พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยชนสูตร ว่าด้วยที่พึ่งในภพหน้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ต.ค. 2564
หมายเลข  38678
อ่าน  432

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 217

ทุติยปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๑

๒. ทุติยชนสูตร

ว่าด้วยที่พึ่งในภพหน้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 217

๒. ทุติยชนสูตร

ว่าด้วยที่พึ่งในภพหน้า

[๔๙๒] ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยอายุไค้ ๑๒๐ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พราหมณ์ทั้ง ๒ นั้น นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าเป็นพราหมณ์ แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยอายุได้ ๑๒๐ ปีแล้ว ยังมิได้ทำความดี ยังไม่ได้สร้างกุศล ยังไม่ทำที่ป้องกันภัย ขอพระโคดมผู้เจริญทรงโอวาทข้าพระเจ้า ขอพระโคดมผู้เจริญทรงพร่ำสอนข้าพระเจ้า ซึ่งจะพึงเป็นเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระเจ้า สิ้นกาลนานเถิด.

จริงแล้ว พราหมณ์ ท่านแก่เฒ่า ฯลฯ ยังไม่ทำที่ป้องกันภัย แน่ะ พราหมณ์ โลกนี้อันชราพยาธิมรณะไหม้แล้ว เมื่อโลกอันชราพยาธิมรณะไหม้อยู่อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันใดในโลกนี้ ความสำรวมอันนั้น เป็นที่ต้านทาน ที่เร้น (ภัย) เป็นที่เกาะที่อาศัย เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของบุคคล (ผู้สำรวม) ผู้ละ (โลกนี้) ไปแล้ว.

ครั้นเมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของขนของสิ่งใดออกได้ ของสิ่งนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ส่วนของที่ไม่ได้ขนออก ก็ไหม้อยู่ในนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 218

ฉันเดียวกัน ครั้นเมื่อโลกอันชรามรณะไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว ชาวโลกพึงขนออกด้วยการให้ทานเถิด สิ่งที่ให้เป็นทานไปแล้ว จัดว่าได้ขนออกอย่างดีแล้ว

ความสำรวมทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันใดในโลกนี้ คือ เมื่อยังเป็นอยู่ บุคคลได้ทำบุญอันใดไว้ บุญอันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความสุขแก่เขาผู้ละ (โลกนี้) ไป.

จบทุติยชนสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยชนสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภาชนํ ได้แก่ ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในสูตรที่ ๑.

จบอรรถกถาทุติยชนสูตรที่ ๒