พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปริพาชกสูตร ว่าด้วยธรรมคุณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ต.ค. 2564
หมายเลข  38680
อ่าน  364

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 221

ทุติยปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๑

๔. ปริพาชกสูตร

ว่าด้วยธรรมคุณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 221

๔. ปริพาชกสูตร

ว่าด้วยธรรมคุณ

[๔๙๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อมตรัสว่า ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ธรรมจึงเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัดตามความเป็นจริง ดูก่อนพราหมณ์ แม้ด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 222

เหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ...

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลที่โกรธ ฯลฯ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัดตามความเป็นจริง ดูก่อนพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบปริพาชกสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223

อรรถกถาปริพาชกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริพาชกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺราหฺมณปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด ไม่ใช่กษัตริย์เป็นต้นโดยกำเนิด. บทว่า อตฺตตฺถมฺปิ ความว่า ประโยชน์ของตน ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ ที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถาปริพาชกสูตรที่ ๔