พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๓ - ๔ ประวัตินางขุชุตตราและนางสามาวดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38409
อ่าน  665

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 101

อรรถกถาสูตรที่ ๓ - ๔

ประวัตินางขุชชุตตราและนางสามาวดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 101

อรรถกถาสูตรที่ ๓ - ๔

๓ - ๔ ประวัตินางขุชชุตตราและนางสามาวดี

ในสูตรที่ ๓ และที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

โดยบทว่า พหุสฺสุตานํ ยทิทํ ขุชฺชุตฺตรา เมตฺตาวิหารีนํ ยทิทํ สามาวตี ท่านแสดงว่า นางขุชชุตตราเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เป็นพหูสูต. นางสามาวดีเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา.

ได้ยินว่า แม้นางทั้งสอง ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา คิดกันว่า จักฟังธรรมกถาของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 102

พระศาสดา จึงพากันไปวิหาร. นางทั้งสองนั้น นางขุชชุตตราเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้เป็นพหูสูต จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางสามาวดีเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้อยู่ด้วยเมตตา จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เมื่อนางทั้งสองทำกุศลจนตลอดชีวิตก็บังเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์นั่นแล เวลาก็ล่วงไปถึงแสนกัป.

ครั้งนั้น ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด. เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นอัลลกัปปะ ในเรือนหลังหนึ่งๆ คน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ก็ตายพร้อมๆ กันนั่นแหละ. ส่วนผู้คนที่ไปนอกแคว้นก็รอดชีวิต. บุรุษผู้หนึ่งรู้เรื่องนั้นแล้ว ก็พาบุตรภริยาของตนไปนอกแคว้นนั้น ด้วยหมายจะไปแคว้นอื่น. คราวนั้นเสบียงเดินทางที่เอามาในเรือนของบุรุษนั้น ยังไม่ทันข้ามทางกันดารในระหว่างทางก็หมดสิ้นไป. เรี่ยวแรงร่างกายของพวกเขาก็ลดลง. มารดาอุ้มบุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง บิดาก็บุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง. ครั้งนั้น บิดาของบุตรนั้นจึงคิดว่า เรี่ยวแรงร่างกายของเราลดลงแล้ว จะแบกบุตรเดินไปคงไม่อาจข้ามทางกันดารไปได้. บุรุษนั้นไม่ให้มารดาบุตรรู้ ให้บุตรนั่งที่ทางทำเป็นเหมือนละไว้ไปหาน้ำ แล้วก็เดินทางไปลำพังคนเดียว. คราวนั้นภริยาของเขานั้นยืนคอยเขามา ไม่เห็นบุตรในมือก็ร้องกล่าวว่า บุตรฉันไปไหนล่ะนาย เขาพูดปลอบว่า เจ้าต้องการบุตรไปทำไม เรายังมีชีวิตอยู่ก็จักได้บุตรเอง นางคิดว่า ชายผู้นี้ใจร้ายนักหนอ แล้วกล่าวว่า ท่านไปเถิด ฉันไม่ไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 103

กับท่านดอก เขากล่าวว่า แม่นางจ๋า ฉันไม่ทันใคร่ครวญได้ทำไปแล้ว จงยกโทษข้อนั้นแก่ฉันเสียเถิด แล้วก็พาบุตรไป. คนเหล่านั้นข้ามทางกันดารนั้นแล้ว เวลาเย็นก็ถึงบ้านคนเลี้ยงโคตำบลหนึ่ง.

วันนั้น พวกบ้านคนเลี้ยงโคหุงปายาสไม่มีน้ำ เห็นคนเหล่านั้นก็คิดว่า คนเหล่านี้คงหิวจัด จึงเอาปายาสใส่เต็มภาชนะใหญ่ ลาดเนยเต็มกระบวยให้ไป เมื่อคนเหล่านั้นบริโภคข้าวปายาสนั้น สตรีนั้นก็บริโภคพอประมาณ ส่วนบุรุษบริโภคเกินประมาณ ไม่อาจให้ไฟธาตุย่อยได้ ก็ทำกาละเสียในเวลาหลังเที่ยงคืน เขาเมื่อทำกาละ เพราะยังมีความอาลัยในคนเหล่านั้น จึงถือปฏิสนธิในท้องนางสุนัข ในเรือนของพวกคนเลี้ยงโค. ไม่นานนัก นางสุนัขก็ออกลูก คนเลี้ยงโคเห็นสุนัขนั้นมีลักษณะสง่างาม ก็ปรนเปรอด้วยก้อนข้าว จึงพาสุนัขที่เกิดความรักในตนเที่ยวไปด้วยกัน.

ต่อมาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาถึงประตูเรือนของคนเลี้ยงโคในเวลาแสวงหาอาหาร คนเลี้ยงโคนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ก็ถวายอาหาร ถือปฏิญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่จะอยู่อาศัยตน พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสกุลคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงโคไปสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้าก็พาสุนัขนั้นไปด้วย ก็ตีต้นไม้หรือแผ่นหินเพื่อไล่สัตว์ร้ายในที่อยู่สัตว์ร้ายระหว่างทาง แม้สุนัขนั้นก็กำหนดวิธีทำของคนเลี้ยงโคนั้นไว้ ต่อมาวันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนั่งในสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมาไม่ได้ทุกครั้ง แต่สุนัขนี้ฉลาด โดยสัญญาจำหมายที่สุนัขนี้มาแล้ว ก็จะพึงมายังประตูเรือนของกระผมได้ วันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนั้นก็ส่งสุนัขไป ด้วยกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 104

เจ้าจงพาพระปัจเจกพุทธเจ้ามา สุนัขนั้นฟังคำของคนเลี้ยงโคนั้น ก็ไปในเวลาแสวงหาอาหาร เอาอกหมอบแทบเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่าสุนัขนี้มาสำนักเราแล้ว ก็ถือบาตรจีวรเดินทาง แต่ท่านจะทดลองสุนัขนั้น จึงแยกออกเดินทางอื่น สุนัขก็ยืนข้างหน้า ต้อนให้ไปทางที่ไปหมู่บ้านคนเลี้ยงโค ก็ในที่ใดคนเลี้ยงโคตีต้นไม้หรือแผ่นหินเพื่อขับไล่สัตว์ร้าย สุนัขถึงที่นั้นแล้ว ก็ส่งเสียงเห่าดังๆ ด้วยเสียงของสุนัขนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายก็หนีไป แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ให้ก้อนข้าวที่เย็นๆ ก้อนใหญ่แก่มันเวลาฉันเสร็จแล้ว แม้สุนัขนั้นก็รักอย่างยิ่งในพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยความอยากได้ก้อนข้าว คนเลี้ยงโคถวายผ้าพอแก่การที่จะทำจีวรได้ ๓ ผืนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาส แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านชอบใจ ก็โปรดอยู่เสียในที่นี้นี่แหละ แต่ถ้าไม่ชอบใจ ก็โปรดไปได้ตามสบาย พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงอาการว่าจะไป คนเลี้ยงโคตามไปส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็กลับ สุนัขรู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าไปที่อื่น ก็เกิดความโศกเศร้าอย่างแรงเพราะรัก หัวใจแตกตาย ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ก็โดยที่สัตว์ร้ายหนีไปเพราะสุนัขนั้นทำเสียงดังเวลาไปกับพระปัจเจกพุทธเจ้า เสียงของเทวบุตรนั้น เมื่อพูดกับเหล่าเทวดา จึงกลบเสียงเทวดาเสียสิ้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เทวบุตรนั้นจึงได้ชื่อว่าโฆสกเทพบุตร ก็เมื่อโฆสกเทพบุตรนั้นเสวยสมบัติในดาวดึงส์นั้น พระราชาพระนามว่าอุเทนเสวยราชสมบัติ ณ กรุงโกสัมพี ถิ่นมนุษย์ เรื่องพระเจ้าอุเทนพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาโพธิราชกุมารสูตรนั่นแล.

เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้นครองราชย์อยู่ โฆสกเทพบุตรก็จุติ ถือปฎิ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 105

สนธิในครรภ์ของสตรีผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพผู้หนึ่งในกรุงโกสัมพี ล่วงไป ๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร รู้ว่าเป็นชายก็ให้ทิ้งเสียที่กองขยะ. ขณะนั้นคนทำงานของโกสัมพิกเศรษฐีกำลังเดินไปเรือนเศรษฐีแต่เช้าตรู่ สงสัยว่า สิ่งนี้อะไรหนอที่เหล่ากากลุ้มรุมกันอยู่ ก็เข้าไปพบทารก คิดว่า ทารกนี้จักมีบุญ จึงส่งเด็กไว้ในมือบุรุษผู้หนึ่งให้นำไปสู่เรือน (ตน) แล้วก็ไปเรือนเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีกำลังไปยังราชสกุลในเวลาเข้าเฝ้า พบปุโรหิตในระหว่างทางก็ถามว่า วันนี้ดาวฤกษ์อะไร ปุโรหิตนั้นยืนอยู่ตรงนั้นนั่นแหละ ก็คำนวณแล้วกล่าวว่า ดาวฤกษ์ชื่อโน้น ทารกที่เกิดตามดาวฤกษ์นี้ในวันนี้ จักได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนี้ เศรษฐีนั้นฟังคำของปุโรหิตนั้นแล้ว ก็รีบส่งคนไปยังเรือนว่า ท่านปุโรหิตคนนี้ไม่พูดเป็นคำสอง หญิงแม่เรือนมีครรภ์แก่ของเรามีอยู่ พวกเจ้าจงตรวจดูนางว่าคลอดแล้วหรือยัง คนเหล่านั้นไปสำรวจ รู้แล้วก็กล่าวว่า นายท่าน หญิงมีครรภ์แก่นั้นยังไม่คลอด. เศรษฐีจึงสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปหาทารกที่เกิดในวันนี้ ในนครนี้ คนเหล่านั้นแสวงหาก็พบทารกนั้นในเรือนของคนทำงานของเศรษฐีนั้น แล้วบอกแก่เศรษฐี. เศรษฐีกล่าวว่า เจ้าพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปเรียกคนทำงานมา คนเหล่านั้นก็เรียกคนทำงานมา เศรษฐีถามเขาว่า เขาว่าเรือนเจ้ามีทารกหรือ เขาตอบว่า มีขอรับ นายท่าน เศรษฐีบอกว่า เจ้าให้ทารกนั้นแก่เราเถิด เขาว่า ให้ไม่ได้ดอก นายท่าน. เศรษฐีกล่าวว่า เจ้ารับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้เถิด. คนทำงานนั้นคิดว่า ทารกนี้จะเป็นหรือตาย ข้อนี้ก็รู้กันยาก ดังนี้ จึงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้ทารกไป.

