๓. พราหมณสูตร ว่าด้วยธรรมคุณ
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 219
ทุติยปัณณาสก์
พราหมณวรรคที่ ๑
๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยธรรมคุณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 219
๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยธรรมคุณ
[๔๙๓] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว ชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์นั้นนั่ง ณ ที่ ควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ที่ว่าพระธรรมเป็นสนฺทิฏฺิโก สนฺทิฏฺิโก ด้วยเหตุเท่าไร พระธรรมจึงเป็นสนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พราหมณ์ คนที่เกิดราคะแล้ว อันราคะครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบากบ้าง เพื่อทำคนอื่นให้ลำบากบ้าง เพื่อทำให้ลำบากด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ อย่างนี้แล พราหมณ์ พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺิโก ...
คนที่เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะกลุ้มรุมแล้ว ... คนที่เกิดโมหะแล้ว อันโมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละโทสะ ... โมหะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ แม้อย่างนี้ พราหมณ์ พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺิโก ...
พราหมณ์นั้นกราบทูล (สรรเสริญพระธรรมเทศนาและแสดงตนเป็นอุบาสก) ว่า ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคคมผู้เจริญบอกพระธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปกปิด บอกทางแก่คนหลง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 220
ส่องตะเกียงในที่มืดเพื่อให้คนตาดีเห็นรูปต่างๆ ฉะนั้น ข้าพระเจ้าถึงพระโคดมผู้เจริญและพระธรรมพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบพราหมณสูตรที่ ๓
อรรถกถาพราหมณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺโมทนียํ ได้แก่ ให้เกิดการบันเทิงใจ. บทว่า สาราณียํ ได้แก่ ที่สมควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า วีติสาเรตฺวา แปลว่า ครั้น (ให้ระลึกถึงกัน) เรียบร้อยแล้ว. บทว่า กิตฺตาวตา แปลว่า โดยเหตุกี่อย่าง.
บทว่า สนฺทิฏฺิโก ธมฺโม โหติ ความว่า เป็นธรรมที่จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง. บทว่า อกาลิโก ความว่า ไม่ให้ผลในกาลอื่น. ด้วยบทว่า เอหิปสฺสิโก นี้ พราหมณ์ทูลถามถึงอาคมนียปฏิปทาว่า พระธรรมอันผู้ปฏิบัติสามารถเพื่อจะชี้ได้อย่างนี้ว่า เอหิ ปสฺส (ท่านจงมาดูเถิด) ดังนี้ บทว่า โอปนยิโก ความว่า พึงน้อมจิตของตนเข้าไปหา. บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ ความว่า พึงทราบได้ด้วยตนเองนั่นแหละ. บทว่า วิฺญูหิ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปริยาทินฺนจิตโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตอันราคะถือเอาแล้ว จับแล้ว และลูบคลำแล้ว. บทว่า เจเตติ แปลว่า คิด. คำที่เหลือในพระสูตรง่ายทั้งนั้นแล. แต่ในพระสูตรนี้ พราหมณ์ทูลถามถึงโลกุตรมรรค แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสโลกุตรมรรคนั้นเหมือนกัน. ด้วยว่าโลกุตรมรรคนั้น ชื่อว่าสันทิฏฐิกะ. เพราะจะต้องเห็นด้วยตนเอง ฉะนี้แล
จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๓