๖. นวสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพทั้ง ๓
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 422
ทุติยปัณณาสก์
อานันทวรรคที่ ๓
๖. นวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพทั้ง ๓
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 422
๖. นวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพทั้ง ๓
[๕๑๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในรูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 423
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนั้นแล.
จบนวสูตรที่ ๖
อรรถกถานวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนวสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กามธาตุเวปกฺกํ ได้แก่ กรรมที่เผล็ดผลจากกามธาตุ. บทว่า กามภโว ได้แก่ อุปัตติภพในกามธาตุ. บทว่า กมฺมํ เขตฺตํ ความว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็นเสมือนนา เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่งอกขึ้น (แห่งวิบากขันธ์). บทว่า วิญฺาณํ พีชํ ความว่า วิญญาณที่มีอภิสังขารเป็นปัจจัยที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่าเป็นพืช เพราะอรรถว่า เป็นเหตุงอกขึ้น. บทว่า ตณฺหา เสฺนโห ความว่า ตัณหาชื่อว่าน้ำ เพราะด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์และเพิ่มพูน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 424
บทว่า อวิชฺชา นีวรณานํ ความว่า ผู้อันอวิชชากางกั้นแล้ว. บทว่า ตณฺหาสญฺโชนานํ ความว่า ผู้ถูกเครื่องผูกพันคือตัณหาผูกพันไว้. บทว่า หีนาย ธาตุยา ได้แก่ ในกามธาตุ. บทว่า วิญฺาณํ ปติฏฺิตํ ความว่า วิญญาณที่มีอภิสังขารเป็นปัจจัยตั้งมั่นแล้ว. บทว่า มชฺฌิมาย ธาตุยา ได้แก่ ในรูปธาตุ. บทว่า ปณีตาย ธาตุยา ได้แก่ ในอรูปธาตุ. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถานวสูตรที่ ๖