พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยสิกขาสูตร ว่าด้วยไตรสิกขา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38722
อ่าน  369

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 466

ทุติยปัณณาสก์

สมณวรรคที่ ๔

๑๐. ทุติยสิกขาสูตร

ว่าด้วยไตรสิกขา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 466

๑๐. ทุติยสิกขาสูตร

ว่าด้วยไตรสิกขา

[๕๓๐] (สูตรนี้ ตอนต้นเหมือนสูตรก่อน ต่างกันแต่ตอนแก้ อธิปัญญาสิกขา คือ สูตรก่อนแสดงอริยสัจเป็น อธิปัญญาสิกขา ส่วนสูตรนี้ แสดงพระอรหัต เป็นอธิปัญญาสิกขา และมีนิคมคาถาดังนี้)

อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลสิกขา ๓

ผู้มีความเพียร มีกำลัง มีปัญญา มีความพินิจ มีสติ รักษาอินทรีย์ พึงประพฤติอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ก่อนอย่างใด ภายหลังก็อย่างนั้น ภายหลังอย่างใด ก่อนก็อย่างนั้น ต่ำอย่างใด สูงก็อย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 467

สูงอย่างใด ต่ำก็อย่างนั้น กลางวันอย่าง ใด กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันก็อย่างนั้น ครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้.

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ผู้นั้นดำเนินเสขปฏิปทา มีความประพฤติหมดจดดี กล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นปราชญ์ ปฏิบัติสำเร็จในโลก เพราะวิญญาณดับ ความพ้นแห่งใจของผู้วิมุต เพราะสิ้นตัณหา ย่อมมีเหมือนความดับแห่งตะเกียง (เพราะสิ้นเชื้อเพลิง) ฉะนั้น.

จบทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาทุติยสิกขาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า อาสวานํ ขยา นี้ มีอธิบายว่า อรหัตตมรรค ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. ส่วนผลไม่ควรกล่าวว่า สิกขา เพราะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้ศึกษาสิกขาแล้ว.

บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า ในตอนต้น ท่านศึกษาในสิกขา ๓ อย่าง ภายหลังก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้แล. บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธํ ความว่า ท่านพิจารณาเห็นกาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 468

เบื้องต่ำ ด้วยสามารถแห่งอสุภะอย่างใด ก็พิจารณาเห็นกายเบื้องสูงอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า ในเวลากลางวันท่านศึกษาสิขา ๓ อย่าง แม้ในเวลากลางคืนก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อภิภุยฺย ทิสา สพฺพา ความว่า ครอบงำทิศทั้งปวง คือ ครอบงำด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. บทว่า อปฺปมาณสมาธินา คือ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า เสกฺขํ ได้แก่ ผู้ยังศึกษาอยู่ คือ ผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติ. บทว่า สํสุทฺธจารินํ ได้แก่ ผู้มีจรณะบริสุทธิ์ดี คือ ผู้มีศีลบริสุทธิ์. บทว่า สมฺพุทฺธํ ได้แก่ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า ธีรํ ปฏิปทนฺตคุํ. ความว่า เป็นปราชญ์ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ ด้วยอำนาจแห่งปัญญา เครื่องทรงจำ ในขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งวัตรปฏิบัติ.

บทว่า วิญฺาณสฺส ได้แก่ แห่งจริมกวิญญาณ (จิตดวงสุดท้าย). บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยอรหัตตผลวิมุตติ กล่าวคือ ความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา. บทว่า ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพานํ หมายความว่า เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีป. บทว่า วิโมกฺโข โหติ เจตโส ความว่า ความหลุด คือ ความพ้น ได้แก่ ภาวะคือความไม่เป็นไปแห่งจิตมีอยู่. อธิบายว่า ก็ความหลุดพ้นไปแห่งจิตที่เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีป ย่อมมีแก่พระขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา เพราะจริมกวิญญาณดับไป สถานที่ที่พระขีณาสพไปก็ไม่ปรากฏ ท่านเป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้เลย.

จบอรรถกถาทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