พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. นิคัณฐสูตร ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38701
อ่าน  390

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 415

ทุติยปัณณาสก์

อานันทวรรคที่ ๓

๔. นิคัณฐสูตร

ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 415

๔. นิคัณฐสูตร

ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ๓ อย่าง

[๕๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าอภัยลิจฉวี และเจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปถึงแล้ว อภิวาทท่านพระอานนท์ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง เจ้าอภัยลิจฉวีนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร อ้างตนว่าเป็นสัพพัญญู (รู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งปวง) เป็นสัพพทัสสาวี (เห็นสิ่งที่ควรเห็นทั้งสิ้น) ยืนยันญาณทัสนะ (ความรู้เห็น)

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 416

อย่างไม่หลงเหลือว่า ทั้งเดิน ทั้งยืน ทั้งหลับ ทั้งตื่น ข้าพเจ้ามีญาณทัสนะประจำอยู่เสมอไม่ขาดสาย เขาบัญญัติความสิ้นสุดแห่งกรรมเก่าด้วยตบะ ความขาดตอนแห่งกรรมใหม่ด้วยความไม่ทำ โดยนัยนี้ เพราะกรรมสิ้น ทุกข์ก็สิ้น เพราะทุกข์สิ้น เวทนาก็สิ้น เพราะเวทนาสิ้น ทุกข์ทั้งปวงก็ต้องโทรมสิ้นไปหมด ความล่วงพ้นทุกข์ ย่อมมีด้วยนิชชราวิสุทธิ (ความหมดจดอันเป็นเครื่องทำทุกข์ให้โทรมหมด) เป็นสันทิฏฐิกะ (พึงเห็นได้เองหรือเห็นในปัจจุบัน) นี่ อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ ในพระธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร.

ท่านอานนท์ตอบว่า ท่านอภัย นิชชราวิสุทธิ ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงลับแห่งความโศกความคร่ำครวญ เพื่อดับหายแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมอันถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นิชชราวิสุทธิ ๓ คืออะไร.

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ทำกรรมใหม่ และรับๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิ (สนฺทิฏฺิกา) พึงเห็นได้เอง (อกาลิกา) ไม่ประกอบด้วยกาล (เอหิปสฺสิกา) ควรเรียกให้มาดู (โอปนยิกา) ควรน้อมเข้ามา (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺพา วิญฺญูหิ) อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.

ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ... จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน ... เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิ พึงเห็นได้เอง ฯลฯ อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.

ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 417

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้ เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิพึงเห็นได้เอง ฯลฯ อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.

นี้แล ท่านอภัย นิชชราวิสุทธิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.

เมื่อท่านอานนท์แสดงธรรมอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวีกล่าวกะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า สหายอภัย ท่านไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์ว่า ท่านแสดงดีดอกหรือ.

เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า สหาย ข้าฯ จักไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์อย่างไรได้ ผู้ใดไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นสุภาษิต ศีรษะของผู้นั้นจะแตก.

จบนิคัณฐสูตรที่ ๔

อรรถกถานิคัณฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กูฏาคารสาลายํ ได้แก่ พระคันธกุฎีที่เขาติดช่อฟ้า ๒ ด้าน มีหลังคาเหมือนหงส์รำแพน. บทว่า อปริเสสํ าณทสฺสนํ ปฏิชานาติ ความว่า รู้ชัดญาณทัสนะทุกอย่าง ไม่เหลือแม้แต่นิดเดียว. บทว่า สตตํ สมิตํ ความว่า ตลอดทุกกาล คือ ชั่วนิรันดร. ด้วยบทว่า าณทสฺสนํ ปจฺจุปฏฺิตํ นี้ นิครนถนาฏบุตรแสดงว่า สัพพัญญุตญาณปรากฏแล้วแก่เรา. บทว่า ปุราณานํ กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่ประมวลมา. บทว่า ตปสา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 418