ลำดับนั้นเศรษฐีคิดว่า ถ้าภริยาเราตลอดธิดา ก็จักทำทารกนี้ให้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 106

เป็นบุตร ถ้าคลอดบุตรก็จักทำทารกนี้ให้ตาย ครั้นคิดแล้วก็เลี้ยงทารกไว้ในเรือน. ครั้งนั้น ภริยาของเศรษฐีนั้นก็คลอดบุตรโดยล่วงไป ๒ - ๓ วัน แต่นั้น เศรษฐีก็คิดจะให้พวกโคเหยียบทารกนั้นเสียให้ตาย จึงสั่งว่า พวกเจ้าจงเอาทารกนี้ไปนอนที่ประตูคอก คนทั้งหลายก็ให้ทารกนั้นนอนที่ประตูคอกนั้น. ครั้งนั้น โคอุสภะจ่าฝูงออกไปก่อน เห็นทารกนั้นก็ยืนคร่อมไว้ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ ด้วยหมายใจว่า โคตัวอื่นๆ จักไม่เหยียบทารกนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้ ขณะนั้นคนเลี้ยงโคพบทารกนั้น คิดว่า ทารกนี้แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้จักคุณ คงเป็นผู้มีบุญมาก เราจักเลี้ยงทารกนั้น แล้วก็นำไปเรือนตน.

ฝ่ายเศรษฐีทราบว่า ทารกนั้นยังไม่ตาย ได้ฟังเขาว่า พวกคนเลี้ยงโคนำไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้ทิ้งเสียที่สุสานศพสด. เวลานั้น คนเลี้ยงแพะในเรือนเศรษฐี อาศัยสุสานนำแม่แพะไปเลี้ยง แพะแม่นมตัวหนึ่ง เพราะบุญของทารก ขาไปก็แวะจากทางไป ให้นมทารกแล้วก็ไป ขากลับจากที่นั้น ก็ไปให้นมทารกที่นั้นนั่นแหละ คนเลี้ยงแพะคิดว่า แม่แพะตัวนี้แวะจากที่นี้ไปแต่เช้าเพราะเหตุอะไรกันหนอ จึงเดินไปตรวจดูก็รู้ถึงทารกนั้นว่า ทารกนี้คงมีบุญมาก แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้คุณ จำเราจักเลี้ยงทารกนั้นไว้ แล้วพาไปเรือน.

ฝ่ายเศรษฐีก็ให้ตรวจตราดูอีกว่า ทารกนั้นตายหรือไม่ตาย รู้ว่าคนเลี้ยงแพะรับไว้ ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ สั่งว่า พรุ่งนี้ บุตรนายกองเกวียนคนหนึ่งจักเข้าไปยังนครนี้ พวกท่านจงนำทารกนี้ไปวางไว้ที่ทางล้อเกวียน ล้อเกวียนนั้นก็จักเฉือนไปอย่างนี้ เหล่าโคในเกวียนเล่มแรกของนายกองเกวียนแลเห็นทารกที่เขาวางไว้ที่ทางล้อเกวียนนั้น ก็ยืนเอาเท้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 107

ทั้ง ๔ คร่อม เหมือนเสาค้ำกันอยู่ฉะนั้น. นายกองเกวียนสงสัยว่า นั่นอะไรกันหนอ ก็รู้เหตุที่โคเหล่านั้นหยุดยืน เห็นทารกแล้วเข้าใจว่า ทารกมีบุญมาก ควรเลี้ยงไว้ จึงพาไปแล้ว.

ฝ่ายเศรษฐีก็ให้สำรวจว่า เด็กนั้นตายหรือไม่ตายที่ทางเกวียน ทราบว่านายกองเกวียนรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แม้แต่นายกองเกวียนนั้น สั่งให้โยนเหวในที่ไม่ไกลพระนคร ทารกนั้นเมื่อตกไปในเหวนั้น ก็ตกลงที่โรงช่างสานในที่ทำงานของพวกช่างสาน โรงช่างสานนั้นได้เป็นเสมือนสัมผัสด้วยปุยฝ้าย ๑๐๐ ชั้น ด้วยอานุภาพบุญของทารกนั้น. ครั้งนั้น หัวหน้าช่างสานเข้าใจว่า ทารกนี้มีบุญ ควรเลี้ยงไว้ จึงพาทารกนั้นไปเรือน.

เศรษฐีให้เสาะหาในที่ที่ทารกตกเหวว่า ตายหรือไม่ตาย ทราบว่าหัวหน้าช่างสานรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แม้แก่หัวหน้าช่างสานนั้น ให้นำทารกมา ต่อมา ทั้งบุตรของเศรษฐีเอง ทั้งทารกนั้น ทั้งสองคนก็เจริญเติบโต.

เศรษฐีก็ครุ่นคิดแต่อุบายที่จะให้เด็กโฆสกะตาย จึงไปเรือนช่างหม้อของตน พูดเป็นความลับว่า พ่อคุณ ที่เรือนฉันมีเด็กสกุลต่ำต้อยอยู่คนหนึ่ง ควรจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด็กนั้นตายเสีย ช่างหม้อนั้นก็ปิดหูทั้งสองกล่าวว่า ไม่ควรพูดถ้อยคำที่หนักเห็นปานนี้ แต่นั้น เศรษฐีคิดว่า ช่างหม้อนี้จักไม่ทำโดยไม่ได้อะไร จึงกล่าวว่า เอาเถิดพ่อคุณ จงเอาทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ ทำงานนี้ให้สำเร็จ ขึ้นชื่อว่าสินบน ย่อมทำลายสิ่งที่ทำลายไม่ได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ช่างหม้อนั้นได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วก็รับ แล้วกล่าวว่า นายท่าน กระผมจักจุดไฟเตาเผาหม้อในวันชื่อโน้น ขอนายท่านจงส่งทารกนั้นไปในวันโน้น เวลาโน้น. ฝ่ายเศรษฐีรับคำของช่าง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 108

หม้อนั้นแล้ว นับวันตั้งแต่วันนั้น รู้ว่าวันที่ช่างหม้อนัดไว้มาถึงแล้ว ก็ให้เรียกนายโฆสกะมาสั่งว่า ลูกเอ๋ย พ่อต้องการภาชนะจำนวนมากในวัน ชื่อโน้น เจ้าจงไปหานายช่างหม้อบอกว่า ได้ยินว่า มีงานที่บิดาเราพูดไว้แก่ท่านอย่างหนึ่ง วันนี้ขอท่านจงทำงานนั้นให้สำเร็จ นายโฆสกะรับคำของเศรษฐีนั้นว่า ดีละ แล้วก็ออกไป. ขณะนั้น ในระหว่างทาง ลูกตัวของเศรษฐีกำลังเล่นกีฬาขลุบ จึงรีบไปพูดว่า พี่จ๋า ฉันกำลังเล่นกับพวกเด็กๆ ด้วยกัน ถูกเขาเอาชนะเท่านี้ พี่จงกลับเอาชนะเขาให้ฉันนะ. นายโฆสกะกล่าวว่า บัดนี้ โอกาสของพี่ไม่มี ท่านบิดาใช้พี่ไปหาช่างหม้อด้วยกิจรีบด่วนจ้ะ. ลูกตัวเศรษฐีพูดว่า พี่จ๋า ฉันจักไปแทนเอง พี่จงเล่นกับเด็กเหล่านี้ นำโชคกลับมาให้ฉันนะ. นายโฆสกะกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าไปเถิด แล้วบอกข่าวที่บิดาบอกแก่ตน แก่น้องชายนั้น แล้วเล่นเสียกับพวกเด็กๆ. เด็กแม้นั้น [น้องชาย] ไปหาช่างหม้อแล้วบอกข่าวนั้น. ช่างหม้อกล่าวว่า ดีละพ่อคุณ เราจักทำงานให้สำเร็จ แล้วให้เด็กนั้นเข้าไปในห้อง เอามีดคมกริบตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใส่หม้อ ปิดปากหม้อวางไว้ระหว่างภาชนะ แล้วจุดไฟเตาเผาหม้อ นายโฆสกะเล่นชนะเป็นอันมาก ก็นั่งคอยน้องมา เขารู้ว่า น้องชักช้า ก็ไปยังส่วนหนึ่งของเรือนช่างหม้อ ในที่ไหนๆ ก็ไม่พบ คิดว่า น้องคงจักกลับไปบ้านแล้ว จึงกลับไปเรือน. เศรษฐีเห็นเขาเดินมาแต่ไกลก็สงสัยว่า จักมีเหตุอะไรหรือหนอ ก็เราสั่งมันไปหาช่างหม้อเพื่อให้ฆ่ามันให้ตาย บัดนี้ เจ้าเด็กนั้นยังมาในที่นี้อีก. เขามาถึง จึงถามเขาว่า เจ้าไม่ไปหาช่างหม้อดอกหรือลูก นายโฆสกะจึงบอกเหตุที่ตนกลับ และเหตุที่น้องชายไป เศรษฐีฟังคำเขาแล้ว เป็นเหมือนถูกแผ่นดินใหญ่ถล่มทับสัก ๑๐๐ ครั้ง จิตหมุนไปว่า เจ้าพูดเรื่อง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 109

อะไรอย่างนี้หรือ แล้วก็รีบไปหาช่างหม้อ พูดโดยถ้อยคำที่ไม่ควรพูดในสำนักคนเหล่าอื่นว่า ดูสิพ่อคุณ ดูสิพ่อคุณ ช่างหม้อกล่าวว่า ท่านให้ดูอะไรเล่า งานนั้นเสร็จไปแล้ว แต่นั้น เศรษฐีนั้นก็กลับไปเรือน.

ตั้งแต่นั้นมา โรคทางใจก็เกิดแก่เศรษฐีนั้น สมัยนั้น เศรษฐีนั้นกินไม่ได้ด้วยโรคทางใจนั้น ครุ่นคิดว่า ควรจะเห็นความพินาศของศัตรูของบุตรเรา ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกนายโฆสกะมาสั่งด้วยปากว่า เจ้าจงถือหนังสือนี้ไปหาคนทำงานของพ่อที่มีอยู่บ้านชื่อโน้น จงบอกว่า ได้ยินว่า ท่านจงรีบทำเรื่องที่มีอยู่ในหนังสือ ระหว่างทางจงไปเรือนเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อคามิกเศรษฐีสหายของพ่อ กินอาหารแล้วพึงไป แล้วได้มอบสาสน์ให้ไป นายโฆสกะนั้นไหว้เศรษฐีแล้วรับหนังสือออกไป ระหว่างทางไปถึงสถานที่อยู่ของคามิกเศรษฐี แล้วถามถึงเรือนของเศรษฐี ยืนไหว้คามิกเศรษฐีนั้นซึ่งนั่งอยู่นอกซุ้มประตู กำลังให้ช่างแต่งหนวดอยู่ เมื่อถูกถามว่า พ่อเอ๋ย เจ้ามาแต่ไหนล่ะ จึงตอบว่า ท่านพ่อ ผมเป็นบุตรโกสัมพิยเศรษฐี ขอรับ. คามิกเศรษฐีนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า บุตรเศรษฐีสหายเรา. ขณะนั้น ทาสีคนหนึ่งของธิดาเศรษฐี นำดอกไม้มาให้ธิดาเศรษฐี. ลำดับนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะทาสีนั้นว่า พักงานนั้นไว้เสีย จงล้างเท้าพ่อโฆสกะ จัดที่นอนให้. ทาสีนั้นก็ทำตามคำสั่ง แล้วไปตลาด นำดอกไม้มาให้ธิดาเศรษฐี. ธิดาเศรษฐีเห็นทาสีนั้นแล้วก็ดุนางว่า วันนี้เจ้าชักช้าอยู่ข้างนอกนานนัก โกรธแล้วจึงกล่าวว่า เจ้ามัวทำอะไรในที่นั้นตลอดเวลาเท่านี้ ทาสีกล่าวว่า แม่เจ้า อย่าพูดเลยเจ้าค่ะ ดิฉันไม่เคยเห็นชายหนุ่มรูปงามเห็นปานนี้เลย เขาเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีสหายบิดาของแม่เจ้า ดิฉันไม่อาจกล่าวถึงรูปสมบัติของเขาได้ ดิฉันกำลัง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 110

จะไปนำดอกไม้มา ท่านเศรษฐีก็ใช้ให้ดิฉันล้างเท้าชายหนุ่มคนนั้น ให้จัดที่นอนให้ ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงชักช้าอยู่ข้างนอกเสียนาน เจ้าค่ะ. ธิดาเศรษฐีแม้นั้น ได้เคยเป็นแม่เรือนของชายหนุ่มนั้นในอัตภาพที่ ๔ เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่ได้ฟังคำของทาสีนั้น ก็ไม่รู้สึกตัวว่ายืน ไม่รู้สึกตัวว่านั่ง นางก็พาทาสีนั้นไปยังที่นายโฆสกะนั้นนอนอยู่ มองดูเขากำลังหลับ เห็นหนังสือที่ชายผ้า สงสัยว่านั่นหนังสืออะไร ไม่ปลุกชายหนุ่มให้ตื่น หยิบหนังสือเอามาอ่านก็รู้ว่า ชายหนุ่มผู้นี้ถือหนังสือฆ่าตัวไปด้วยตนเอง จึงฉีกหนังสือนั้น. เมื่อชายหนุ่มนั้นยังไม่ตื่น ก็เขียนหนังสือ [เปลี่ยนความเสียใหม่] ว่า ท่านจงส่งสาสน์ของเราไปว่า เราส่งบุตรไปยังสำนักท่าน คามิกเศรษฐีสหายเรามีธิดาเจริญวัยแล้ว ท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ที่เกิดในที่อาณาบริเวณของเรา ถือเอาธิดาของคามิกเศรษฐีทำการมงคลแก่บุตรของเรา ด้วยทรัพย์ทุกอย่างๆ ละ ๑๐๐ แล้ว เมื่องานมงคลเสร็จ ท่านจงส่งสาสน์ให้เราทราบว่า ทำการมงคลแล้วด้วยวิธีนี้ เราจักรู้กิจที่พึงทำแก่ท่านในที่นี้ ใส่ตราหนังสือนั้นแล้วก็ผูกไว้ที่ชายผ้าเหมือนเดิม ชายหนุ่มแม้นั้นอยู่บ้านคามิกเศรษฐีนั้นวันหนึ่งแล้ว รุ่งขึ้นก็อำลาเศรษฐีไปยังบ้านของคนทำงาน มอบหนังสือนั้นให้ คนทำงานอ่านหนังสือแล้วก็ให้ประชุมชาวบ้าน กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อย่าสนใจเราเลย นายของเราส่งข่าวมายังสำนักเราว่า จงนำเด็กหญิงมาด้วยทรัพย์ทุกอย่างๆ ละ ๑๐๐ แก่บุตรคนโตของตน พวกท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ที่เกิดในที่นี้มา แล้วก็จัดการพิธีมงคลเครื่องสักการะ. [แต่งงาน] ทุกอย่าง ส่งข่าวแก่คามิกเศรษฐีให้รับ แล้วให้ตกลงงานมงคล [สมรส] ด้วยทรัพย์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 111

ทุกอย่างๆ ละ ๑๐๐ แล้วส่งหนังสือถึงโกสัมพิกเศรษฐี (๑) ว่า ข้ารู้ข่าวในหนังสือที่ท่านส่งไป แล้วก็กระทำกิจอย่างนี้ๆ เสร็จแล้ว.

เศรษฐีฟังข่าวนั้นแล้ว เหมือนถูกเผาแล้วในกองไฟฉะนั้น ถึงความเป็นโรคลงโลหิตเพราะอำนาจที่คิดว่า บัดนี้เราวอดวายแล้ว ดังนี้ ก็ให้คนเรียกนายโฆสกะนั้นด้วยคิดจะทำอุบายบางอย่าง หมายใจว่า จักทำมันไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติของตน ตั้งแต่งานมงคลเสร็จแล้ว ก็ส่งข่าวไปว่า เหตุไรบุตรของเราจึงอยู่เสียภายนอก จงรีบกลับมาเถิด เมื่อชายหนุ่มฟังข่าวแล้วก็เริ่มจะไป ธิดาเศรษฐีคิดว่า สามีนี้เขลา ไม่รู้ดอกว่า สมบัตินี้อาศัยเราจึงได้มา ควรที่เราจะทำบางอย่าง แล้วก็ทำอุบายห้ามแม้การไปของเขาเสีย แต่นั้นจึงกล่าวกะสามีว่า พ่อหนุ่มอย่ารีบด่วนนักเลย ดิฉันก็จะไปบ้านของสกุล ธรรมดาว่า ผู้ไปควรจะตระเตรียมการของตนแล้วจึงค่อยไป ฝ่ายโกสัมพิกเศรษฐีรู้ว่าบุตรนั้นชักช้าอยู่ ก็ส่งข่าวไปอีกว่า เหตุไรบุตรเราจึงชักช้าอยู่ เราเป็นโรคลงโลหิต ควรที่เจ้าจะมาพบเราขณะที่ยังเป็นอยู่. เวลานั้น ธิดาเศรษฐีก็บอกแก่สามีนั้นว่า เศรษฐีนั้นไม่ใช่บิดาของท่านดอก ท่านก็ยังเข้าใจว่าเป็นบิดา เศรษฐีนั้นส่งหนังสือแก่คนทำงานเพื่อให้เขาฆ่าท่าน ดิฉันจึงเปลี่ยนหนังสือนั้น เขียนข้อความเสียใหม่ ทำสมบัตินี้ให้เกิดแก่ท่าน เศรษฐีนั้นเรียกท่านไป หมายใจจะทำท่านไม่ให้เป็นบุตรต่างหาก ท่านจงรอการตายของเศรษฐีนั้นเถิด.

ครั้งนั้น นายโฆสกะไม่ไปด้วยทั้งที่เศรษฐีนั้นก็เป็นอยู่ ต่อเมื่อทราบว่า เขาเพียบหนัก จึงไปนครโกสัมพี แม้ธิดาเศรษฐีก็ให้สัญญาจำหมายภายนอกแก่สามีนั้นว่า ท่านเมื่อเข้าไป ก็จัดอารักขาไว้ทั่วบ้านจึงเข้าไป


(๑) ม. ๓๒๙ เป็นคนเดียวกันกับโกสัมพิยเศรษฐี.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 112

ตนเองก็ไปพร้อมกับบุตรเศรษฐี ยกแขนทั้งสองขึ้นทำเป็นร่ำไห้ไปใกล้ๆ เศรษฐีซึ่งนอนอยู่ในที่ค่อนข้างมืด เอาศีรษะกระแทกตรงหัวใจ เศรษฐีนั้นก็ทำกาละด้วยการกระแทกนั้นนั่นแหละ เพราะเขาหมดกำลัง. ชายหนุ่มก็ทำสรีระกิจของบิดา ให้สินบนแก่คนใกล้ชิดว่า พวกท่านจงบอกว่า ฉันเป็นบุตรตัวของเศรษฐี จากนั้นวันที่ ๗ พระราชาทรงดำริว่า ควรจะได้คนๆ หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งเศรษฐี จึงทรงส่งคนไปสำรวจว่า เศรษฐีมีบุตรหรือไม่มีบุตร. พวกคนใกล้ชิดเศรษฐีก็กราบทูลพระราชาถึงว่า เศรษฐีมีบุตร พระราชาทรงรับรองแล้ว ก็ได้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา เขาก็ชื่อว่าโฆสกเศรษฐี. ครั้งนั้น ภริยาก็กล่าวกะสามีว่า พ่อเจ้า ท่านก็เกิดมาต่ำ ดิฉันก็บังเกิดในสกุลตกยาก เราได้สมบัติเห็นปานนี้ก็ด้วยอำนาจกุศลที่เราทำกันแต่ปางก่อน แม้บัดนี้เราก็จักทำกุศล. สามีก็รับปากว่า ดีละ น้องเอ๋ย ก็สละทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะทุกวัน ตั้งทานไว้เป็นประจำ.

ในสมัยนั้น บรรดาชนทั้งสองนั้น นางขุชชุตตรา จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่นมในเรือนของโฆสกเศรษฐี เวลาที่เกิดนางมีร่างค่อม เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ขุชชุตตรา.

ส่วนนางสามาวดี จุติจากเทวโลกแล้ว ถือปฏิสนธิในเรือนของภัททวติยเศรษฐี แคว้นภัททวติยะ. ต่อมานครนั้นเกิดฉาตกภัย อดอยาก ผู้คนทั้งหลายกลัวอดอยาก จึงแยกย้ายกันไป. ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐีนี้ปรึกษากับภริยาว่า น้องเอ๋ย ฉาตกภัยนี้ยังไม่ปรากฏภายใน จำเราจักไปหาโฆสกเศรษฐีสหายเราในกรุงโกสัมพี สหายนั้นพบเราคงจักไม่รู้จัก นัยว่าเศรษฐีนั้นได้เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของโฆสกเศรษฐีนั้น เพราะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 113

เหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ภัททวติยเศรษฐีนั้น ให้คนที่เหลือกลับกันแล้ว ก็พาภริยาและธิดาเดินทางไปกรุงโกสัมพี ทั้งสามคนประสบทุกข์เป็นอันมากในระหว่างทาง ก็บรรลุกรุงโกสัมพีตามลำดับ พักอาศัยอยู่ ณ ศาลาหลังหนึ่ง. ฝ่ายโฆสกเศรษฐี ให้เขาจัดมหาทานแก่พวกคนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพก และยาจก ใกล้ประตูเรือนของตน. ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐีนี้ก็คิดว่า เราไม่อาจแสดงตัวแก่เศรษฐีสหายด้วยเพศของคนกำพร้านี้ได้ เมื่อร่างกายเป็นปกติ เรานุ่งห่มดีแล้ว จึงจักไปพบเศรษฐี แม้ทั้งสองคนก็ส่งธิดาไปโรงทานของโฆสกเศรษฐี เพื่อนำอาหารมาให้ตน ธิดานั้นก็ถือภาชนะไปโรงทาน ยืนเอียงอายอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง คนจัดการทานเห็นนางก็คิดว่า คนอื่นๆ ทำเสียงดังเหมือนกับชาวประมงแย่งซื้อและขายปลาในที่ประชุมพร้อมหน้ากัน ได้แล้วก็ไป ส่วนเด็กหญิงผู้นี้คงจักเป็นกุลธิดา เพราะฉะนั้น อุปธิสัมปทาของนางจึงมีอยู่. แต่นั้นจึงถามนางว่า แม่หนู เหตุไรเจ้าจึงไม่รับเหมือนกะคนอื่นๆ เล่า. นางตอบว่า พ่อท่าน ดิฉันจักกระทำการเบียดเสียดกันขนาดนี้เข้าไปได้อย่างไร. เขาถามว่า แม่หนู พวกเจ้ามีกี่คนเล่า. นางตอบว่า ๓ คนจ้ะ พ่อท่าน. เขาก็ให้ข้าว ๓ ก้อน นางก็ให้ข้าวนั้นแก่บิดามารดา บิดาหิวโหยมานาน กินเกินประมาณก็เลยตาย. รุ่งขึ้น นางก็ไปรับข้าวมา ๒ ก้อนเท่านั้น วันนั้นภริยาเศรษฐีก็ตายเสียต่อจากเวลาเที่ยงคืน เพราะลำบากด้วยอาหาร และเพราะเศร้าโศกถึงเศรษฐีที่ตาย. วันรุ่งขึ้น ธิดาเศรษฐีรับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น คนจัดการทานใคร่ครวญดูกิริยาของนาง จึงถามว่า แม่หนู วันแรกเจ้ารับก้อนข้าวไป ๓ ก้อน รุ่งขึ้นรับก้อนข้าวไป ๒ ก้อน วันนี้รับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น เกิดเหตุอะไรขึ้นหรือ นางจึงบอกเล่าเหตุการณ์นั้น. เขาถามว่า แม่หนู

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 114

เจ้าเป็นชาวบ้านไหนเล่า. นางก็เล่าเหตุการณ์โดยตลอด. เขากล่าวว่า แม่หนู เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าก็เป็นธิดาเศรษฐีของเรา เราไม่มีเด็กหญิงอื่นๆ เจ้าจงเป็นธิดาเราเสียตั้งแต่บัดนี้ แล้วก็รับนางไว้เป็นธิดา.

นางได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานก็ถามว่า พ่อท่าน เหตุไรจึงเสียงดังลั่น ดังนี้. เขาก็ตอบว่า แม่หนู ในระหว่างคนมากๆ ไม่อาจทำให้มีเสียงเบาลงได้ดอก. นางกล่าวว่า พ่อท่าน ฉันรู้อุบายในเรื่องนี้. เขาถามว่า ควรจะทำอย่างไรเล่า แม่หนู. นางบอกว่า พ่อท่าน พวกท่านจงทำรั้วไว้รอบๆ ประกอบประตู ๒ ประตู ให้ตั้งภาชนะ [แจกทาน] ไว้ข้างใน ให้คนเข้าไปทางประตูหนึ่ง รับอาหารแล้วให้ออกไปทางประตูหนึ่ง. เขารับว่า ดีละ แม่หนู แล้วก็ให้กระทำอย่างนั้น. ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น นับแต่นั้นมาโรงทานก็มีเสียงเงียบประหนึ่งสงบไป. แต่นั้น โฆสกเศรษฐีได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานมาแต่ก่อน. ครั้งนั้น เมื่อไม่ได้ยินเสียงนั้น จึงเรียกคนจัดการทานมา ถามว่า วันนี้ท่านให้เขาให้ทานแล้วหรือ เขาตอบว่า ให้ทานแล้ว นายท่าน. เศรษฐีถามว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรจึงไม่ได้ยินเสียงในโรงทานเหมือนแต่ก่อน. เขาตอบว่า จริงสิ นายท่าน ผมมีธิดาอยู่คนหนึ่ง ผมทำตามอุบายที่นางบอก จึงทำโรงทานให้ไม่มีเสียง. เศรษฐีถามว่า เจ้าไม่มีธิดา เจ้าได้ธิดามาแต่ไหน. คนจัดการทานนั้น ก็เล่าเรื่องที่ธิดามาทุกอย่างแก่เศรษฐี เพราะไม่อาจจะหลอกลวงได้. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เหตุไรเจ้าจึงได้ทำกรรมหนักเห็นปานนี้ ไม่บอกเรื่องธิดาซึ่งอยู่ในสำนักตนแก่เราเสียตั้งนานเพียงนี้ เจ้าจงรีบให้นำนางมาไว้เรือนเรา. คนจัดการทานนั้นฟังคำเศรษฐีแล้ว ก็ให้นำนางมาทั้งที่ตนไม่ประสงค์เช่นนั้น. ตั้งแต่นั้นมา เศรษฐีก็ตั้งนางไว้ในตำแหน่งธิดา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 115

คิดว่าจะรับขวัญธิดา จึงจัดหญิงสาว ๕๐๐ นางที่มีวัยรุ่นเดียวกัน จากสกุลที่มีชาติทัดเทียมกับตนมาเป็นบริวารของนาง.

ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนเสด็จตรวจพระนคร ทอดพระเนตรเห็นนางสามาวดีนั้นมีหญิงสาวเหล่านั้นแวดล้อมเล่นอยู่ ตรัสถามว่า เด็กหญิงนี้ของใคร ทรงสดับว่า ธิดาของโฆสกเศรษฐี ตรัสถามว่า ไม่มีสามีหรือ เมื่อเขาทูลว่า ไม่มีสามี จึงดำรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงไปบอกเศรษฐีว่า พระราชามีพระราชประสงค์ธิดาท่าน. เศรษฐีฟังแล้วบอกเขาว่า เราไม่มีเด็กหญิงอื่นๆ ไม่อาจให้ธิดาคนเดียวอยู่กับสามีได้. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว สั่งให้เศรษฐีและภริยาอยู่นอกบ้าน ให้ปิดประตูตีตราทั่วทุกหลังเรือน. นางสามาวดีไปเล่นเสียนอกบ้าน กลับมาเห็นบิดามารดานั่งอยู่นอกบ้านจึงถามว่า แม่จ๋า พ่อจ๋า เหตุไรจึงมานั่งที่นี้. เศรษฐีและภริยาก็แจ้งเหตุนั้น. นางจึงกล่าวว่า แม่จ๋า พ่อจ๋า อย่าทูลตอบพระราชาอย่างนั้นสิจ๊ะ บัดนี้ จงให้ทูลอย่างนี้นะพ่อนะว่า ธิดาของเราไม่อาจอยู่ผู้เดียวกับสามีได้ ถ้าพระองค์ทรงให้หญิงสาว ๕๐๐ คน บริวารของนางอยู่ด้วย นางจึงจะอยู่ด้วย. เศรษฐีกล่าวว่า ดีละ ลูกเอ๋ย พ่อไม่รู้จิตใจของเจ้านี่ เศรษฐีและภริยาจึงกราบทูลอย่างนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ตรัสว่า ๑,๐๐๐ คน ก็ช่างเถิด จงนำมาทั้งหมด. ครั้งนั้น เศรษฐีและภริยาจึงนำธิดานั้น มีหญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารไปยังพระราชนิเวศน์ โดยมงคลนักษัตรฤกษ์อันเจริญ พระราชาก็ทรงทำหญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารของนาง แล้วทรงทำอภิเษก ให้นางอยู่ในปราสาทหลังหนึ่ง.

ก็สมัยนั้น ในกรุงโกสัมพี เศรษฐี ๓ คน คือ โฆสกเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี เป็นสหายกันและกัน. เศรษฐีแม้ทั้ง ๓ คน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 116

ก็บำรุงดาบส ๕๐๐ รูป แม้เหล่าดาบสก็อยู่ในสำนักเศรษฐีทั้ง ๓ คนนั้น ๔ เดือน อยู่ป่าหิมวันต์ ๘ เดือน. ต่อมาวันหนึ่ง ดาบสเหล่านั้นมาจากป่าหิมวันต์ หิวกระหายลำบากในทางกันดารมาก จึงพากันไปยังต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง มุ่งหวังรับการสงเคราะห์จากสำนักเทวดาที่สถิตอยู่ ณ ต้นไทรใหญ่นั้น นั่งกันอยู่. เทวดาก็ยื่นมือที่ประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง หลั่งถวายน้ำปานะที่ควรแก่การดื่มเป็นต้นแก่ดาบสเหล่านั้น ช่วยบรรเทาความลำบากได้. ดาบสเหล่านั้นประหลาดใจเพราะอานุภาพของเทวดา จึงถามว่า ท่านเทวดา ท่านทำกรรมอะไรหนอจึงได้สมบัตินี้. เทวดาบอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า พุทธะ ทรงอุบัติแล้วในโลก บัดนี้ พระองค์ประทับอยู่กรุงสาวัตถี คฤหบดีชื่ออนาถบิณฑิกะอุปัฏฐากพระองค์อยู่ วันอุโบสถอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นให้ค่าอาหารประจำวันแก่คนงานของตน แล้วให้ทำอุโบสถ ก็เราเข้าไปเพื่อต้องการอาหารเช้าในตอนกลางวันวันหนึ่ง ไม่เห็นคนงานใครๆ ทำงานเลย จึงถามว่า เหตุไรวันนี้คนงานทั้งหลายไม่ทำงานกัน คนทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้นแก่เรา เมื่อเป็นดังนั้น เราจึงกล่าวว่า บัดนี้ก็ล่วงไปตั้งครึ่งวันแล้ว เราจะอาจทำอุโบสถได้ครึ่งวันหรือหนอ. แต่นั้น คนทั้งหลายก็บอกแก่เศรษฐีแล้วเศรษฐีกล่าวว่า ทำครึ่งวันก็ได้ เราฟังคำนั้นแล้วก็สมาทานอุโบสถครึ่งวัน ทำกาละเสียในวันนั้นนั่นเอง แล้วมาได้สมบัตินี้. ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้นเกิดปีติปราโมทย์ว่า เขาว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก แม้ประสงค์จะไปจากที่นั้นสู่กรุงสาวัตถี ก็คิดว่า พวกเศรษฐีผู้อุปัฏฐากเรามีอุปการะมาก จำเราจักบอกเรื่องนั้นแก่เศรษฐีเหล่านั้น จึงพากันไปกรุงโกสัมพี พวกเศรษฐีกระทำสักการะสัมมานะเป็นอันมาก จึงบอกว่า พวก

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 117

เราจะไปกันในวันนี้นี่แหละ. พวกเศรษฐีต่อว่าว่า ท่านเจ้าข้า พวกท่านรีบร้อนนักหรือ เมื่อก่อนท่านอยู่กัน ๔ - ๕ เดือนแล้วจึงไป จึงบอกเรื่องนั้น. เมื่อเหล่าเศรษฐีบอกว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น พวกเราก็จะไปกันทั้งหมด ก็บอกว่า พวกเราจะไปกัน พวกท่านก็ค่อยๆ มากันเถิด แล้วไปถึงกรุงสาวัตถี บวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็บรรลุพระอรหัต.

ฝ่ายเศรษฐีเหล่านั้น มีเกวียน ๕๐๐ เล่มเป็นบริวาร ถึงกรุงสาวัตถีในภายหลัง ตั้งค่ายพักในที่ไม่ไกลพระเชตวันวิหาร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจจริยาของคนเหล่านั้น จบเทศนา เศรษฐีทั้ง ๓ คนก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น นิมนต์เพื่อเสวยในวันนี้ โดยทำนองนั้นนั่นแล ถวายขันธวารภัตทาน (ทานของคนตั้งค่ายพัก) สิ้นไปครึ่งเดือน จึงทูลอ้อนวอนพระศาสดาเพื่อเสด็จมาสู่นครของตน. พระศาสดาตรัสว่า พระตถาคตทั้งหลายยินดีนักในเรือนว่าง ดังนี้. เศรษฐีเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบกันแล้ว แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาตามสาสน์ที่พวกข้าพระองค์ส่งมานะพระเจ้าข้า ถวายบังคมพระศาสดา ทำประทักษิณเวียนขวา ๓ รอบ แล้วกลับไปนครของตน ทั้ง ๓ คนก็ให้สร้างพระวิหารในอุทยานของตน วิหารที่โฆสกเศรษฐีสร้าง ชื่อว่าโฆสิตาราม ที่กุกกุฏเศรษฐีสร้าง ชื่อว่ากุกกุฏาราม ที่ปาวาริกเศรษฐีสร้าง ชื่อว่าปาราริกัมพวันวิหาร. เศรษฐีเหล่านั้นให้สร้างวิหารเสร็จแล้ว ส่งทูตไปทูลพระศาสดาว่า ขอพระศาสดาโปรดเสด็จมาพระนครนี้ เพื่อสงเคราะห์พวกข้าพระองค์เถิด.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 118

พระศาสดาทรงพระดำริว่า จักเสด็จไปกรุงโกสัมพี มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกจาริก ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของมาคัณฑิยพราหมณ์ในระหว่างทาง จึงงดการเสด็จไปกรุงโกสัมพี เสด็จไปยังนิคมชื่อว่ากัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ. สมัยนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์บำเรอไฟอยู่นอกบ้านตลอดคืนยังรุ่ง เช้าตรู่จึงเข้ามาบ้าน วันรุ่งขึ้น แม้พระศาสดาก็เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน เดินสวนทางกัน แสดงพระองค์แก่มาคัณฑิยพราหมณ์. มาคัณฑิยพราหมณ์นั้นเห็นพระทศพลก็คิดว่า เราเที่ยวแสวงหาเด็กหนุ่มที่ทัดเทียมกันกับรูปสมบัติแห่งธิดาของเรา ตลอดเวลาเท่านี้ เมื่อรูปสมบัติแม้มีอยู่ เราก็ปรารถนาการบรรพชาที่ผู้นี้ถืออยู่เช่นนี้เหมือนกัน แต่บรรพชิตผู้นี้งามน่าชม ช่างเหมาะสมกับธิดาของเราจริงๆ จึงรีบกลับไปเรือน. นัยว่าพราหมณ์นั้นเป็นวงศ์บรรพชิตวงศ์หนึ่งมาก่อน ด้วยเหตุนั้น พอเห็นบรรพชิตเท่านั้น จิตใจของเขาจึงน้อมไป พราหมณ์ปรึกษากะนางพราหมณีว่า น้องเอ๋ย ฉันปรารถนาการบรรพชาอย่างนี้ ฉันไม่เคยพบบรรพชิตเห็นปานนี้ เป็นเพศพราหมณ์มีผิวพรรณดั่งทอง ช่างเหมาะสมกับธิดาแท้ๆ จงรีบแต่งตัวธิดาของเจ้าสิ. เมื่อนางพราหมณีกำลังแต่งตัวธิดาอยู่ พระศาสดาก็ทรงแสดงพระเจดีย์ คือ รอยพระบาท ไว้ในที่ที่เขาพบพระองค์ เสด็จเข้าไปภายในพระนคร. ขณะนั้น พราหมณ์พาธิดาพร้อมกับนางพราหมณีมายังที่นั้น ตรวจดูรอบๆ เพราะเขามาเวลาที่พระศาสดาเสด็จเข้าไปในหมู่บ้าน ไม่เห็นพระทศพล ก็บริภาษนางพราหมณีว่า การกระทำของเจ้านี้ ชื่อว่าดีไม่มีเลย เพราะเจ้ามัวทำชักช้าอยู่ บรรพชิตผู้นั้นจึงออกไปเสีย. พราหมณ์ตรวจดูที่พระศาสดาเสด็จไปว่า บรรพชิตไปแล้ว ช่างก่อนเถิด

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 119

ไปทางทิศไหน หรือไปทางทิศนี้ ก็พบเจดีย์ คือ รอยพระบาท กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ นี้รอยเท้าบุรุษนั้น เขาคงจักไปทางนี้. ขณะนั้น นางพราหมณีเห็นเจดีย์ คือ รอยพระบาทของพระศาสดา คิดว่า ตาพราหมณ์ผู้นี้ช่างโง่จริงหนอ ไม่รู้ความหมายแม้เพียงคัมภีร์ของตน จึงทำการเย้ยหยัน พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ท่านพราหมณ์ ท่านโง่เพียงนี้แล้วยังจะมาพูดว่า เราจะให้ธิดาแก่บุรุษผู้เห็นปานนั้น. ด้วยว่า ธรรมดารอยเท้าของบุรุษผู้ที่ราคะย้อมแล้ว โทสะประทุษร้ายแล้ว โมหะให้ลุ่มหลงแล้ว จะไม่เป็นเช่นนั้น ดูสิพราหมณ์ นั่นเป็นรอยเท้าของพระสัพพัญญูพุทธะ ผู้มีหลังคาเปิดแล้วในโลก.

