พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อสังขตสูตร ว่าด้วยลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38670
อ่าน  431

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 205

ปฐมปัณณาสก์

จูฬวรรคที่ ๕

๘. อสังขตสูตร

ว่าด้วยลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 205

๘. อสังขตสูตร

ว่าด้วยลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ

[๘๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ ความเสื่อมสิ้นก็ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรไปก็ไม่ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบอสังขตสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 206

อรรถกถาอสังขตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอสังขตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสงฺขตสฺส ได้แก่ ที่ปัจจัยทั้งหลายไม่ได้ประมวลมาสร้าง (ไม่ได้ปรุงแต่ง). เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้รู้กันได้ว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตลักษณะ. ด้วยบทว่า น อุปฺปาโท ปญฺายติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความไม่มีแห่งความเกิดขึ้น ทั้งความแก่ และความแตกดับ. ก็เพราะไม่มีลักขณะ มีการเกิดขึ้นเป็นต้น จึงปรากฏเป็น อสังขตะ.

จบอรรถกถาอสังขตสูตรที่ ๘