พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมเสขสูตร ว่าด้วยเสขบุคคล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38717
อ่าน  349

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 453

ทุติยปัณณาสก์

สมณวรรคที่ ๔

๕. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยเสขบุคคล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 453

๕. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยเสขบุคคล

[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ว่า พระเสขะ พระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุอย่างไร จึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ.

พ. ดูก่อนภิกษุ เพราะยังต้องศึกษาอยู่ จึงเรียกว่า เสขะ ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง เพราะยังต้องศึกษาอยู่ นี่แลภิกษุ จึงเรียกว่า เสขะ.

(นิคมคาถา)

เมื่อพระเสขะศึกษาอยู่ เป็นผู้ดำเนินในทางตรง ขยญาณเกิดขึ้นก่อน พระอรหัตตผลจึงเกิดในลำดับนั้น ต่อนั้น เมื่อพ้นด้วยพระอรหัตตผลแล้ว เธอก็มีญาณ (หยั่งรู้) ว่า ความพ้นของเราไม่กำเริบ เพราะสิ้นเครื่องผูกไว้ในภพ.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 454

อรรถกถาปฐมเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเสขสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุชุมคฺคานุสาริโน ความว่า อริยมรรคเรียกว่า ทางตรง เสขบุคคลผู้ระลึกถึง คือ ดำเนินไปสู่ทางตรงนั้น. บทว่า ขยสฺมึ ปมํ าณํ ความว่า มรรคญาณนั้นแลเกิดขึ้นก่อน. จริงอยู่ มรรคชื่อว่า ขยะ (ความสิ้นไป) แห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะปลอดภัยจากกิเลส ญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคนั้น ชื่อว่า ขยญาณ. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า ปัญญาเครื่องรู้ทั่วย่อมเกิดขึ้นต่อจากมรรคญาณที่ ๔ นั้น อธิบายว่า อรหัตตผลย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อญฺาวิมุตฺตสฺส ได้แก่ หลุดพ้นแล้วด้วยวิมุตติ คือ อรหัตตผล. บทว่า าณํ เว โหติ ได้แก่ มีปัจจเวกขณญาณแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขบุคคล ๗ จำพวก ไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถาทั้งหลาย แต่ทรงแสดงพระขีณาสพไว้ในตอนสุดท้ายแล.

จบอรรถกถาปฐมเสขสูตรที่ ๕