รตฺตสฺส หิ อุกฺกุฏิกํ ปทํ ภเว

ทุฏฺฐสฺส โหติ อวกฑฺฒิตํ ปทํ

มูฬฺหสฺส โหติ สหสานุปีฬิตํ

วิวฏจฺฉทสฺส อิทมีทิสํ ปทนฺติ.

แท้จริง รอยเท้าของผู้ที่ถูกราคะย้อมแล้ว พึงเป็นรอยเท้ากระหย่ง รอยเท้าของผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว พึงเป็นรอยเท้าจิกปลาย รอยเท้าของผู้ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้ว พึงเป็นรอยเท้าที่กดลงส้นเท้า นี้เป็นรอยเท้าของผู้ที่มีหลังคาเปิดแล้วแล.

เมื่อนางพราหมณีพูดเพียงนั้น พราหมณ์นั้นก็ไม่ฟังคำ กลับหาว่า เป็นหญิงปากร้ายเสียซ้ำไป. เมื่อสองสามีภริยาพูดทุ่มเถียงกันอยู่นั่นแล พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตพร้อมกับภิกษุสงฆ์ เสวยเสร็จแล้ว

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 120

จึงเสด็จออกไปใกล้ทางที่พราหมณ์แลเห็นได้. พราหมณ์แลเห็นพระศาสดาเสด็จมาแต่ไกล ก็บอกนางพราหมณี ร่าเริงยิ้มแย้มพูดว่า ผู้นี้คือบุรุษผู้นั้น จึงยืนตรงพระพักตร์ทูลว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญ ข้าพเจ้าเที่ยวหาท่านตั้งแต่เช้า. ในชมพูทวีปนี้ ไม่มีสตรีผู้ใดมีรูปงามเสมอกับธิดาของข้าพเจ้า แม้บุรุษก็ไม่มีผู้ใดมีรูปงามเสมอกับท่าน ข้าพเจ้าให้ธิดาของข้าพเจ้า เพื่อท่านจะได้เลี้ยงดู ท่านรับนางไปเถิด. ครั้งนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า พราหมณ์ แม้แต่เหล่าเทพธิดาอยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจร มีรูปเลอเลิศ มีผิวพรรณต่างๆ กัน มายืนในสำนัก กล่าวถ้อยคำเพื่อประเล้าประโลมเรา เรายังไม่ปรารถนา จะป่วยกล่าวไปไยถึงธิดาของท่านว่าเราจะรับ ครั้นตรัสแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ทิสฺวาน ตณฺหํ อรติญฺจ ราคํ

นาโหสิ ฉนฺโท อปิ เมถุนสฺมึ

กิเมวิทํ มุตฺตกรีสปุณฺณํ

ปาทาปิ นํ สมฺผุสิตุํ น อิจฺเฉ.

เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา แม้ความพอใจในเมถุนก็ไม่มีเลย สรีระนี้ เต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะทั้งนั้นหนอ แม้แต่เท้า เราก็ไม่ปรารถนาจะแตะต้องนาง.

นางมาคัณฑิยาคิดว่า ธรรมดาคนที่ไม่ต้องการ พูดปฏิเสธว่า อย่าเลย เท่านี้ก็ควร แต่บรรพชิตผู้นี้ทำสรีระของเราให้เป็นที่เต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ แล้วยังพูดว่า แม้แต่เท้า ก็ไม่ปรารถนาจะแตะต้อง.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 121

เราเมื่อได้ตำแหน่งยิ่งใหญ่ตำแหน่งหนึ่ง จักดูจุดจบของบรรพชิตนั้น แล้วผูกอาฆาตไว้. พระศาสดามิได้ทรงใส่พระทัยนาง ทรงเริ่มพระธรรมเทศนาโปรดพราหมณ์ด้วยอำนาจจริยาของเขา. จบเทศนา สองสามีภริยาก็ดำรงอยู่ในอนาคามิผล แล้วดำริว่า บัดนี้ เราไม่ต้องการครองเรือนแล้ว จึงให้มาคัณฑิยพราหมณ์ผู้เป็นอารับธิดาไว้ ทั้งสองคนก็บวช แล้วบรรลุพระอรหัต. ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทรงทำการพูดจาตกลงกับมาคัณฑิยพราหมณ์ผู้เป็นอา แล้วทรงนำเด็กสาวมาคัณฑิยามายังพระราชนิเวศน์ด้วยพระราชานุภาพ ทรงอภิเษก พระราชทานปราสาทต่างหาก เพื่อพระนางมาคัณฑิยากับบริวารสตรี ๕๐๐ ได้อยู่.

ฝ่ายพระศาสดาเสด็จจาริกโดยลำดับ มาถึงกรุงโกสัมพี. ท่านพวกเศรษฐี [๓ คน] รู้ว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิหารทั้ง ๓ นี้ ข้าพระองค์สร้างเจาะจงพระองค์ ขอได้โปรดทรงรับวิหารทั้งหลาย เพื่อสงเคราะห์สงฆ์ที่จาริกมาแต่ทิศทั้ง ๔ เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับวิหารไว้. แม้เศรษฐีเหล่านั้น ก็อาราธนาพระศาสดาเพื่อเสวยอาหารในวันรุ่งขึ้น ถวายบังคมแล้วก็กลับบ้าน. ฝ่ายพระนางมาคัณฑิยาทรงทราบว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงให้เรียกเหล่านักเลงผู้ตัดช่องมา แล้วให้สินจ้างแก่นักเลงเหล่านั้น ตรัสว่า พวกเจ้าจงด่าพระสมณโคดมด้วยทำนองอย่างนี้ แล้วส่งไป. นักเลงเหล่านั้นก็ด่าพระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเวลาเสด็จเข้าภายในหมู่บ้าน ด้วยเรื่องสำหรับด่ามีอย่างต่างๆ. ท่านพระอานนท์กราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เราจักไม่อยู่

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 122

ในสถานที่ด่ากันเห็นปานนี้ จักไปนครอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ธรรมดาพระตถาคตย่อมไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ เสียง [ด่า] แม้นี้ก็จักดำเนินไปไม่เกิน ๗ วัน ทัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งจักตกอยู่เหนือพวกที่ด่านั่นแหละ เธออย่าวิตกไปเลย. ส่วนเศรษฐีของนครทั้ง ๓ คนนั้น ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปด้วยสักการะยิ่งใหญ่ ถวายมหาทาน. เศรษฐีเหล่านั้นกำลังถวายทานต่อเนื่องกันไป ก็ล่วงเวลาไปเดือนหนึ่ง. ครั้งนั้น เศรษฐีเหล่านั้นก็ดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงอุบัติมาอนุเคราะห์โลกทั้งปวง เราจักให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่นกันบ้าง. เศรษฐีชาวกรุงโกสัมพีนั้น จึงให้โอกาสแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นมา ชาวกรุงทั้งหลายจึงถวายมหาทาน โดยจัดเป็นสายคนร่วมถนน สายคนร่วมคณะ.

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในเรือนของหัวหน้าช่างทำดอกไม้. ขณะนั้น นางขุชชุตตราหญิงรับใช้พระนางสามาวดี นำกหาปณะ ๘ กหาปณะไปเรือนนั้น เพื่อต้องการดอกไม้. หัวหน้าช่างทำดอกไม้เห็นนางก็กล่าวว่า แม่อุตตรา ไม่มีเวลาทำดอกไม่ให้เธอดอก ฉันจักเลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้เธอก็จงเป็นสหายในการเลี้ยงดูด้วย. ด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งแต่นี้ไป เธอก็จักพ้นจากการต้องขวนขวายรับใช้คนเหล่าอื่น. แต่นั้น นางขุชชุตตราบริโภคอาหารที่ตนได้แล้ว ก็ทำการขวนขวายในโรงอาหารเพื่อพระพุทธะทั้งหลาย. นางเรียนธรรมที่พระศาสดาตรัสด้วยอำนาจอุปนิสันนกถาไว้ได้ทั้งหมด แต่ฟังอนุโมทนาแล้วก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. นางให้ ๔ กหาปณะในวันอื่นๆ รับดอกไม้ทั้งหลายแล้วก็ไป แต่ในวันนั้น ไม่

