พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๑ ว่าด้วยฐานะและอฐานะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 ต.ค. 2564
หมายเลข  38416
อ่าน  489

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 146

อัฏฐานบาลี

วรรคที่ ๑

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 146

อัฏฐานบาลี

วรรคที่ ๑

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่ามารดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่าบิดานั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 147

แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่าบิดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนพึงเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงถือศาสดาอื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงถือศาสดาอื่น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

จบวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 148

อรรถกถาอัฏฐานบาลี (๑)

อรรถกถาวรรคที่ ๑

ในอัฏฐานบาลี พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อฏฺฐานํ ได้แก่ การปฏิเสธเหตุ. บทว่า อนวกาโส ได้แก่ การปฏิเสธปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุและปัจจัยทั้งสอง. จริงอยู่ เหตุ ตรัสเรียกว่า ฐานะ เป็นเหตุที่ตั้งแห่งผลของตน และว่าโอกาส (ช่องทาง) เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. บทว่า ยํ แปลว่า เพราะเหตุใด. บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระอริยสาวก คือ พระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาในมรรค. จริงอยู่ พระโสดาบันนั้นมีชื่อมาก เช่น ชื่อว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิก็มี ทสฺสนสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะก็มี อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้ก็มี ปสฺสติ อิมํ สทฺธมฺมํ ผู้เห็นพระสัทธรรมอยู่ก็มี เสกฺเขน าเณน สมนฺนาคโต ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสกขะก็มี เสกฺขาย วิชฺชาย สมนฺนาคโค ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสกขะก็มี ธมฺมโสตสมาปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมก็มี อริโย นิพฺเพธิกปญฺโ ผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสอันประเสริฐก็มี อมตทฺวารํ อาหจฺจ ติฏฺติ ผู้ตั้งอยู่ใกล้ประตูพระนิพะพานก็มี.

บทว่า กญฺจิ สงฺขารํ ความว่า บรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๔ เฉพาะสังขารไรๆ เพียงสังขารหนึ่ง. บทว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย


(๑) อธิบายบาลีข้อ ๑๕๓ - ๑๖๒.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 149

ความว่า พึงยึดถือว่าเที่ยง. บทว่า เนตํ านํ วิชฺชติ แปลว่า เหตุนี้ไม่มี คือ หาไม่ได้. บทว่า ยํ ปุถุชฺชโน แปลว่า ชื่อว่าปุถุชนเพราะเหตุใด. บทว่า านเมตํ วิชฺชติ แปลว่า เหตุนี้มีอยู่. อธิบายว่า จริงอยู่ เพราะปุถุชนนั้นมีความเห็นว่า เที่ยง พึงยึดถือบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๔ เฉพาะสังขารบางอย่าง โดยควานเป็นของเที่ยง.

ก็สังขารที่เป็นไปในภูมิที่ ๔ (๑) ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิหรืออกุศลอย่างอื่น เพราะมากด้วยเดช เหมือนก้อนเหล็กที่ร้อนอยู่ทั้งวัน ไม่เป็นอารมณ์ของฝูงแมลงวัน เพราะเป็นของร้อนมากฉะนั้น. พึงทราบความแม้ในคำว่า กญฺจิ สงขารํ สุขโต เป็นต้น โดยนัยนี้. คำว่า สุขโต อุปคฺจเฉยฺย นี้ ตรัสหมายถึงการยึดถือโดยความเป็นสุขด้วยอำนาจอัตตทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนมีสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค จนกว่าจะตายไป. ด้วยว่า พระอริยสาวกถูกความเร่าร้อนครอบงำแล้ว ย่อมเข้าไปยึดถือสังขารบางอย่างไว้โดยความเป็นสุขเพื่อระงับความเร่าร้อน โดยจิตปราศจากทิฏฐิ เหมือนเสกขพราหมณ์ (๒) ผู้สะดุ้งกลัวช้างตกมัน ก็ยึดอุจจาระไว้ฉะนั้น.

ในอัตตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า สงฺขารํ แต่ตรัสว่า กญฺจิ ธมฺมํ เพื่อทรงรวมเอาบัญญัติมีกสิณเป็นต้น. แต่แม้ในที่นี้ พึงทราบกำหนดสำหรับพระอริยสาวก ด้วยอำนาจสังขารที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔. สำหรับปุถุชนด้วยอำนาจสังขารที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓. อีกอย่างหนึ่ง ในวาระทุกวาระ กำหนดสำหรับแม้พระอริยสาวกด้วยอำนาจสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ก็ควร. ก็ปุถุชนย่อมยึดถือธรรมใดๆ พระ -


(๑) จตุภูมิกสงฺขารา สังขารพึงเป็นไปในภูมิที่ ๔ คือ โลกุตรภูมิ ควรเป็นจตุตฺถภูมิกสงฺขารา.

