สมาธิในฌาณจิตเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นถูกไหมครับ

 
ทรงศักดิ์
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38620
อ่าน  410

๑. ผู้ได้ฌาณแล้วใช้ไปในทางผิด ในขณะที่เกิดฌาณแสดงฤิทธิ์ขณะนั้นยังเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ต.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมาธิ เป็นความตั้งมั่น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสมาธิเกิดร่วมด้วย สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง มีความเสมอกันกับจิตที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปได้ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ตามประเภทของจิตนั้นๆ มิจฉาสมาธิ เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นผิด เกิดร่วมกับอกุศลจิต ขณะที่อกุศลจิตเกิดจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามไม่ได้ ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี สัมมาสมาธิ เป็นชื่อของเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตที่เป็นโสภณจิต คือจิตที่ดีงาม สัมมาสมาธิไม่ได้อยู่ที่คำที่ใช้ เพราะว่าเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ถ้าเกิดกับอกุศลจิต ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเกิดกับกุศลจิต ก็เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ที่ว่าจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ถ้าจิตเป็นกุศล แม้ไม่ใช้คำอะไรเลย ก็เป็นสัมมาสมาธิ ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว สัมมาสมาธิจะใช้ในกุศลที่เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา เช่น สัมมาสมาธิที่เกิดกับการอบรมสติปัฏฐานหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสัมมาสมาธิ ในสติปัฏฐาน ก็จะเป็น ขณิกสมาธิ เพียงชั่วขณะที่เป็นไปทางกุศลและอบรมปัญญา สัมมาสมาธิที่เกิดในขณะเป็นอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นสัมมาสมาธิโดยตรงอยู่แล้ว และการอบรมเจริญสมถภาวนาก็เป็นสัมมาสมาธิ ที่น่าพิจารณาคือ ถ้ามีความติดข้องในมิจฉาสมาธิ ติดข้องในความรู้สึกที่เป็นสุข มีการไปนั่งไปทำอย่างนั้น ไม่ใช่หนทางที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรม และปัญญาเลย ถ้าไม่ถอยกลับมาตั้งต้นที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ ตั้งแต่ในขณะนี้แล้ว ก็ยากที่จะพ้นไปจากมิจฉาสมาธิดังกล่าวนั้น เพราะการปฏิบัติผิด มีแต่จะทำให้ความเห็นผิด ความไม่รู้ เพิ่มมากขึ้น ครับ ในสมัยพุทธกาลพระอริยสาวกบางท่าน ก่อนที่จะได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ก็เคยปฏิบัติผิดมาก่อน แต่เพราะเหตุที่ดีที่ท่านได้สะสมมา จึงเป็นเหตุให้ท่านได้เข้าเฝ้าและฟังพระธรรมจากพระองค์ ผลจากการฟังพระธรรมซึ่งเป็นความจริง นั้น ทำให้ท่านได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ

จากคำถาม จึงสามารถกล่าวได้ว่า ขณะที่เป็นฌาน แสดงฤทธิ์ได้ ขณะนั้นเป็นสัมมาสมาธิ ในขั้น สมถภาวนา แต่ ขณะที่มีจิตในทางที่ไม่ดี ขณะนั้น เป็นมิจฉาสมาธิ จึงคนละขณะกันครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 21 ต.ค. 2564

๒. พระเทวทัตท่านมีความเห็นผิดแต่ยังฌาณให้เกิดได้ แสดงว่าอาศัยความชำนาญที่มีอยู่เดิม แต่ถ้ายังคิดอกุศลบ่อยๆ ฌาณคงจะเสื่อมในที่สุดเนื่องจากการเจริญฌาณอย่างน้อยก็ต้องมีความเห็นที่เป็นกุศลเห็นโทษของการติดข้องในรูป เสียงและอื่นๆ

ความเข้าใจเช่นนี้ จะถูกหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 21 ต.ค. 2564

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

พระเทวทัต มีความเห็นผิดที่ยังไม่ได้ดับ แต่ สะสมความเห็นถูกในการเจริญสมถภาวนามา ความเห็นถูกในระดับสมถภาวนา เป็นปัจจัยให้เกิดฌาน ซึ่งมีปัญญาเห็นโทษของการติดข้องในรูป...อื่นๆ ถูกต้องครับ แต่ไม่ใช่ อกุศล คือความเห็นผิดทำให้เกิดฌาน ครับ

ส่วนฌานเสื่อม เพราะคิดอกุศล ถูกต้องครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 21 ต.ค. 2564

เว็บฯนี้เป็นที่เรียนรู้ธรรมที่ดีมาก

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 ต.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์คือความเข้าใจถูกเห็นถูก ว่า กว่าที่ฌานจิตจะเกิดขึ้น ก็ต้องเป็นผู้อบรมเจริญความสงบของจิต คือ สมถภาวนา ซึ่งจะขาดปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกไม่ได้ มีปัญญาที่รู้ความต่างกันของกุศลกับอกุศล จึงสามารถอบรมเหตุที่จะทำให้จิตสงบระงับอกุศลได้ และเมื่อฌานจิตเกิดขึ้น เป็นกุศลอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่ากามาวจรกุศล สามารถข่มระงับอกุศลได้ ในขณะที่ฌานจิตเกิดขึ้น แต่ยังไม่สามารถดับกิเลสได้ เพียงข่มไว้ได้เท่านั้น กุศล ไม่ว่าจะเป็นในระดับใด ก็ต้องเป็น กุศล ไม่ใช่ อกุศล นี้คือความเป็นจริง พอฌานจิตไม่ได้เกิด อกุศลที่ยังไม่ได้ดับก็เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น พระเทวทัต เพียงแค่คิดที่จะเป็นใหญ่แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้นแหละ ฌานจิต ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้เสื่อม ด้วยอำนาจของอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ต.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