พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อวกุชชิตสูตร ว่าด้วยผู้มีปัญญา ๓ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38651
อ่าน  579

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 98

ปฐมปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๓

๑๐. อวกุชชิตสูตร

ว่าด้วยผู้มีปัญญา ๓ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 98

๑๐. อวกุชชิตสูตร

ว่าด้วยผู้มีปัญญา ๓ จำพวก

[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓ คือใคร คือ บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ บุคคลปัญญาดังหน้าตัก บุคคลปัญญามาก

บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ... ท่ามกลาง ... ที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้นเลย แม้ลุกไปจากที่นั่งนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึง ... เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ น้ำที่บุคคลราดลงไปบนหม้อนั้น ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฯลฯ ก็ไม่ใส่ใจถึง ... ฉันนั้น นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ

ก็บุคคลปัญญาดังหน้าตักเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้งเบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ลุกจากที่นั่งนั้นแล้วไม่ใส่ใจ ... เปรียบเหมือนของเคี้ยวต่างๆ วางรายอยู่บนหน้าตักของคน เช่น งา ข้าวสาร แป้ง พุทรา คนนั้นเผลอตัวลุกขึ้นจากที่นั่งนั้น (ของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 99

เคี้ยวนั้น) ก็ตกเกลื่อนไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฯลฯ ลุกจากที่นั่งนั้นแล้วไม่ใส่ใจ ... ฉันนั้น นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหน้าตัก

ก็แล บุคคลปัญญามากเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฯลฯ เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้งเบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น แม้ลุกไปจากที่นั่งนั้นแล้ว ก็ใส่ใจไว้ทั้งเบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น เปรียบเหมือนหม้อหงาย น้ำที่บุคคลเทลงไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่ไม่ไหลไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฯลฯ ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ฉันนั้น นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญามาก

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.

คนปัญญาดังหม้อคว่ำ โง่ ทึบ แม้หากไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนชนิดนั้นก็ไม่อาจเรียนเอาเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง (ธรรม) กถาได้ เพราะปัญญาของเขาไม่มี.

คนปัญญาดังหน้าตัก เรากล่าวว่า ดีกว่าคนปัญญาดังหม้อคว่ำนั่น ถ้าแม้ไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนเช่นนั้น นั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 100

(ธรรม) กถานั้น ลุกไปแล้วไม่รู้ เพราะความจำของเขาฟั่นเฟือน.

ส่วนบุคคลปัญญามาก เรากล่าวว่า ดีกว่าคนปัญญาดังหน้าตักนั่น ถ้าแม้ไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ คนเช่นนั้น นั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถา แล้วทรงจำไว้ได้ เป็นคนมีความคิดประเสริฐ มีใจไม่เคลือบแคลง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงกระทำที่สุดทุกข์ได้.

จบอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรคที่ ๓

อรรถกถาอวกุชชิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อวกุชฺชปญฺโญฺ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับหม้อคว่ำปากลง. บทว่า อุจฺฉงฺคปญฺโ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับตัก. บทว่า ปุถุปญฺโ ได้แก่ มีปัญญากว้างขวาง.

ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 101

ตั้งต้น (เทศนา) ชื่อว่าเบื้องต้น ท่ามกลางแห่งกถา ชื่อว่าท่ามกลาง ตอนจบ ชื่อว่าที่สุด. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อกล่าวธรรมแก่บุคคลนั้นอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวทำให้งาม คือ ให้เจริญ ได้แก่ ไม่มีโทษเลย ทั้งในวาระเริ่มต้น ทั้งในวาระท่ามกลาง ทั้งในวาระที่สุด. อนึ่ง ในสูตรนี้มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งเทศนา และมีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งสาสนธรรม.

บรรดาเทศนาและสาสนธรรมทั้งสองนั้น (จะกล่าว) เทศนาก่อน บทแรกของคาถา ๔ บทเป็นเบื้องต้น บททั้งสองเป็นท่ามกลาง (และ) บทสุดท้ายเป็นที่สุด

สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว นิทานเป็นเบื้องต้น อนุสนธิเป็นท่ามกลาง ตอนจบพระสูตรที่ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.

สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิหลายอนุสนธิ อนุสนธิที่ ๑ เป็นเบื้องต้น มากกว่านั้นไป หนึ่งหรือหลายอนุสนธิเป็นท่ามกลาง อนุสนธิสุดท้ายเป็นที่สุด. นี้เป็นนัยแห่งเทศนาก่อน.