(๒) ม. โจกขพราหมณ์.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 150

อริยสาวกย่อมเปลื้องความยึดถือจากธรรมนั้นๆ. คือ ปุถุชนเมื่อยึดถือธรรมนั้นๆ ว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าตน พระอริยสาวกเมื่อยึดถือธรรมนั้นๆ ว่าไม่เที่ยง ว่าเป็นทุกข์ ว่าไม่ใช่ตน ย่อมเปลื้องความยึดถือนั้นเสีย. ในพระสูตรทั้ง ๓ พระสูตรนี้ ข้อ ๑๕๓, ๑๕๔, ๑๕๕ พระองค์ตรัสถึงความเปลื้องความยึดถือของปุถุชนไว้ด้วย.

ในคำว่า มาตรํ เป็นต้น ท่านประสงค์เอาสตรีผู้ให้กำเนิด ชื่อว่ามารดา บุรุษผู้ให้กำเนิด ชื่อว่าบิดา และพระขีณาสพผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น ชื่อว่าพระอรหันต์. ถามว่า ก็พระอริยสาวกพึงปลงชีวิตผู้อื่นได้หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ. เพราะว่า ถ้าพระอริยสาวกที่เกิดระหว่างภพไม่รู้ว่าตัวเป็นอริยสาวกไซร้ ใครๆ ก็จะพึงบังคับอย่างนี้ว่า ท่านจงปลงชีวิตมดดำมดแดงนี้เสีย แล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้วงจักรวาลทั้งสิ้นเถิด. พระอริยสาวกนั้น ก็ไม่พึงปลงชีวิตมดดำมดแดงนั้นได้เลย. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คนทั้งหลายพึงบังคับท่านอย่างนี้ว่า ก็ถ้าท่านไม่ฆ่ามดดำมดแดงนั้นไซร้ พวกเราก็จักตัดศีรษะท่านเสีย. คนทั้งหลายจะพึงตัดศีรษะของท่าน แต่ท่านก็ไม่พึงฆ่ามดดำมดแดงนั้น. แต่คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงความมีโทษมากของความเป็นปุถุชน เพื่อทรงแสดงกำลังของพระอริยสาวก. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนชื่อว่ามีโทษ ตรงที่ปุถุชนจักทำอนันตริยกรรมมีมาตุฆาตเป็นต้นได้ อริยสาวกชื่อว่ามีกำลังมาก ตรงที่ไม่ทำกรรมเหล่านั้น.

บทว่า ปทุฏฺจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตอันวธกจิต (จิตคิดจะฆ่า) ประทุษร้ายแล้ว. บทว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย ได้แก่ ทำพระโลหิตแม้เท่าแมลงวันตัวเล็กดื่มได้ ให้ห้อขึ้นในพระสรีระของพระตถาคตผู้ยังทรง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 151

พระชนม์อยู่.

บทว่า สงฺฆํ ภินฺเทยฺย ได้แก่ ทำสงฆ์ผู้มีสังวาสธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน ผู้ตั้งอยู่ในสีมาที่เสมอกัน ให้แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ ๕ คือ ด้วยกรรม ด้วยอุเทศ ด้วยการชี้แจง ด้วยประกาศ ด้วยจับสลาก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยกรรมทั้ง ๔ กรรมใดกรรมหนึ่ง. บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ ด้วยปาติโมกขุทเทส ๕ อุเทศอย่างหนึ่ง. บทว่า โวหารนฺโต ได้แก่ ด้วยการชี้แจง คือ แสดงเภทกรวัตถุเรื่องทำให้แตกกัน ๑๘ อย่าง มีแสดงว่า อธรรมเป็นธรรมเป็นต้น ด้วยอุปบัติ เหตุเกิดเรื่องนั้นๆ. บทว่า อนุสฺสาวเนน ได้แก่ ทำการเปล่งถ้อยคำประกาศโดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านทราบกันหรือว่า เราบวชมาแต่ตระกูลสูง และเป็นพหูสูต พวกท่านไม่ควรเกิดจิตคิดว่า คนเช่นเราจะพึงถือสัตถุศาสน์คำสอนของพระศาสดานอกธรรม นอกวินัย อเวจีสำหรับเราเป็นของเย็นเหมือนสวนอุบลขาบหรือ เราไม่กลัวอบายหรือ. บทว่า สลากคาเหน ได้แก่ ด้วยการประกาศอย่างนี้ แล้วทำจิตของภิกษุเหล่านั้นให้มั่นคง กระทำให้เป็นธรรมไม่กลับกลอกแล้วได้จับสลากด้วยกล่าวว่า พวกท่านจงจับสลากนี้.

