ไม่ควรหมกมุ่นหรือ in กับการเมืองมากเกินไป
จากข่าว เรื่องยุบพรรคการเมือง ถ้าเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม และทุกสิ่งทุกอย่างเกิดดับตามเหตุปัจจัยจริงๆ ไม่ยกเว้นอะไรทั้งสิ้น จะทำให้ลดการสนใจเรื่องราวที่ไม่สามารถทำให้เข้าใจพระธรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงต้องบำเพ็ญพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป จึงทรงตรัสรู้ความจริง ที่ไม่มีใครสามารถรู้เองได้ นอกจากค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้ถูกเข้าใจถูก สิ่งที่มีจริง ตามที่ทรงตรัสรู้
โรงละครของโลก
เมื่อลืมตาตื่นขึ้น เราเห็นโรงละครของโลกทางตามีอารมณ์เป็นตัวละคร แล้วก็กลับเข้าโรง นั่นคือการกลับเป็นภวังค์แล้วตัวละครหรืออารมณ์อื่นก็ออกมา สลับกันอย่างนี้เรื่อยไป เมื่อเราหลับตาลง โรงละครอย่างนี้จะไม่มีปรากฎ นั่นคือขณะที่เป็นภวังค์ เมื่อพิจารณาอย่างนี้ เราจะละหรือจะติดในตัวละครนั้น นี่คือโลกทางตา ส่วนทางอื่นก็โดยนัยเดียวกัน
ธรรมเตือนใจ : วันที่ 05- 06- 2547
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง สาระของชีวิต
เรื่องสิ่งที่เป็นสาระและไม่เป็นสาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่153
ข้อความบางตอนจาก เรื่องสญชัย
"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง ความคิดที่เป็นสาระ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
ข้อความบางตอนจาก จินตสูตร
[๑๗๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เรื่อง สัตว์โลกย่อมน้อมไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16 ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา ฆฏิการสูตร
บทว่า เอวสมฺม ความว่า แม้ในปัจจุบันนี้ พวกมนุษย์ มีใครชวนว่า พวกเราไปไหว้พระเจดีย์ ไปฟังธรรมกันเถอะ จะไม่กระทำความอุตสาหะ แต่ใครๆ ชวนว่าพวกเราไปดูฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น กันเถอะ ดังนี้ จะรับคำด้วยการชักชวนเพียงครั้งเดียวฉันใด
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง อย่าล่วงเลยขณะที่เป็นสาระ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 453
ข้อความบางตอนจกา อักขณสูตร
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดงสัทธรรม ๑ ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากใน โลกชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดในนรก ก็ย่อมเศร้าโศก
ในวันหนึ่งเราได้ฟังธรรมสักกี่นาที แล้วที่ไม่ได้ฟังธรรมแต่เป็นเรื่องอื่นๆ มากมายเกือบตลอดทั้งวันเป็นอวิชชา เมื่อสะสมอวิชชามากมาย แล้วสติจะเกิดได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เราต้องฟังมาก พิจารณามาก เพราะว่าอาหารของสติก็คือ การฟังธรรมให้เข้าใจ และการเจริญกุศลทุกประการค่ะ
โลกเหมือนป่าครับ มีทั้งพืชที่เป็นพิษ สัตว์ร้ายก็มาก ถ้าก้าวเข้าไป ก็เหมือนหุบเหว ยากที่จะไต่ขึ้นจากเหวนั้นครับ