พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. โลณกสูตร ว่าด้วยการให้ผลของกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38732
อ่าน  518

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 492

ทุติยปัณณาสก์

โลณผลวรรคที่ ๕

๙. โลณกสูตร

ว่าด้วยการให้ผลของกรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 492

๙. โลณกสูตร

ว่าด้วยการให้ผลของกรรม

[๕๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครพึงกล่าวว่า คนทํากรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทางที่จะทําที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทํากรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทําที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อยที่บุคคลลางคนทําแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนําเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น ลางคนทําแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน) ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไรทําแล้ว บาปกรรมนั้นจึงนําเขาไปนรกได้? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ําทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือ เป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนี้ทําแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนําเขาไปนรกได้

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไรทําแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 493

มีปัญญาได้อบรมแล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ คือ เป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคนแค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทําแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ําเล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสําคัญว่ากระไร น้ําอันน้อยในถ้วยน้ํานั้น จะกลายเป็นน้ําเค็ม ไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม.

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุไร.

ภิ. เพราะเหตุว่า น้ําในถ้วยน้ํานั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้ ... เพราะเกลือก้อนนั้น.

พ. ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้นลงไปในแม่น้ําคงคา ท่านทั้งหลายจะสําคัญว่ากระไร น้ําในแม่น้ําคงคานั้นจะกลายเป็นน้ําเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ.

ภิ. หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุอะไร.

ภิ. เพราะเหตุว่า น้ําในแม่น้ําคงคามีมาก น้ํานั้นจึงไม่เค็ม ... เพราะเกลือก้อนนั้น.

พ. ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลลางคนทําแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนําไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น ลางคนทําแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ...

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 494

ภิกษุทั้งหลาย คนลางคนย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ ... แม้ ๑ กหาปณะ ... แม้ ๑๐๐ กหาปณะ ส่วนลางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ

คนอย่างไร ไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก คนอย่างนี้ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลลางคนทําแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนําเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลลางคนทําแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ...

ภิกษุทั้งหลาย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะลางคน อาจฆ่า มัด ย่าง หรือทําตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ลางคนไม่อาจทําอย่างนั้น

พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทําตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้? ลางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้

พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทําอย่างนั้น? ลางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอํามาตย์ พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่อาจทําอย่างนั้น มีแต่ว่าคนอื่นจะประนมมือขอกะเขาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะหรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้ ฉันใด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 495

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลลางคนทําแล้ว บาปกรรมนั้นนําเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น ลางคนทําแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ...

ภิกษุทั้งหลาย ใครกล่าวว่า คนทํากรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ ช่องทางที่จะทําที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทํากรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทําที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.

จบโลณกสูตรที่ ๙

อรรถกถาโลณกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยถา ยถายํ ตัดบทเป็น ยถา ยถา อยํ. บทว่า ตถา ตถา ตํ ได้แก่ ตถา ตถา ตํ กมฺมํ. มีคําอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทํากรรมไว้โดยประการใดๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของกรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆ ไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรมที่ทําไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทํากรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรมเท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอวํ สนฺตํ คือ เอวํ สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 496

ที่ทําไว้ก่อนการทํามรรคให้เกิดมี เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นอันตนจะต้องเสวยเป็นแน่แท้ พรหมจรรย์แม้อยู่จบแล้ว ก็ไม่เป็นอันอยู่เลย. บทว่า โอกาโส น ปฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า ก็เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ การประมวลกรรมและการเสวยผลของกรรมยังคงมีอยู่ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทําที่สุดแห่งวัฏทุกข์โดยเหตุโดยนัยชื่อว่าไม่ปรากฏ. บทว่า ยถา ยถา เวทนิยํ ได้แก่ อันตนพึงเสวยโดยอาการใดๆ. บทว่า ตถา ตถาสฺส วิปากํ ปฏิสํเวทิยติ ความว่า เสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้นๆ.