ก็บรรดาอาการทั้ง ๕ นั้น กรรมหรืออุเทศเท่านั้น ควรถือเป็นประมาณ. ส่วนการกล่าว การประกาศ และการให้จับสลากเป็นส่วนเบื้องต้น. ด้วยว่า แม้เมื่อสงฆ์กล่าวด้วยอำนาจแสดงเรื่อง ๑๘ ประการ ประกาศชักชวนเพื่อให้เกิดความชอบใจในเรื่องนั้น จับสลากกันแล้ว ก็

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 152

ยังไม่ชื่อว่าทำสงฆ์ให้แตกกัน. ต่อเมื่อใด ภิกษุ ๙ รูป หรือเกิน ๔ รูป จับสลากแล้วกระทำกรรม (สังฆกรรม) หรืออุเทศแยกกันต่างหาก เมื่อนั้นจึงชื่อว่าทำสงฆ์ให้แตกกัน. ข้อว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอย่างนี้ พึงทำสงฆ์ให้แตกกัน นี้มิใช่ฐานะ. ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็เป็นอันทรงแสดงอนันตริยกรรม ๕ มีมาตุฆาต ฆ่ามารดาเป็นต้น. ปุถุชนทำอนันตริยกรรมเหล่าใดได้ แต่อนันตริยกรรมเหล่านั้นพระอริยสาวกไม่ทำ. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งอนันตริยกรรม ๕ นั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร โดยการตั้งอยู่ในอเวจีตลอดกัป โดยวิบาก โดยสาธารณะ เป็นต้น.

ในเหตุเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรมก่อน. แท้จริง ผู้ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งยังไม่เปลี่ยนเพศจากมนุษย์ จึงเป็นอนันตริยกรรม. ผู้ทำอนันตริยกรรมคิดว่า เราจักห้ามวิบากของกรรมนั้น ดังนี้ จึงสร้างสถูปทองคำขนาดเท่าพระมหาเจดีย์ให้เต็มห้วงจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ที่นั่งเต็มสากลจักรวาลก็ดี ไม่ละชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเที่ยวไปก็ดี เมื่อกายทำลายแตกตายไปก็เข้าถึงนรกเท่านั้น. ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ตนเองเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ก็ดี ตนเองเป็นสัตว์ดิรัจฉานด้วยกันก็ดี กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนักตั้งจดอนันตริยกรรมทีเดียว. แต่ปัญหานี้ ท่านกล่าวสำหรับผู้ที่เป็นมนุษย์. ในปัญหานั้น ควรกล่าวเรื่องเอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และโจรจตุกกะ ก็บุคคลแม้เข้าใจว่า เราจะฆ่าแพะ แล้วฆ่ามารดาหรือบิดาผู้เป็น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 153

มนุษย์ ซึ่งตั้งอยู่ในที่อยู่ของแพะ ชื่อว่าต้องอนันตริยกรรม. บุคคลผู้ฆ่าแพะด้วยเข้าใจว่าเป็นแพะ หรือด้วยเข้าใจว่าเป็นมารดาหรือบิดา ชื่อว่าไม่ต้องอนันตริยกรรม. บุคคลผู้ฆ่ามารดาหรือบิดาโดยเข้าใจว่าเป็นมารดาหรือบิดา ชื่อว่าต้องอนันตริยกรรมโดยแท้. ใน ๒ จตุกกะนอกนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบจตุกกะเหล่านี้ แม้ในพระอรหันต์ ก็เหมือนในมารดาหรือบิดา. บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น ชื่อว่าต้องอนันตริยกรรม. ฆ่าพระอรหันต์ผู้เป็นยักษ์ ชื่อว่าไม่ต้องอนันตริยกรรม. แต่เป็นกรรมหนักเหมือนอนันตริยกรรมทีเดียว. เมื่อบุคคลใช้ศัสตราประหาร หรือวางยาพิษพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เวลาที่ท่านยังเป็นปุถุชน ผิว่าท่านบรรลุพระอรหัต มรณะลงด้วยการประหารด้วยศัสตราหรือยาพิษนั้นนั่นแล ผู้นั้นย่อมชื่อว่าฆ่าพระอรหันต์โดยแท้. ทานใดเขาถวายเวลาที่ท่านเป็นปุถุชน ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วบริโภค ทานนั้นก็ยังชื่อว่าให้แก่ปุถุชนอยู่นั่นเอง. บุคคลผู้ฆ่าพระอริยบุคคลที่เหลือ (โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี) ไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนักเหมือนอนันตริยกรรมทีเดียว.

