ยงดูพระสัมมาสัมพุทธะเถิด นางวิสาขาครั้นเลี้ยงดูพระทศพลด้วยภัตตาหารเลิศรสต่างๆ แล้ว ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว ก็ส่งข่าวไปอีกว่า ขอท่านบิดาสามีของเราโปรดมาฟังธรรมกถาของพระทศพล. ลำดับนั้น เศรษฐีนั้นก็ไปเพื่อประสงค์จะฟังธรรมกถาว่า บัดนี้ชื่อว่าการไม่ไป เป็นเหตุไม่สมควรอย่างยิ่ง เหล่าชีเปลือยก็กล่าวว่า ท่านเมื่อฟังธรรมของพระสมณโคดม ก็จงนั่งฟังนอกม่าน แล้วก็พากันไปก่อนกั้นม่านไว้. มิคารเศรษฐีไปนั่งนอกม่าน.

พระตถาคตทรงพระดำริว่า ท่านจะนั่งนอกม่านก็ตาม นอกฝาเรือนก็ตาม นอกแผ่นหินก็ตาม หรือนอกจักรวาลก็ตาม เราชื่อว่าพระพุทธเจ้าสามารถนำท่านให้ได้ยินเสียงของเราได้ จึงตรัสธรรมกถาประหนึ่งว่าจับลำต้นมะม่วงเขย่าให้ผลมีสีดังทองหล่นลงอยู่ฉะนั้น จบเทศนา เศรษฐีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ยกม่านขึ้น ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในสำนักพระศาสดานั่นเอง ก็สถาปนานางวิสาขาไว้ในตำแหน่งมารดาของตนว่า แม่หนู จงเป็นมารดาของเราตั้งแต่วันนี้ไป. ตั้งแต่นั้นมา นางวิสาขาจึงมีชื่อว่ามิคารมารดา.

วันหนึ่งเมื่อสมัยนักษัตรฤกษ์ดำเนินไปในพระนคร นางวิสาขาก็คิดว่า ไม่มีคุณในการอยู่ในพระนคร จึงห้อมล้อมด้วยทาสีเดินไปฟัง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 100

ธรรมกถาของพระศาสดา แต่ฉุกคิดว่า ไปสำนักพระศาสดาด้วยทั้งเพศที่มีเครื่องห่มคลุมไม่บังควร จึงเปลื้องเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ออก มอบไว้ในมือทาสี เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. พระศาสดาตรัสธรรมกถา. จบพระธรรมเทศนาของพระศาสดา นางจึงถวายบังคมพระทศพล แล้วเดินมุ่งหน้าสู่พระนคร. ทาสีแม้นั้นไม่ทันกำหนดสถานที่นางวางเครื่องประดับซึ่งตนรับไว้ จึงเดินกลับไปเพื่อหาเครื่องประดับ. ขณะนั้น นางวิสาขาจึงสอบถามทาสีนั้นว่า เจ้าวางเครื่องประดับไว้ตรงไหน. ทาสีตอบว่า ที่บริเวณพระคันธกุฎีจ้ะ แม่เจ้า. นางวิสาขากล่าวว่า ช่างเถิด เจ้าจงไปนำมา นับตั้งแต่เจ้าวางของไว้บริเวณพระคันธกุฎีแล้ว ชื่อว่าการให้นำของกลับมาไม่สมควรแก่เรา เพราะเหตุนั้น เราจำจักสละเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์นั้น ทำเป็นทัณฑกรรม แต่เมื่อเครื่องประดับนั้นยังวางไว้ พระคุณเจ้าทั้งหลายก็คงเป็นกังวล. วันรุ่งขึ้น พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จถึงประตูนิเวศน์ของนางวิสาขา. ก็ในนิเวศน์จัดอาสนะไว้เป็นประจำ. นางวิสาขารับบาตรของพระศาสดา อาราธนาให้เสด็จเข้าเรือน ให้ประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้แล้วนั่นแหละ เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จ ก็นำเครื่องประดับนั้นไปวางไว้ใกล้พระบาทของพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายเครื่องประดับนี้แด่พระองค์ เจ้าค่ะ. พระศาสดาตรัสห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าเครื่องประดับ ย่อมไม่สมควรแก่เหล่านักบวช. นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ แต่ข้าพระองค์จะจำหน่ายเครื่องประดับนี้ เอาทรัพย์มาสร้างพระคันธกุฎีเป็นที่อยู่สำหรับพระองค์ เจ้าค่ะ. ครั้งนั้น พระศาสดาก็ทรงรับโดยดุษณี. แม้นางวิสาขา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 101

นั้น ก็จำหน่ายเครื่องประดับนั้น เอาทรัพย์ ๙ โกฏิมาสร้างพระคันธกุฎี เป็นที่ประทับอยู่สำหรับพระตถาคตในวิหารชื่อว่าบุพพาราม อันประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง.

ก็นิเวศน์ของนางวิสาขา เวลาเช้าก็มลังเมลืองด้วยผ้ากาสาวะ คลาคล่ำไปด้วยนักแสวงบุญ. ในเรือนแม้ของนางวิสาขานั้น ก็จัดทานไว้พร้อมสรรพเหมือนในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. นางวิสาขานั้น เวลาเช้าก็ทำอามิสสงเคราะห์แก่พระภิกษุสงฆ์ ภายหลังอาหารก็ให้บ่าวไพร่ถือเภสัช ยา และน้ำอัฐบานไปยังวิหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วก็กลับมา. ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนานางวิสาชามิคารมารดาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายทาน แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