มีคําอธิบายดังนี้ว่า ในชวนจิตทั้ง ๗ กรรมในชวนจิตที่ ๑ นั้นใด เมื่อมีปัจจัย ก็ได้วาระที่จะให้ผลทันที กรรมนั้นจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ส่วนกรรมในชวนจิตที่ ๗ อันใด กรรมนั้นเมื่อมีปัจจัย ก็จะเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม และกรรมในชวนจิตทั้ง ๕ ในท่ามกลางอันใด กรรมนั้นชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรม ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ บุรุษ (บุคคล) นี้ทํากรรมนั้นไว้จะพึงเสวยได้โดยอาการใดๆ ในบรรดาอาการเหล่านี้ ก็จะเสวยวิบากของกรรมนั้น โดยอาการนั้นๆ ทีเดียว. แท้จริง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า กรรมที่ได้วาระให้ผลแล้วเท่านั้น ชื่อว่า ยถาเวทนิยกรรม. บทว่า เอวํ สนตํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยวาโส โหติ ความว่า คําที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่ามีการอยู่พรหมจรรย์ที่ทํากรรมให้สิ้นไป เพราะกรรมที่จะต้องทําให้สิ้นไปยังมีอยู่ ดังนี้ เป็นอันกล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.

บทว่า โอกาโส ปฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวัฏทุกข์ต่อไปในภพนั้นๆ เพราะอภิสังขารวิญญาณดับไปด้วยมรรคนั้นๆ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทําที่สุดแห่งทุกข์ด้วยดีจึงปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 497

ยถาเวทนิยกรรม

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตกํ ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบา กรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสํเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วยกับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺธมฺมเวทนิยํ ความว่า ในกรรมนั้นแล มีอธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อยนั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒ อธิบายว่า ไม่ให้ผลแม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒. บทว่า พหุเทว ความว่า ส่วนกรรมที่มากจักให้ผลได้อย่างไรเล่า? (๑)

ปุถุชนผู้เว้นจากภาวนา (เจริญสติปัฏฐาน) ในกาย เป็นผู้มีปกติไปสู่วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า อภาวิตกาโย เป็นต้น. บทว่า ปริตฺโต ได้แก่ มีคุณนิดหน่อย. บทว่า อปฺปาตุโม ความว่า อัตภาพเรียกว่า อาตุมะ ปุถุชนชื่อว่ามีอัตภาพเล็กน้อยโดยแท้ เพราะแม้เมื่ออัตภาพนั้นจะใหญ่ แต่ก็มีคุณเล็กน้อย. บทว่า อปฺปทุกฺขวิหารี ความว่า มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยวิบากเล็กน้อย. พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ภาวิตกาโย เป็นต้น. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีกายอบรมแล้วด้วยภาวนา กล่าวคือ กายานุปัสสนา หรือชื่อว่ามีกายอบรมแล้วเพราะเจริญกายานุปัสสนา. บทว่า ภาวิตสีโล แปลว่า เจริญศีล. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล


(๑) ปาฐะว่า พหุกํ ปน วิปากเมว ทสฺเสติ ฉบับพม่าเป็น พหุกํ ปน วิปากํ กิเมว ทสฺสติ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 498

อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพ ชื่อว่ามีกายอบรมแล้ว ด้วยอบรมปัญจทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรียสังวรศีลด้วยบทว่า ภาวิตกาโย นี้ ตรัสศีล ๓ ที่เหลือด้วยบทว่า ภาวิตสีโล นี้. บทว่า อปริตฺโต คือ มีคุณมิใช่เล็กน้อย. บทว่า มหตฺตา คือ พระขีณาสพ ชื่อว่ามีอัตภาพใหญ่ เพราะแม้จะมีอัตภาพเล็กน้อย แต่ก็มีคุณมาก. ก็บทว่า อปฺปมาณวิหารี นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพโดยแท้ อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่าอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรมอันหาประมาณมิได้) เพราะไม่มีกิเลส มีราคะเป็นต้นที่ทําให้มีประมาณ (คือ จํากัดขอบเขตของคุณธรรม). บทว่า ปริตฺเต แปลว่า เล็กน้อย. บทว่า อุทกมลฺลเก แปลว่า ในขันน้ํา.

บทว่า โอรพฺภิโก แปลว่า เจ้าของแกะ. บทว่า โอรพฺภฆาตโก แปลว่า คนฆ่าแกะ. บทว่า ชาเปตุํ วา ได้แก่ เพื่อทําให้เสื่อมด้วยความเสื่อมทรัพย์. ปาฐะว่า ฌาเปตุํ ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างเดียวกันนี้แล. บทว่า ยถาปจฺจยํ วา กาตุํ ความว่า เพื่อทําได้ตามปรารถนา. บทว่า อุรพฺภธนํ ได้แก่ ราคาค่าตัวแกะ. ก็เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น ถ้าปรารถนาก็จะให้ราคาแกะนั้น ถ้าไม่ปรารถนาก็จะให้จับคอลากออกไป.

บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ (นิพพาน) ไว้ในสูตรนี้แล

จบอรรถกถาโลณกสูตรที่ ๙