พึงทราบวินิจฉัยในอนันตริยกรรมข้อโลหิตุปบาท ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่าบุคคลผู้เป็นข้าศึก จะตัดพระจัมมะ (หนัง) ในพระวรกายที่ยังไม่แตกของพระตถาคตให้พระโลหิตไหลออกไม่ได้. เว้นแต่พระโลหิตจะคั่งค้างอยู่ในที่หนึ่งภายในพระวรกายเท่านั้น. สะเก็ดหินที่กะเทาะจากก้อนหินที่พระเทวทัตยกทุ่มไปกระทบปลายพระบาทของพระตถาคต. พระบาทเหมือนถูกฟันด้วยขวาน ได้มีโลหิตคั่งอยู่ข้างในเท่านั้น. กรรมของพระเทวทัตผู้กระทำอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 154

ชีวกตัดพระจัมมะด้วยศัสตราตามความชอบพระทัยของพระตถาคต นำโลหิตเสียออกจากที่นั้น ได้กระทำให้ทรงผาสุก. กรรมของหมอชีวกผู้กระทำอย่างนั้น เป็นบุญกรรมโดยแท้.

ถามว่า เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว คนเหล่าใดทำลายพระเจดีย์ ตัดต้นโพธิ์ เหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรจะมีแก่บุคคลเหล่านั้น.

ตอบว่า กรรมนั้นเป็นกรรมหนักเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม. แต่กิ่งโพธิ์ที่เบียดสถูปหรือพระปฏิมาที่มีพระธาตุ (บรรจุ) จะตัดเสียก็ควร. แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้น ถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเสีย. เพราะพระเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุ สำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริโภค. จะตัดรากโพธิ์ที่ไปทำลายเจดีย์วัตถุออกไปเสียก็ควร. แต่กิ่งโพธิ์ที่เบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อจะรักษาเรือนโพธิ์ไม่ได้. เพราะเรือนโพธิ์มีไว้เพื่อประโยชน์แก่ต้นโพธิ์ (แต่) ต้นโพธิ์หามีไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือนโพธิ์ไม่. แม้ในเรือนเก็บอาสนะ (พระแท่น) ก็นัยนี้เหมือนกัน. จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อรักษาเรือนอาสนะ (พระแท่น) ที่เขาบรรจุพระธาตุก็ควร. เพื่อบำรุงต้นโพธิ์ จะตัดกิ่งที่แย่งโอชะ (คืออาหาร) หรือกิ่งผุเสีย ก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็มีเหมือนดังปรนนิบัติพระสรีระพระพุทธเจ้าฉะนั้น.

ในสังฆเภท การทำลายสงฆ์ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมามิได้ประชุมกัน เมื่อภิกษุผู้ซึ่งสงฆ์ทำการชี้แจง ชี้แจงการสวดประกาศและการให้จับสลากแล้ว ยังพาบริษัทส่วนหนึ่งแยกไปทำสังฆกรรม หรือสวดปาติโมกข์ต่างหาก ชื่อว่าสังฆเภทด้วย เป็นอนันตริยกรรมด้วย. แต่เมื่อภิกษุกระทำด้วยความสำคัญว่าจะสมัครสมาน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 155

กัน (หรือ) ด้วยความสำคัญว่าทำถูก ก็เป็นเพียงการแตกกันเท่านั้น ยังไม่เป็นอนันตริยกรรม. ทำในบริษัทที่หย่อนกว่า ๙ รูปก็เหมือนกัน (คือเป็นการแตกกันแต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม). โดยกำหนดภิกษุจำนวน ๙ รูป เป็นอย่างต่ำสุด ในหมู่ภิกษุ ๙ รูป ภิกษุใดทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมย่อมมีแก่ภิกษุนั้น. กรรมของภิกษุพวกอธรรมวาทีผู้ปฏิบัติตามภิกษุนั้น เป็นกรรมมีโทษมาก. สำหรับภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ. ในการทำสังฆเภทสำหรับภิกษุ ๙ รูปนั้น มีพระสูตรอ้างอิงดังนี้ว่า ดูก่อน อุบาลี ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป (อีก) ฝ่ายหนึ่งก็มี ๔ รูป รูปที่ ๙ สวด ประกาศให้จับสลากโดยกล่าวว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาสลากอันนี้ จงชอบใจสลาก (๑) นี้แล. ดูก่อนอุบาลี สังฆราชี (ความร้าวรานแห่งพระสงฆ์) ด้วย สังฆเภท (ความแตกแห่งสงฆ์) ด้วย ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ก็ในกรรม ๕ อย่างนี้ สังฆเภทเป็นวจีกรรม กรรมที่เหลือเป็นกายกรรม. ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม ด้วยประการดังนี้.

