๘. สีลัพพตสูตร ว่าด้วยผลแห่งศีลพรต
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 426
ทุติยปัณณาสก์
อานันทวรรคที่ ๓
๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลพรต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 426
๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลพรต
[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐาน มีผลไปทั้งหมดหรือ.
อา. ข้อนี้ จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวมิได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น จงจำแนกไป.
อา. บุคคลเสพ (คือ ประพฤติให้เป็นไป) ซึ่งศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอันใด อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอย่างนี้ เป็นการไม่มีผล ส่วนว่าบุคคลเสพศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอันใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอย่างนี้ เป็นการมีผล พระพุทธเจ้าข้า.
ท่านพระอานนท์กราบทูลตอบอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระหฤทัย ทราบว่าทรงพอพระหฤทัยแล้ว ท่านพระอานนท์ก็ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วออกไป พอท่านพระอานนท์ออกไปไม่นาน ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา (ทรงชมท่านพระอานนท์) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ ว่าในทางปัญญาละก็ หาผู้เสมอได้ยาก.
จบสีลัพพตสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 427
อรรถกถาสีลัพพตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสีลัพพตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลพฺพตํ ได้แก่ ศีลและพรต. บทว่า ชีวิตํ ได้แก่ ความเพียรของผู้ทำกรรมที่ทำได้โดยยาก. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า อุปฏฺานสารํ ความว่า ศีลเป็นต้นนี้ชื่อว่าเป็นสาระ เพราะเป็นธรรมเครื่องปรากฏ อธิบายว่า ปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้เป็นแก่นสาร ศีลเป็นต้นนี้เป็นของประเสริฐ ศีลเป็นต้นนี้เป็นเหตุให้สำเร็จ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ศีลเป็นต้นนี้เป็นของมีกำไร คือ มีความเจริญ ด้วยบทว่า สผลํ ดังนี้. บทว่า น เขฺวตฺถ ภนฺเต เอกํเสน ความว่า (พระอานนท์ตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ไม่ควรพยากรณ์โดยส่วนเดียวเลย. บทว่า อุปฏฺานสารํ เสวโต ความว่า เมื่อเสพศีลเป็นต้นที่เป็นสาระ คือ เป็นเครื่องปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้เป็นสาระ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นเหตุให้สำเร็จ.
บทว่า อผลํ ความว่า ไม่มีผลโดยผลที่ต้องการ. ด้วยคำโต้ตอบเพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาลัทธิภายนอกแม้ทั้งหมดที่เหลือ เว้นการบรรพชาของกรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สผลํ ได้แก่ มีผล คือ มีกำไรโดยผลที่ต้องประสงค์ ด้วยคำโต้ตอบเพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาบรรพชาของกรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล แม้ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ (พุทธ) ศาสนานี้. ด้วยบทว่า น จ ปนสฺส สุลภรูโป สมสโม ปญฺาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในเสขภูมิตอบปัญหาได้อย่างนี้ ที่จะเสมอด้วยปัญญาของพระอานนท์นั้น หาไม่ได้ง่าย. ธรรมชื่อว่า เสขภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระสูตรนี้.
จบอรรถกถาสีลัพพตสูตรที่ ๘