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 123

เกิดจิตคิดอยากได้ในทรัพย์ของผู้อื่น เพราะเป็นผู้เห็นสัจจะแล้ว จึงให้หมดทั้ง ๘ กหาปณะ แล้วบรรจุดอกไม้เต็มกระเช้า นำดอกไม้ไปสำนักพระนางสามาวดี. ลำดับนั้น พระนางตรัสถามนางว่า แม่อุตตรา ในวันก่อนๆ เจ้านำดอกไม้มาไม่มากเลย แต่วันนี้ดอกไม้มาก พระราชาของเราทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้นหรือ. นางไม่ปิดบังกรรมที่ตนทำแต่ก่อน เพราะเป็นผู้ไม่ควรพูดเท็จ บอกเรื่องทั้งหมดเลย ครั้นถูกถามว่า เพราะเหตุไรวันนี้จึงนำมามาก จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ดิฉันฟังธรรมของพระทศพล กระทำให้แจ้งอมตธรรมแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงไม่หลอกลวงพวกท่านเจ้าค่ะ. สตรีทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า แม่อุตตรา เจ้าจงให้อมตธรรมที่เจ้าได้แล้วแก่พวกเราด้วย แล้วก็พากันเหยียดมือออกขอทุกคน. นางจึงกล่าวว่า แม่เจ้าเอ๋ย ให้อย่างนั้นไม่ได้ดอก แต่ดิฉันจักแสดงธรรมแก่ท่านตามทำนองที่พระศาสดาตรัสแล้ว. เมื่อเหตุของตนมีอยู่ พวกท่านจักได้ธรรมนั้น. สตรีทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงกล่าวเถิดแม่อุตตรา. นางกล่าวว่า จะกล่าวอย่างนั้นไม่ได้ดอก จงจัดอาสนะสูงๆ แก่ดิฉัน พวกท่านจงนั่งอาสนะต่ำๆ. สตรีแม้ทั้ง ๕๐๐ นางนั้น ก็ให้อาสนะที่สูงแก่นางขุชชุตตรา ส่วนตนเองนั่งอาสนะที่ต่ำ. แม้นางขุชชุตตราตั้งอยู่ในเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมแก่สตรีเหล่านั้น. จบเทศนา สตรีทั้งหมดมีพระนางสามาวดีเป็นพระประมุข ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ตั้งแต่นั้นมา สตรีเหล่านั้นก็ให้นางขุชชุตตราเลิกทำหน้าที่ทำงานรับใช้ แล้วกล่าวว่า ท่านฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้วนำมาให้พวกเราฟัง. ตั้งแต่นั้นมา แม้นางขุชชุตตราก็ได้กระทำอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 124

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางขุชชุตตรานี้จึงบังเกิดเป็นทาสี. ตอบว่า ดังได้สดับมา นางขุชชุตตรานี้ ในศาสนาพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้ให้สามเณรีรูปหนึ่งทำการรับใช้ตน ด้วยกรรมนั้น นางจึงบังเกิดเป็นทาสีของคนอื่นถึง ๕๐๐ ชาติ. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเป็นหญิงค่อม. ตอบว่า เขาเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ นางอยู่ในราชนิเวศน์ของพระเจ้ากรุงพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งประจำราชสกุลเป็นคนค่อม จึงทำการเย้ยหยันต่อหน้าเหล่าสตรีที่อยู่ด้วยกันกับตน เที่ยวทำอาการว่าเป็นคนค่อม. เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิดเป็นหญิงค่อม. ถามว่า ก็นางทำบุญอะไรจึงเป็นผู้มีปัญญา. ตอบว่า เขาเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ นางบังเกิดแล้วอยู่ในราชนิเวศน์ของพระเจ้ากรุงพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ถือบาตรที่เต็มด้วยข้าวปายาสร้อนจากราชนิเวศน์เดินไป กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า โปรดหยุดพักตรงนั้นแล้วค่อยไป จึงปลดทองปลายแขน ๘ วง ถวายไป. ด้วยผลของกรรมนั้น นางจึงบังเกิดเป็นผู้มีปัญญา.

ครั้งนั้นแล สตรี ๕๐๐ นาง บริวารของพระนางสามาวดี แม้แทงตลอดสัจจะแล้ว ก็ไม่ได้ไปสำนักของพระศาสดาเฝ้าพระพุทธเจ้าตามกาลอันสมควร เพราะพระราชาไม่ทรงมีศรัทธา. เพราะเหตุนั้น เมื่อพระทศพลเสด็จพระราชดำเนินระหว่างถนน เมื่อหน้าต่างทั้งหลายมีไม่พอ สตรีเหล่านั้นจึงเจาะช่องในห้องของตนมองดู. [พระศาสดา]. ต่อมาวันหนึ่ง พระนางมาคัณฑิยาเสด็จดำเนินออกจากชั้นปราสาทของพระองค์ไปยังที่อยู่สตรีเหล่านั้น เห็นช่องของห้องจึงทรงถามว่า นี้อะไร เมื่อสตรีเหล่านั้นไม่รู้เรื่องการผูกอาฆาตในพระศาสดาของพระ-

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 125

างมาคัณฑิยาจึงทูลว่า พระศาสดาเสด็จมาพระนครนี้ พวกเรายืนที่ตรงนั้น จักเห็น จักบูชาพระศาสดา เจ้าค่ะ ทรงคิดว่า สตรีเหล่านี้เป็นอุปัฏฐายิกาของพระสมณโคดมนั้น เราจักรู้กิจที่พึงทำแม้แก่สตรีเหล่านี้ แล้วเสด็จไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า สตรีเหล่านี้ พร้อมกับพระนางสามาวดี ปรารถนาจะออกไปภายนอก มันจะทำชีวิตของพระองค์ให้ม้วยมรณ์ที่สุด ๒ - ๓ วัน เพคะ. พระราชาไม่ทรงเชื่อว่า สตรีเหล่านั้นจักกระทำอย่างนั้น. แม้เมื่อพระนางมาคัณฑิยาทูลอีก ก็ไม่ทรงเชื่ออยู่นั่นเอง. ครั้งนั้น แม้เมื่อพระนางกราบทูลถึง ๓ ครั้ง พระราชาก็มิได้ทรงเชื่อ พระนางมาคัณฑิยาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อ ขอพระองค์โปรดเสด็จไปยังที่อยู่ของสตรีเหล่านั้น แล้วทรงสอบสวนดู เพคะ. พระราชาเสด็จไปพบช่องในห้องทั้งหลาย ตรัสถามว่า อะไร เมื่อเขากราบทูลความข้อนั้น ก็มิได้ทรงกริ้วสตรีเหล่านั้น ไม่ตรัสอะไร เพียงรับสั่งให้ปิดช่องเหล่านั้นเสีย. พระนางมาคัณฑิยาตรัสว่า พระนางสามาวดีกับบริวารไม่ทรงมีความเยื่อใยหรือความรักในพระองค์ เมื่อหน้าต่างมีไม่พอ จึงเจาะช่องเหล่านั้น ทำโอกาสมองดูพระสมณโคดมเสด็จไประหว่างถนน. ตั้งแต่นั้นมา พระราชาจึงโปรดให้ทำหน้าต่างกรุตาข่ายไว้ในปราสาทของสตรีเหล่านั้น.

พระนางมาคัณฑิยานั้นไม่อาจทำพระราชาให้ทรงกริ้วด้วยเหตุนั้นได้ จึงกราบทูลว่า เทวะ สตรีเหล่านั้นมีความรักหรือไม่มีความรักในพระองค์ เราจักรู้กัน ขอพระองค์โปรดส่งไก่ ๘ ตัว ไปให้สตรีเหล่านั้นปิ้งถวายพระองค์สิเพคะ. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วรับสั่งว่า จงปิ้งไก่เหล่านี้ส่งไป ทรงส่งไก่ ๘ ตัวแก่พระนางสามาวดี. พระอริยสาวิกา

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 126

ผู้เป็นโสดาบัน รู้ว่าไก่ยังเป็นอยู่ จักปิ้งได้อย่างไร จึงตรัสปฏิเสธว่า อย่าเลย ไม่ปรารถนาแม้แต่จะเอาพระหัตถ์จับต้อง. พระนางมาคัณฑิยากราบทูลว่า ข้อนั้นยกไว้ก็ได้ พระมหาราชเจ้า ขอได้โปรดทรงส่งไก่เหล่านี้นี่แหละ เพื่อปิ้งถวายพระสมณโคดม. พระราชาก็ทรงทำอย่างนั้น. พระนางมาคัณฑิยาทรงให้คนฆ่าไก่เสียในระหว่างทาง แล้วส่งไปด้วยรับสั่งว่า พระนางสามาวดีจงแกงไก่เหล่านี้ถวายพระสมณโคดม. พระนางสามาวดีนั้น เพราะทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น และเพราะมีพระทัยจดจ่อต่อพระทศพล จึงแกงไก่ส่งไปถวายแด่พระทศพล. พระนางมาคัณฑิยาทูลว่า ทอดพระเนตรเอาเถิด พระมหาราชเจ้า ดังนี้ ก็ไม่สามารถทำพระราชาให้ทรงกริ้วได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

ก็พระเจ้าอุเทนนี้ ประทับอยู่ในสถานที่อยู่ของบรรดานางเทวีเหล่านั้นพระองค์หนึ่งๆ พระองค์ละ ๗ วัน. ส่วนพระนางมาคัณฑิยานี้ ใช้ให้คนเอาลูกงูเห่าตัวหนึ่งใส่ไว้ในปล้องไม้ไผ่ วางไว้สถานที่อยู่ของตน. พระราชาเสด็จไปที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ทรงถือพิณชื่อหัตถิกันตะ. เวลาพระราชาเสด็จมาหาตน พระนางมาคัณฑิยาก็ใส่ลูกงูนั้นไว้ภายในพิณ ให้ปิดช่องไว้. กราบทูลว่า พระมหาราชเจ้า เวลาเสด็จไปหานางสามาวดี ขึ้นชื่อว่านางสามาวดีเข้าข้างพระสมโคดม ไม่นำพาพระองค์เลย ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก็คิดแต่จะให้โทษพระองค์เท่านั้น ขอพระองค์อย่าทรงประมาทนะเพคะ. พระราชาทรงถึงสถานที่อยู่ของพระนางสามาวดี ประทับอยู่ ๗ วัน ได้เสด็จไปนิเวศน์ของพระนางมาคัณฑิยาอีก ๗ วัน. เมื่อพระราชากำลังเสด็จมา พระนางมาคัณฑิยาทำเหมือนจะทูลว่า พระมหาราชเจ้า พระนางสามาวดีไม่หาความผิดของพระองค์ดอกหรือเพคะ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 127