บทว่า ทฺวารโต มีอธิบายว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล ย่อมตั้งขึ้นทางกายทวารบ้าง ทางวจีทวารบ้าง. ในเรื่องที่ว่าด้วยทวารนี้ กรรม ๔ ประการข้างต้น แม้จะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค (คือประโยคสั่งบังคับ) และวิชชามยประโยค (คือประโยคที่สำเร็จด้วยวิชาเวทมนตร์) ก็ทำกายทวารให้บริบูรณ์ได้เหมือนกัน. สังฆเภท แม้จะตั้งขึ้นทางกายทวารของภิกษุผู้ทำการยกมือ ก็ทำให้วจีทวารบริบูรณ์ได้เหมือนกัน. ในเรื่องนี้ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวาร ด้วยประการดังนี้.


(๑) ม. อิทํ (สลากํ) โรเจถ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 156

บทว่า กปฺปฏฺิติยโต มีอธิบายว่า ก็ในเรื่องนี้ สังฆเภทเป็นบาปตั้งอยู่ชั่วกัป. ทำสังฆเภทใน (ตอนที่) กัปยังตั้งอยู่ หรือในตอนระหว่างกลางกัป ก็พ้นบาปต่อเมื่อกัปพินาศนั่นแหละ. ก็ถ้าว่าพรุ่งนี้ กัปจักพินาศไซร้ ทำสังฆเภทวันนี้ พรุ่งนี้ก็พ้น จะไหม้อยู่ในนรกวันเดียวเท่านั้น. แต่การกระทำอย่างนี้ ไม่มี. กรรม ๔ ประการที่เหลือเป็นอนันตริยกรรมเท่านั้น ไม่เป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัป. พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยความเป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัปในเรื่องนี้ ด้วยประการดังนี้.

บทว่า ปากโต มีอธิบายว่า ก็บุคคลใดกระทำกรรมแม้ทั้ง ๕ ประการนี้ สังฆเภทเท่านั้นย่อมให้ผลแก่บุคคลนั้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ กรรมที่เหลือย่อมนับว่าเป็นกรรมที่มี (ทำ) แล้ว แต่วิบากของกรรมยังไม่มี ดังนี้ เป็นต้น. เมื่อสังฆเภทไม่มี โลหิตุปบาท (คือการทำพระโลหิตให้ห้อ) ย่อมให้ผล เมื่อโลหิตุปบาทนั้นไม่มี อรหันตฆาต (คือการฆ่าพระอรหันต์) ย่อมให้ผล เมื่ออรหันตฆาตนั้นไม่มี ถ้าบิดาเป็นผู้มีศีล มารดาทุศีล หรือไม่มีศีลอย่างบิดานั้น ปิตุฆาต (คือการฆ่าบิดา) ย่อมให้ผลด้วยอำนาจปฏิสนธิ. ถ้ามารดาเป็นผู้มีศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล. แม้เมื่อบิดามารดาทั้งสองท่าน เป็นผู้เสมอกันโดยศีล หรือโดยทุศีล มาตุฆาตเท่านั้นย่อมให้ผลด้วยอำนาจปฏิสนธิ เพราะมารดาเป็นผู้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทั้งเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย. ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยวิบากคือผลในเรื่องนี้ ด้วยประการดังนี้

บทว่า สาธารณาทีหิ ความว่า กรรม ๔ ประการเบื้องต้น เป็นกรรมทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งปวง ส่วนสังฆเภทย่อมเป็นเฉพาะแก่ภิกษุผู้มีประการดังตรัสไว้ ย่อมไม่เป็นแก่คนอื่น โดยพระบาลีว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 157

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้แล สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ มีธรรมเครื่องอยู่ร่วมอันเสมอกัน อยู่ในสีมาเสมอกัน ย่อมทำสังฆเภทได้ เพราะฉะนั้น สังฆเภทจึงเป็นกรรมไม่ทั่วไป. ด้วยอาทิศัพท์ (คือศัพท์ว่า เป็นต้น) ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สหรคตด้วยทุกขเวทนา และสัมปยุตด้วยโทสะ โมหะ. พึงทราบวินิจฉัยโดยเป็นกรรมทั่วไปเป็นต้นในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อญฺํ สตฺถารํ ความว่า บุคคลคิดว่า พระศาสดาของเรานี้ไม่สามารถทำกิจของพระศาสดาได้ จึงถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นศาสดาของเรา ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

บทว่า เอกิสฺสาย โลกธาตุยา คือ ในหมื่นโลกธาตุ. ก็เขตมี ๓ คือ ชาติเขต ๑ อาณาเขต ๑ วิสัยเขต ๑. ในเขตทั้ง ๓ นั้น หมื่นโลกธาตุ ชื่อว่า ชาติเขต. ด้วยว่า หมื่นโลกธาตุนั้นไหวในเวลาที่พระตถาคตเสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เสด็จออก (ผนวช) ตรัสรู้ ประกาศพระธรรมจักร ปลงพระชนมายุสังขาร และปรินิพพาน. แสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่า อาณาเขต. เพราะว่าอาณาเขตของอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และรัตนปริตร เป็นต้น ย่อมแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาลนี้. ส่วนวิสัยเขตไม่มีปริมาณ (คือนับไม่ได้). ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าธรรมมิใช่วิสัยหามีไม่ เพราะพระบาลีว่า พระญาณ (ความรู้) มีประมาณเพียงใด ข้อที่จะพึงรู้ก็มีประมาณเพียงนั้น ข้อที่จะพึงรู้มีประมาณเพียงใด พระญาณก็มีประมาณเพียงนั้น. ข้อที่จะพึงรู้มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณก็มีข้อที่จะพึงรู้เป็นที่สุด ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 158

ก็ในเขตทั้ง ๓ นี้ ไม่มีพระสูตรที่ว่า เว้นจักรวาลนี้เสีย พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น แต่มีพระสูตรว่า ไม่เสด็จอุบัติ. ก็พระปิฎกมี ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก. สังคีติ (คือการสังคายนา) ก็มี ๓ ครั้ง คือ สังคีติของพระมหากัสสปเถระ ๑ สังคีติของพระยสเถระ ๑ สังคีติของพระโมคคัลลีบุตรเถระ ๑. ในพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกที่ยกขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้งนี้ ไม่มีพระสูตรที่ว่า พ้นจักรวาลนี้ไป พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติในจักรวาลอื่น แต่มีพระสูตรอยู่ว่า ไม่ทรงอุบัติในจักรวาลอื่น.

บทว่า อปุพฺพํ อจริมํ ได้แก่ ในกาลไม่ก่อนไม่หลังกัน ท่านอธิบายว่า ไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน คือ ทรงอุบัติก่อนกันหรือหลังกัน. ในคำที่ว่า ไม่ก่อนไม่หลังกันนั้น ไม่พึงทราบว่า ในกาลก่อน คือ ตั้งแต่เวลาที่ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ด้วยตั้งพระทัยว่า ไม่บรรลุพระโพธิญาณจักไม่ลุกขึ้น จนถึงทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา. ก็ในการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ท่านกำหนดเขตด้วยหมื่นจักรวาลไหวเท่านั้น ก็เป็นอันห้ามการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในระหว่าง. ไม่พึงทราบว่า ในกาลภายหลัง คือ ตั้งแต่ปรินิพพานจนถึงพระธาตุแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังทรงดำรงอยู่ เพราะเมื่อพระธาตุยังคงดำรงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่ายังทรงดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้น ในระหว่างกาลนี้ ย่อมเป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. แต่เมื่อพระธาตุปรินิพพานแล้ว ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 159

ไม่ก่อนไม่หลังกัน (คือพร้อมกัน). ตอบว่า เพราะอุบัติพร้อมกันไม่เป็นเหตุอัศจรรย์. เพราะว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยะมนุษย์อัศจรรย์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอกเป็นมนุษย์อัศจรรย์ย่อมอุบัติขึ้น บุคคลเอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ก็ถ้าพระพุทธเจ้ามี ๒ พระองค์ มี ๔ พระองค์ มี ๘ พระองค์ หรือ ๑๖ พระองค์ พึงอุบัติพร้อมกันไซร้ ก็พึงเป็นผู้ไม่น่าอัศจรรย์. แม้มีเจดีย์ ๒ เจดีย์ในวิหารเดียวกัน ลาภสักการะย่อมไม่มโหฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็พึงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน.

เมื่อว่าโดยเทศนา ก็ไม่แปลกกันดังนี้:- พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงแสดงธรรมใดมีสติปัฏฐานเป็นต้น พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแม้อุบัติขึ้น ก็จะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์. แต่เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้การแสดงธรรมก็เป็นของน่าอัศจรรย์.

