พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปัณฑิตสูตร ว่าด้วยสิ่งที่บัณฑิตบัญญัติไว้ ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38667
อ่าน  417

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 200

ปฐมปัณณาสก์

จูฬวรรคที่ ๕

๕. ปัณฑิตสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่บัณฑิตบัญญัติไว้ ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 200

๕. ปัณฑิตสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่บัณฑิตบัญญัติไว้ ๓ ประการ

[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ บัณฑิตได้บัญญัติไว้ สัตบุรุษได้บัญญัติไว้ ธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ ทาน ๑ บรรพชา ๑ มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๑ นี่แล ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตบัญญัติ สัปปุริสบัญญัติ ๓ ประการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 201

ทาน อหิงสา สัญญมะ ทมะ การบำรุงมารดาและบิดา เป็นข้อที่สัตบุรุษทั้งหลายตั้งขึ้นไว้ ข้อเหล่านี้เป็นฐานะแห่งสัตบุรุษผู้สงบระงับ เป็นพรหมจารี ซึ่งเป็นฐานะที่บัณฑิตพึงเสพ บัณฑิต (ผู้เสพฐานะเหล่านั้น) เป็นอริยะ ถึงพร้อมด้วยความเห็น ย่อมไปสู่โลกอันเกษม.

จบปัณฑิตสูตรที่ ๕

อรรถกถาปัณฑิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัณฑิตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปณฺฑิตปญฺตฺตานิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายบัญญัติไว้ คือ กล่าวไว้ ได้แก่ สรรเสริญแล้ว. บทว่า สปฺปุริสปญฺตฺตานิ ความว่า อันสัตบุรุษทั้งหลาย คือ มหาบุรุษทั้งหลาย บัญญัติไว้แล้ว คือ กล่าวไว้แล้ว ได้แก่ สรรเสริญแล้ว.

ทั้งกรุณา ทั้งธรรมที่เป็นเบื้องต้นของกรุณา ชื่อว่า อหิงสา. การสำรวมในศีล ชื่อว่า สังยมะ. การสำรวมอินทรีย์ หรือการฝึกตนด้วยอุโบสถ ชื่อว่า ทมะ. ส่วนในปุณโณวาทสูตร พระองค์ตรัสเรียกขันติว่า ทมะ. แม้ปัญญาที่ตรัสไว้ในอาฬวกสูตร ก็เหมาะสมในพระสูตรนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 202

การรักษา คุ้มครอง ปรนนิบัติมารดาบิดา ชื่อว่า การบำรุงมารดาบิดา. บทว่า สนฺตานํ ความว่า ในสูตรอื่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สัตบุรุษ แต่ในพระสูตรนี้ ทรงประสงค์เอาผู้บำรุงเลี้ยงมารดาบิดา. เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าสัตบุรุษ เพราะหมายความว่า สูงสุด ชื่อว่าพรหมจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติประเสริฐที่สุด. การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลายบัญญัติไว้แล้ว พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้ ดังพรรณนามานี้แล.

บทว่า สตํ เอตานิ านานิ ความว่า ข้อเหล่านี้เป็นฐานะ คือ เป็นเหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย. บุคคลผู้ทั้งประเสริฐ ทั้งถึงพร้อมด้วยทัศนะ (ความเห็น) เพราะเหตุ ๓ สถานเหล่านี้แหละ พึงทราบว่า เป็นอริยะและถึงพร้อมด้วยความเห็น ในพระสูตรนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่ใช่พระโสดาบัน.

อีกนัยหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบายแห่งพระคาถานี้ ด้วยสามารถแห่งการบำรุงมารดาบิดาอย่างนี้ว่า เหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย ได้แก่ อุดมบุรุษทั้งหลายเหล่านี้ คือ การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ ชื่อว่าฐานะเหล่านี้ของสัตบุรุษทั้งหลาย. จริงอยู่ ผู้บำรุงมารดาบิดาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นอริยะและถึงพร้อมด้วยทัศนะ ในพระสูตรนี้. บทว่า ส โลกํ ภชเต สิวํ ความว่า ผู้นั้นย่อมไปสู่เทวโลกอันเป็นแดนเกษม.

จบอรรถกถาปัณฑิตสูตรที่ ๕