ส่วนสาสนธรรม ศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง วิปัสสนาเป็นทีสุด. อีกอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาเป็นท่ามกลาง มรรคเป็นที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาเป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง ผลเป็นที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง มรรคเป็นเบื้องต้น ผลเป็นท่ามกลาง นิพพานเป็นที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทำธรรมให้เป็นคู่ๆ กัน ศีลกับสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนากับมรรคเป็นท่ามกลาง ผลกับนิพพานเป็นที่สุด.

บทว่า สาตฺถํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมให้มีประโยชน์. บทว่า สพฺยญฺชนํ ความว่า แสดงธรรมให้อักษรบริบูรณ์. บทว่า เกวลปริปุณฺณํ ความว่า แสดงธรรมให้บริบูรณ์ทั้งหมด คือ ไม่ขาด. บทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 102

ปริสุทฺธํ ความว่า แสดงธรรมให้บริสุทธิ์ คือ ไม่ให้ยุ่งเหยิง ไม่มีเงื่อนงำ. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสนฺติ ความว่า และเมื่อแสดงอย่างนั้น ชื่อว่าประกาศอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสงเคราะห์ด้วยไตรสิกขาอันเป็นจริยาที่ประเสริฐที่สุด. บทว่า เนวาทึ มนสิกโรติ ความว่า เริ่มต้นเทศน์ก็ไม่ใส่ใจ.

บทว่า กุมฺโภ แปลว่า หม้อ. บทว่า นิกุชฺโช คือ วางคว่ำปากลง. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีปัญญาต่ำ พึงเห็นเหมือนหม้อคว่ำปากลง. เวลาที่ได้ (ฟัง) พระธรรมเทศนา พึงเห็นเหมือนเวลาที่เทน้ำ (บนก้นหม้อ). เวลาที่บุคคลนั่งอยู่บนอาสนะนั้น ยังไม่สามารถเรียนเอาได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปหมด. เวลาที่บุคคลผู้นั้นลุกขึ้นแล้วจำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ (บนก้นหม้อ). บทว่า อากิณฺณานิ แปลว่า ที่เก็บไว้. บทว่า สติสมฺโมสาย ปกิเรยฺย ความว่า (ของควรเคี้ยวนั้น) พึงตกเกลื่อนไป เพราะความเป็นผู้เผลอตัว.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีปัญญาดังตัก พึงเห็นเหมือนตัก. พระพุทธพจน์มีประการต่างๆ พึงเห็นเหมือนของกินชนิดต่างๆ. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุคคลนั่งเคี้ยวของเคี้ยวชนิดต่างๆ (ที่อยู่) บนตัก. เวลาที่บุคคลลุกจากอาสนะนั้นมาแล้วจำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุคคลลุกขึ้นทำของหกเรี่ยราด เพราะเผลอตัว.

บทว่า อุกฺกุชฺโช ได้แก่ (หม้อ) วางหงายปากขึ้น. บทว่า สณฺาติ คือ น้ำย่อมขังอยู่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีปัญญามาก พึงเห็นเหมือนหม้อที่วางหงายปากขึ้น. เวลาที่ได้ฟังเทศนา พึงเห็นเหมือนเวลาที่เทน้ำลง. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำขังอยู่. เวลาที่บุคคลลุกขึ้นเดินไป ยังจำได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไม่ไหลออกไป.

บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา. บทว่า อวิจกฺขโณ ได้แก่ ขาดปัญญาเครื่องจัดการ. บทว่า คนฺตา ได้แก่ มีการไปเป็นปกติ. บทว่า เสยฺโย เอเตน วุจฺจติ ความว่า (บุคคลผู้มีปัญญาดังตัก) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยอดเยี่ยมกว่าบุคคลนั้น (คือ คนปัญญาดังหม้อคว่ำ).

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือ บ่ฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด คือ พึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่ พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์).

จบอรรถกภาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรควรรณนาที่ ๓

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 104

รวมพระสูตรที่มีในปุคคลวรรคนี้ คือ

๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร ๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร ๕. วชิรสูตร ๖. เสวิตัพพสูตร ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร ๘. คูถภาณีสูตร ๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชิตสูตร และอรรถกถา.