เมื่อว่าโดยไม่มีการโต้แย้งกัน อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลายพระองค์อุบัติขึ้น พวกพุทธมามกะก็จะพึงวิวาทกันว่า พระพุทธเจ้าของพวกเราน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเรามีพระสุรเสียงไพเราะ มีลาภ มีบุญ ดังนี้ เหมือนพวกศิษย์ของพวกอาจารย์เป็นอันมาก ฉะนั้น แม้เพราะเหตุนั้น จึงไม่อุบัติขึ้นอย่างนั้น.

อีกประการหนึ่ง เหตุข้อนี้พระนาคเสนถูกพระเจ้ามิลินท์ถาม ก็ได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว. จริงอยู่ ในมิลินทปัญหานั้น ท่านกล่าวไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ท่านพระนาคเสนเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 160

ได้ภาษิตข้อนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพึงอุบัติไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกัน ๒ พระองค์ ในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อที่ว่านั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ท่านพระนาคเสนเจ้าข้า ก็พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ เมื่อจะทรงแสดง ก็ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เมื่อจะตรัส ก็ตรัสอริยสัจะ ๔ เมื่อจะทรงให้ศึกษา ก็ทรงให้ศึกษาสิกขา ๓ และเมื่อจะทรงพร่ำสอน ก็ทรงพร่ำสอนข้อปฏิบัติ คือ ความไม่ประมาท. ท่านพระนาคเสนเจ้าข้า ถ้าว่า พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ มีอุเทศเดียวกัน มีกถาเดียวกัน มีการพร่ำสอนอย่างเดียวกันไซร้ เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่อุบัติในสมัยเดียวกัน. ด้วยการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์เดียว โลกนี้ยังเกิดแสงสว่างถึงเพียงนั้นแล้ว ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้าแม้องค์ที่ ๒ โลกนี้ก็จะพึงเกิดแสงสว่างมีประมาณอย่างยิ่ง ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์. อนึ่ง พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ เมื่อจะทรงสั่งสอน ก็ทรงสั่งสอนสะดวก และเมื่อจะทรงพร่ำสอน ก็ทรงพร่ำสอนสะดวก. ในเรื่องที่พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ไม่อุบัติพร้อมกันนั้น ท่านโปรดแสดงเหตุให้ข้าพเจ้าหมดสงสัยทีเถิด.

พระนาคเสนตอบว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ทรงพระพุทธเจ้าไว้ได้เพียงพระองค์เดียว ทรงพระคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าพระพุทธเจ้าจะพึงเสด็จอุบัติเป็นองค์ที่ ๒ หมื่นโลกธาตุนี้ก็จะทรงไว้ไม่ได้ พึงสั่นสะเทือนทรุดเซซวนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไป ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้. มหาบพิตร เรือรับคนได้คนเดียว เมื่อคนๆ เดียวขึ้น เรือจะเพียบเสมอน้ำ ครั้นคนที่สองซึ่งเป็นคนมีอายุ ผิวพรรณ วัย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 161

ขนาดประมาณความผอมความอ้วน มีอวัยวะทุกส่วนบริบูรณ์มาถึง เขาพึงขึ้นเรือลำนั้น มหาบพิตร เรือลำนั้นจะรองรับคนทั้งสองได้บ้างไหม. ไม่ได้เลยท่าน เรือจะโคลงเคลงน้อมเอียงตะแคงส่ายล่มจมไป ทรงลำอยู่ไม่ได้ พึงจมลงไปในน้ำ ฉันใด มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงพระคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่สองอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้จะดำรงอยู่ไม่ได้ จะพึงสั่นสะเทือนโน้มเอียงเอนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไป ตั้งอยู่ไม่ได้. มหาบพิตร หรือเปรียบเหมือนบุรุษพึงบริโภคอาหารพอแก่ความต้องการจนล้นปิดคอหอย เขาเอิบอิ่มจากการบริโภคนั้นเต็มที่ไม่ขาดระยะ ทำให้เกียจคร้าน ก้มตัวไม่ลงเหมือนท่อนไม้ ยังบริโภคอาหารประมาณเท่านั้นซ้ำเข้าไป มหาบพิตร คนผู้นั้นจะพึงมีความสุขบ้างหรือหนอ. ไม่เป็นสุข เลยท่าน เขาบริโภคอีกครั้งเท่านั้นก็จะตาย อุปมานั้นฉันใด มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รองรับพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒ จะอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้จะธำรงอยู่ไม่ได้ จะสั่นสะเทือนทรุดเซซวนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไปถึงตั้งอยู่ไม่ได้. ท่านพระนาคเสน แผ่นดินไหวเพราะความหนักของธรรมอันยิ่งหรืออย่างไร? ถวายพระพร มหาบพิตร ในที่นี้มีเกวียน ๒ เล่ม เต็มด้วยรัตนะจนเสมอขอบเกวียน เขาเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่งมาเติมใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะรองรับรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มได้บ้างหรือหนอ. ไม่ได้เลยท่าน แม้ดุมของเกวียนนั้นก็จะแตก แม้กำของเกวียนนั้นก็จะทำลาย แม้กงของเกวียนนั้นก็จะหักลงไป แม้เพลาของ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 162

