พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปโลภสูตร ว่าด้วยเหตุที่ทําให้มนุษย์มีจํานวนน้อยลง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ต.ค. 2564
หมายเลข  38682
อ่าน  547

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224

ทุติยปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๑

๖. ปโลภสูตร

ว่าด้วยเหตุที่ทําให้มนุษย์มีจํานวนน้อยลง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224

๖. ปโลภสูตร

ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มนุษย์มีจำนวนน้อยลง

[๔๙๖] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้ใหญ่แต่ก่อนๆ ซึ่งเป็นอาจารย์สืบๆ กันมา เล่าว่า แต่ก่อนโลกนี้เต็มไปด้วยคน ราวกะอเวจีมหานรก คาม นิคม ชนบท และราชธานี มีหลังคาเรือนตั้ง (เรียงรายกัน) อยู่ชั่วระยะไก่บินตก ดังนี้ เหตุอะไรปัจจัยอะไรเล่าหนอ พระโคดมผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ คนจึงดูหมดไป เบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท ก็ไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 225

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม แล้วก็จับศัสตราอันคมฆ่ากันและกัน คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น นี่เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไป เบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.

อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้ กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ฝนจึงไม่ตกตามฤดูกาล ด้วยเหตุนั้น จึงเกิดทุพภิกขภัย ข้าวเสีย เป็นขยอก ตายฝอย คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไป เบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.

อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ยักษ์ทั้งหลายจึงปล่อยอมนุษย์ร้าย คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไป เบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.

ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคคมผู้เจริญทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.

จบปโลภสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 226

อรรถกถาปโลภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปโลภสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาจริยปาจริยานํ ความว่า ทั้งอาจารย์ทั้งหลาย ทั้งอาจารย์ของอาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า อวีจิ มญฺเ ผุฏโ โหติ ความว่า เต็มเปี่ยมไปด้วยมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนอเวจีมหานรกที่สัตว์สัมผัสแล้ว คือ เต็มเปี่ยมไปด้วยเหล่าสัตว์นรกชั่วนิรันดร. บทว่า กุกฺกุฏสมฺปาติกา ความว่า การบินตกของไก่ กล่าวคือ การที่ไก่บินไปจากหลังคาของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไปตกลงที่หลังคาหมู่บ้านอีกหมู่หนึ่ง มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น หมู่บ้านเหล่านี้จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาติกะ (มีอยู่ชั่วไก่บินตก) ปาฐะว่า กุกฺกุฏสมฺปาทิกา ก็มี. มีอธิบายว่า การตกของไก่ กล่าวคือ การย่างเดินไปของไก่ จากละแวกหมู่บ้านสู่ละแวกหมู่บ้าน มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้. แม้ทั้งสองบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการอยู่กันอย่างหนาแน่นทั้งนั้น.

บทว่า อธมฺมราครตฺตา ความว่า ราคะเป็นอธรรมโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของตน ไม่ทรงหมายเอาว่าเป็นอธรรมราคะ ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของคนอื่น จึงทรงประสงค์เอาว่าเป็นอธรรมราคะ.

บทว่า วิสมโลภาภิภูตา ความว่า ขึ้นชื่อว่าโลภะ จะมีเวลาสม่ำเสมอไม่มี. โลภะนี้ไม่สม่ำเสมอโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นในวัตถุที่ตนหวงแหนชื่อว่า สมโลภะ ที่เกิดขึ้นในวัตถุที่ผู้อื่นหวงแหนเท่านั้นทรงประสงค์เอาว่า วิสมโลภะ. บทว่า มิจฺฉาธมฺมปเรตา ความว่า ประกอบด้วยธรรมฝ่ายผิด กล่าวคือ การซ่องเสพสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 227

บทว่า เทโว น สมฺมา ธารํ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ฝนไม่ตกในเวลาที่ควรจะตก. บทว่า ทุพฺภิกฺขํ ได้แก่ ภิกษาที่หาได้ยาก. บทว่า ทุสฺสสฺสํ ความว่า ชื่อว่าข้าวกล้าเสียหาย เพราะข้าวกล้านานาชนิดไม่เผล็ดผล. บทว่า เสตฏฺิกํ ความว่า เมื่อข้าวกล้ากำลังออกรวง หมู่หนอนจะลงกินรวงข้าวที่ออกแล้ว จะมีสีขาว ไม่มีเนื้อ เพราะถูกหนอนเหล่านั้นชอนไช. ทรงหมายเอาข้าวลีบนั้น ตรัสว่า เสตฏฺิกํ ดังนี้. บทว่า สลากวุตฺตํ ความว่า ข้าวกล้าที่หว่านแล้วๆ งอกงามเพียงตั้งลำต้นเท่านั้น อธิบายว่า ไม่ออกรวง. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ ยักษ์ผู้เป็นอธิบดี. บทว่า วาเฬ อมนุสฺเส โอสฺสชฺชนฺติ ความว่า ปล่อยยักษ์ร้ายไปในถิ่นมนุษย์. ยักษ์เหล่านั้นได้โอกาส ย่อมทำให้มหาชนถึงความสิ้นชีวิต.

จบอรรถกถาปโลภสูตรที่ ๖