รับพิณจากพระหัตถ์ของพระราชามาเขย่า ตรัสว่า พระมหาราชเจ้า อะไรอยู่ข้างในนี้เพคะ แล้วทำโอกาสให้งูออกไป ร้องว่า ว้าย งูอยู่ข้างใน แล้วทิ้งพิณลง หนีไป. เวลานั้น พระราชาทรงตวาดด้วยความเกรี้ยวกราดเหมือนไฟไหม้ป่าไม้ไผ่ฉะนั้น และเหมือนเตาไฟใส่เม็ดเกลือลงไปฉะนั้น รับสั่งว่า จงเรียกสามาวดีกับบริวารมา. พวกราชบุรุษก็ไปเรียก. พระนางสามาวดีนั้นทรงทราบว่า พระราชาทรงกริ้ว จึงให้สัญญาแก่เหล่าสตรีพวกนั้น ตรัสว่า พระราชาทรงประสงค์จะฆ่าพวกเราจึงเรียกมา วันนี้พวกเราจงแผ่เมตตาเจาะจงพระราชาตลอดวันนะ. พระราชาทรงเรียกหญิงเหล่านั้น ให้ทุกคนยืนเรียงกัน ทรงจับธนูคันใหญ่ ทรงสอดลูกธนูกำซาบยาพิษ ประทับยืนเหนี่ยวธนูเต็มที่. ขณะนั้น สตรีทั้งหมดนั้นมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข ก็พากันแผ่เมตตาโดยเจาะจง. พระราชาก็ไม่สามารถยิงลูกธนูและปลดลูกธนูลงได้. พระเสโทก็หลั่งออกจากพระวรกาย พระวรกายสั่นเทิ้ม พระเขฬะไหลออกจากพระโอษฐ์. ไม่ทรงเห็นที่พึ่งที่ควรจะพึ่งได้. ลำดับนั้น พระนางสามาวดีกราบทูลพระราชาว่า พระมหาราชเจ้า ทรงลำบากหรือเพคะ. พระราชาตรัสว่า จริงจ้ะเทวี พี่ลำบาก. ดีละ เจ้าจงเป็นที่พึ่งของพี่ด้วย. พระนางสามาวดีกราบทูลว่า ดีละ พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงหันลูกธนูลงดินเพคะ. พระราชาก็ทรงปฏิบัติตาม. พระนางอธิษฐานว่า ขอลูกธนูจงหลุดจากพระหัตถ์ของพระราชา. ขณะนั้นลูกธนูก็หลุด. ในขณะนั้นเอง พระราชาทรงดำลงในน้ำ เสด็จมาทั้งที่พระเกศาเปียก พระภูษาเปียก หมอบลงแทบพระบาทพระนางสามาวดี ตรัสว่า ยกโทษให้พี่เถิด เทวี พี่ไม่ทันได้ใคร่ครวญ ก็ทำกรรมนั้น ตามคำของพวกคนที่จะให้พี่แตกกัน. พระนางตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อัคุตตรนิกายอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 128

เทวะ หม่อมฉันขออดโทษถวายเจ้าพี่เพคะ. พระราชาตรัสว่า ดีละ เทวี ข้อนี้ก็เป็นอันเจ้ายกโทษให้พี่แล้ว. แล้วตรัสอีกว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกเจ้าจงถวายทานแด่พระทศพลได้ตามที่เจ้าจะต้องการ ภายหลังภัตจะไปวิหารฟังธรรมกถาก็ได้ เราจะให้การรักษาดูแลเอง. พระนางกราบทูลว่า เทวะ ถ้าอย่างนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป ขอทรงโปรดขอพระภิกษุสักองค์หนึ่งมาสอนธรรมแก่พวกหม่อมฉันเพคะ. พระราชาเสด็จไปสำนักพระศาสดา เมื่อจะทรงขอ ก็ทรงขอพระอานันทเถระ. จำเดิมแต่นั้น สตรีเหล่านั้นให้นิมนต์พระเถระมา แล้วทำสักการะเคารพนับถือ เล่าเรียนธรรมในสำนักพระเถระเมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว. วันหนึ่ง สตรีเหล่านั้นเลื่อมใสในอนุโมทนาของพระเถระ ได้ถวายอุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แด่พระเถระ. เขาว่า ในชาติก่อน พระเถระได้ถวายชิ้นผ้าบนฝ่าพระหัตถ์พร้อมด้วยเข็มเล่มหนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในเวลาเย็บผ้า. ด้วยผลของเข็ม พระเถระนั้นได้เป็นผู้มีปัญญามากในอัตภาพนี้ ทั้งได้ผ้า ๕๐๐ ผืน ตามทำนองนี้ด้วยผลแห่งชิ้นผ้า.

แต่นั้น พระนางมาคัณฑิยาไม่เห็นกิจที่จะพึงทำอย่างอื่น จึงกราบทูลว่า พระมหาราชเจ้า พวกเราจะไปพระอุทยานกันนะเพคะ พระราชาทรงอนุญาตว่า ดีละเทวี ดังนี้แล้ว พระนางจึงให้เรียกอามาสั่งว่า เวลาพวกฉันไปสวน อาจงไปสถานที่อยู่ของพระนางสามาวดี ขังพระนางสามาวดีพร้อมทั้งบริวารไว้ข้างใน บอกว่า เป็นพระรับสั่งของพระราชา แล้วปิดประตูเสีย ให้เอาฟางมาพันไว้ แล้วจงจุดไฟเผานิเวศน์เสีย. นายมาคัณฑิยาฟังคำพระนางแล้ว ก็กระทำตามที่พระนางสั่งทุกประการ. วันนั้น สตรีเหล่านั้นทั้งหมดไม่อาจเข้าสมาบัติได้ เพราะอานุภาพของอุปปี-

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 129

ฬกกรรมที่ทำในชาติก่อน ก็มอดไหม้ประหนึ่งกองขี้เถ้าพร้อมกันหมด. เหล่าทหารรักษาสตรีเหล่านั้นก็ไปเฝ้า กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ คนทั้งหลายได้กระทำกรรมชื่อนี้. พระราชาทรงสืบสวนว่าใครทำ ก็ทรงทราบว่า พระนางมาคัณฑิยาใช้ให้คนทำ จึงรับสั่งให้เรียกพระนางมา ตรัสว่า เจ้าทำกรรมได้งดงามแล้ว เจ้ากระทำกรรมที่เรากำลังจะทำ แม่มหาจำเริญ ความพยายามเพื่อจะฆ่าเราที่ก่อขึ้นและก่อขึ้นแล้ว ถูกทำลายลงแล้ว เราจะให้สมบัติแก่เจ้า จงเรียกพวกญาติของเจ้ามา. พระนางฟังพระราชดำรัสแล้ว ก็ให้เรียกคนที่ไม่เป็นญาติทำให้เป็นญาติมาแล้ว. พระราชาทรงทราบว่า คนทั้งหมดประชุมกันพร้อมแล้ว ก็ให้ขุดหลุมฝังคนเหล่านั้นลงเหลือแค่คอที่พระลานหลวง แล้วให้ทำลายศีรษะที่โผล่ขึ้นมาโดยให้ไถด้วยไถเหล็กขนาดใหญ่ ให้ตัดพระนางมาคัณฑิยาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ให้ทอดในกระทะทอดขนม.

ถามว่า กรรมที่พระนางสามาวดีกับบริวารถูกไฟเผาคือกรรมอะไร.

ตอบว่า ดังได้สดับมา พระนางสามาวดีนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เล่นน้ำในแม่น้ำคงคากับสตรี ๕๐๐ คนนั้นนั่นแหละ ยืนนอกท่าน้ำ ก็เกิดหนาวเย็น เห็นบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้าในที่ไม่ไกล ไม่ตรวจดูข้างในแล้วจุดไฟพากันผิงไฟ ภายในบรรณศาลาพระปัจเจกพุทธเจ้านั่งเข้าสมาบัติ. สตรีเหล่านั้น เมื่อเปลวไฟโทรมลงจึงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า คิดกันว่า พวกเราทำกรรมอะไรหนอ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้เป็นพระประจำราชสกุล พระราชาทรงพบเห็นเหตุนี้แล้วจักทรงกริ้วพวกเรา บัดนี้ ควรที่พวกเราจะฌาปนกิจพระองค์ให้เสร็จเรียบร้อยไป จึงใส่ฟืนอื่นๆ จุดไฟ เมื่อเปลวไฟโทรมลงอีก พระปัจเจก-

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 130

พุทธเจ้าออกจากสมาบัติ สะบัดจีวร แล้วก็เหาะขึ้นสู่เวหาทั้งที่สตรีเหล่านั้นมองเห็นอยู่นั้นแล. สตรีเหล่านั้นไหม้ในนรกด้วยกรรมนั้น แล้วก็ถึงความพินาศครั้งนี้ด้วยเศษกรรมที่สุกงอมแล้ว. แต่ในบริษัท ๔ เกิดการสนทนากันขึ้นว่า นางขุชชุตตราผู้พหูสูตตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นสตรี กล่าวธรรมแก่สตรี ๕๐๐ คนให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ฝ่ายพระนางสามาวดีแผ่เมตตา ห้ามลูกธนูที่พระราชาทรงกริ้วตนได้. มหาชนก็กล่าวคุณของพระนาง. เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมา พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร ทรงทำเหตุนั้นแลให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง แล้วทรงสถาปนานางขุชชุตตราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสิกาอริยสาวิกา ผู้เป็นพหูสูต ทรงสถาปนาพระนางสามาวดีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสิกา ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