เกวียนนั้นก็จะแตกไป. มหาบพิตร เกวียนพังเพราะความหนักของรัตนะมากเกินไปหรือหนอ. ใช่สิท่าน. มหาบพิตร แผ่นดินสั่นสะเทือนก็เพราะความหนักของธรรมอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกันแล.

มหาบพิตร อนึ่งเล่า เหตุนี้ท่านประมวลมาก็เพื่อแสดงพระพละของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดสดับเหตุแม้อย่างอื่นอีก อันเป็นเหตุทำให้พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ไม่อุบัติในสมัยเดียวกัน มหาบพิตร ผิว่าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติในขณะเดียวกันไซร้ บริษัทก็จะพึงวิวาทกัน จะพึงเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา มหาบพิตร ความวิวาทย่อมเกิดแก่บริษัทของพวกอำมาตย์ผู้เข้มแข็ง ๒ พวก ย่อมเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า อำมาตย์ของพวกท่าน อำมาตย์ของพวกเรา ดังนี้ ฉันใด มหาบพิตร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแหละ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงอุบัติในคราวเดียวกัน ๒ พระองค์ไซร้ บริษัทก็จะพึงเกิดความวิวาทกัน จะพึงเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้. ขอพระองค์โปรดทรงสดับเหตุข้อแรกอันเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติในคราวเดียวกัน ๒ พระองค์.

ขอพระองค์โปรดทรงสดับเหตุแม้ข้ออื่นยิ่งขึ้นไป อันเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ไม่อุบัติในคราวเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติในคราวเดียวกัน คำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นเอกอัครบุคคลก็จะพึงผิดไป คำที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเจริญที่สุด ฯลฯ พระพุทธเจ้าทรงประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้าทรงสูงสุด พระพุทธเจ้าทรงล้ำเลิศ พระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 163

ไม่มีคนเปรียบ พระพุทธเจ้าไม่มีคนเทียบ พระพุทธเจ้าไม่มีบุคคลเทียมถึง ดังนี้นั้นก็จะพึงผิดไป. มหาบพิตร ขอพระองค์โปรดทรงทรามเหตุอันเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่ทรงอุบัติในคราวเดียวกันแม้นี้แล โดยใจความเถิด.

มหาบพิตร ก็อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลกนั้น เป็นสภาพปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร. เพราะคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุใหญ่. มหาบพิตร แม้สิ่งอื่นใดชื่อว่าเป็นของใหญ่ สิ่งนั้นก็มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น. มหาบพิตร แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั้นก็มีผืนเดียว สาครใหญ่ก็มีแห่งเดียว ขุนเขาสิเนรุใหญ่ก็มีลูกเดียว อากาศใหญ่ก็มีห้วงเดียว พระพรหมใหญ่มีองค์เดียว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าใหญ่มีพระองค์เดียว พระตถาคตอรหันตสัมมาพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้นอุบัติในที่ใด ในที่นั้นคนพวกอื่นย่อมไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น อุบัติขึ้นในโลก. ท่านพระนาคเสน ปัญหาพร้อมทั้งเหตุอันเป็นข้ออุปมา ท่านกล่าวดีแล้วละ.

บทว่า เอติสฺสาย โลกธาตุยา คือ ในจักรวาลเดียว ในตอนต้นท่านถือเอาหมื่นจักรวาลด้วยคำ (ว่าโลกธาตุหนึ่ง) นี้. แม้หมื่นจักรวาลนั้น ก็ควรกำหนดเอาเพียงจักรวาลเดียวเท่านั้น. ด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติ ย่อมอุบัติในจักรวาลนี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่อุบัติไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่อุบัติในจักรวาลอื่นๆ นอกจากจักรวาลนี้ เพราะเหตุนั้น สถานที่อุบัติอื่นๆ ย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาด (คือจะอุบัติที่อื่นไม่ได้).

จบอรรถกถาวรรคที่ ๑