พฺยนฺตีภาวํ ได้แก่ กระทำให้กิเลสสิ้นไปด้วยตบะที่ทำได้โดยยาก. บทว่า นวานํ กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่พึงประมวลมาในปัจจุบัน. บทว่า อกรณา ความว่า เพราะไม่ประมวลมา. ด้วยบทว่า เสตุ ฆาตํ นิครนถนาฏบุตรกล่าวถึงการตัดทางเดิน คือ ทำลายปัจจัย. บทว่า กมฺมกฺขยา ทุกฺขกฺขโย ได้แก่ ความสิ้นวัฏทุกข์ เพราะกัมมวัฏสิ้นไป. บทว่า ทุกฺขกฺขยา เวทนากฺขโย ได้แก่ ความสิ้นเวทนา เพราะวัฏทุกข์สิ้นไป อธิบายว่า เมื่อวัฏทุกข์สิ้นไป แม้การหมุนเวียนแห่งเวทนาก็เป็นอันสิ้นไปแล้วเหมือนกัน. บทว่า เวทนากฺขยา สพฺพํ ทุกฺขํ นิชฺชิณฺณํ ภวิสฺสติ ความว่า ก็วัฏทุกข์ทั้งสิ้นจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ เพราะเวทนาหมดสิ้นไป. บทว่า สนฺทิฏฺิกาย ความว่า ที่จะพึงเห็นเอง คือ (เห็น) ประจักษ์. บทว่า นิชฺชราย วิสุทฺธิยา ความว่า ชื่อว่า นิชฺชราย เพราะเป็นปฏิปทาแห่งความเสื่อมไปของกิเลส หรือเพราะกิเลสทั้งหลายเสื่อมโทรมไปโดยไม่เหลือ ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิชชราวิสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกโม โหติ ความว่า ความสงบระงับแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นจะมีได้. บทว่า อิธ ภนฺเต ภควา กิมาห ความว่า นิครนถนาฏบุตรถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สำหรับข้อปฏิบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร คือ ทรงบัญญัติปฏิปทาแห่งความสิ้นไปของกิเลสนี้ไว้อย่างไร หรือบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น.

บทว่า ชานตา ความว่า รู้ด้วยอนาวรณญาณ. บทว่า ปสฺสตา ความว่า เห็นด้วยสมันตจักษุ. บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความล่วงพ้น. บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความดับสูญ. บทว่า ายสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์การบรรลุมรรคพร้อมด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 419

วิปัสสนา. บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่หาปัจจัยมิได้.

บทว่า นวญฺจ กมฺมํ น กโรติ ความว่า ไม่ประมวลกรรมใหม่มา. บทว่า ปุราณญฺจ กมฺมํ ได้แก่ กรรมที่ประมวลมาแล้วในกาลก่อน. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส พฺยนฺตีกโรติ ความว่า เผชิญ (กรรมเก่าเข้าแล้ว) ก็ทำให้สิ้นไป อธิบายว่า สัมผัสผัสสะอันเป็นวิบากแล้วทำกรรมนั้นให้สิ้นไป.

บทว่า สนฺทิฏฺิกา ความว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า อกาลิกา ความว่า ไม่ทำหน้าที่ในเวลาอื่น. บทว่า เอหิปสฺสิกา ความว่า ควรเพื่อชี้ให้เห็นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาดูเถิด. บทว่า โอปนยิกา ความว่า ควรในการน้อมเข้ามา คือ เหมาะแก่ธรรมที่ตนควรข้องอยู่. บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ นั่นเอง แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ดังนั้น มรรค ๒ ผล ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วด้วยสามารถแห่งศีล เพราะว่าพระโสดาบัน พระสกทาคามี เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล. ส่วนมรรค ๓ ผล ๓ ตรัสไว้แล้วด้วยสมาธิสมบัติ มีอาทิว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ (เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลายนั่นเทียว) เพราะพระอริยสาวกชั้นอนาคามีบุคคล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ.

ด้วยคำมีอาทิว่า อาสวานํ ขยา พระองค์ตรัส (หมายถึง) พระอรหัตตผล. ก็ศีลและสมาธิบางประเภทอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตตผล ทรงประสงค์เอาแล้วในพระสูตรนี้ แต่เพื่อจะทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติด้วยสามารถแห่งศีลและสมาธิแต่ละประเภท จึงทรงยกแบบอย่างขึ้นไว้เป็นแผนกๆ กัน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๔