คนโง่ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ [นักขัตตชาดก]
[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
ข้อความบางตอนจาก ...
นักขัตตชาดก
"ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวง ดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้" ดังนี้
เปรียบเหมือนการที่เราจะทำความดี ไม่ต้องรอเวลา หรือคอยฤกษ์ยาม ถ้าเราทำกุศลตอนไหน ตอนนั้นก็เป็นฤกษ์ดี ยามดีค่ะ ถ้ากุศลเกิด ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ยังดีกว่าเป็นอกุศลทั้งวัน แต่ถ้ามีปัญญาประกอบด้วยก็ยิ่งดีมากค่ะ แต่ทั้งหมดก็เป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับได้ แต่สามารถอบรมปัญญาได้ ตามการสะสมค่ะ
เคยพาพวกพี่ๆ ที่ทำงานไปที่วัดแห่งหนึ่ง ที่วัดนี้ จะมีคุณยายตาบอดนั่งรับบริจาคเพื่อนำเงินไปซื้อของ เพื่อทำอาหารใส่บาตรในตอนเช้า พอไปถึงวัด ก็เห็นคุณยายคนนี้นั่งอยู่ ตนก็บริจาคเงินไป และบอกให้พี่ๆ ช่วยกันทำ เพราะตนเคยเห็นคุณยายใส่บาตรจริง แต่พวกพี่ๆ บอกว่า เดี๋ยวขากลับค่อยทำก็ได้ แต่พอขากลับเดินออกมา คุณยายคนนั้นก็หายไปแล้ว พวกพี่ๆ เลยไม่ได้ทำ การทำกุศลจึงควรรีบทำทันที อย่าผัดวันผัดเวลา
เรื่องแบบนี้ผมก็เคยเจอกับตัวเองเลยครับ เห็นเด็กคนหนึ่ง อายุไม่เกิด ๘ ขวบ นี่แหละ แต่งตัวดีด้วย ลักษณะไม่ใช่เด็กขอทาน นำปลาตัวเล็กๆ ใส่ถุงพลาสติก มาวางขาย และสถานที่ตรงนั้นก็ไม่ใช่ที่ๆ เหมาะกับการขายของเลย เป็นฟุตบาทริมถนนในซอย แดดก็กำลังร้อนมาก ไม่ทราบว่ามาทนร้อน นั่งขายปลาอยู่ได้อย่างไร ผมก็เดินผ่านไป โดยคิดในใจอย่างที่ว่า พอผมเดินผ่านไปได้สักพักหนึ่ง ประมาณไม่เกิน ๑๐ นาที เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า ฝั่งตรงข้ามของถนนนี้เป็นคลอง น่าจะซื้อปลาจากเด็กคนนั้นไปปล่อยในคลองนี้ท่าจะดี จึงเดินย้อนกลับไป ปรากฏว่า ไม่เจอเด็กคนนั้นเลย ก็เป็นความกังขาของผมมานานหลายปีแล้ว นำมาเล่าให้ฟังครับ