พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สัมมุขีสูตร ว่าด้วยเหตุให้ประสบบุญมาก ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38663
อ่าน  465

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 191

ปฐมปัณณาสก์

จูฬวรรคที่ ๕

๑. สัมมุขีสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ประสบบุญมาก ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 191

จูฬวรรคที่ ๕

๑. สัมมุขีสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ประสบบุญมาก ๓ ประการ

[๔๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ ๓ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก วัตถุ ๓ คืออะไร คือ ศรัทธา ไทยธรรม และทักขิไณย เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ ๓ นี้แล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก.

จบสัมมุขีสูตรที่ ๑

จูฬวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาสัมมุขีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมุขีสูตรที่ ๑ แห่งจูฬวรรคที่ ๕ ดังต่อ ไปนี้:-

บทว่า สมฺมุขีภาวา ความว่า เพราะความพร้อมหน้า อธิบายว่า เพราะความมีอยู่. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมกลับได้. บทว่า สทฺธาย สมฺมุขีภาโว ความว่า เพราะถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีไทยธรรม (และ) ไม่มีบุคคลผู้เป็นปฏิคาหก กล่าวคือ พระทักขิไณยบุคคลแล้วไซร้ จะพึงกระทำบุญกรรมได้อย่างไร? แต่เพราะปัจจัย ๓ อย่างนั้นมีพร้อมหน้ากัน จึงสามารถ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 192

กระทำบุญกรรมได้ เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า สทฺธาย สมฺมุขีภาวา ดังนี้. และใน ๓ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง คือ ไทยธรรม ๑ ทักขิไณยบุคคล ๑ หาได้ง่าย แต่ศรัทธาหาได้ยาก. เพราะปุถุชนมีศรัทธาไม่มั่นคง แตกต่างกันไปตามบทตามบาท. ด้วยเหตุนั้นแล แม้พระอัครสาวกเช่นกับพระมหาโมคคัลลานะ ไม่อาจรับรองศรัทธานั้นได้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เรารับรองธรรมของท่านได้ ๒ อย่าง คือ โภคะ ๑ ชีวิต ๑ แต่ตัวท่านเองต้องรับรองศรัทธา ดังนี้.

จบอรรถกถาสัมมุขีสูตรที่ ๑