พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สังฆสูตร ว่าด้วยอุปกิเลส ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38733
อ่าน  403

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 499

ทุติยปัณณาสก์

โลณผลวรรคที่ ๕

๑๐. สังฆสูตร

ว่าด้วยอุปกิเลส ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 499

๑๐. สังฆสูตร

ว่าด้วยอุปกิเลส ๓ อย่าง

[๕๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อุปกิเลส (เครื่องทำให้หมอง) อย่างหยาบของทอง คือ ทรายปนดิน หินกรวด คนล้างดินหรือลูกมือเอาทองนั้นใส่ลงในรางแล้ว ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างหยาบนั้นออก เมื่อสิ้นเครื่องมัวหมองอย่างหยาบแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างกลาง คือ กรวดละเอียด ทรายหยาบ คนล้างดินหรือลูกมือก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างกลางนั้นออก ครั้นหมดเครื่องมัวหมองอย่างกลางแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างละเอียด คือ ทรายละเอียด ผงดำ คนล้างดินหรือลูกมือก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างละเอียดนั้นออกอีก เมื่อเครื่องมัวหมองอย่างละเอียดสิ้นไปแล้ว ทีนี้ ก็เหลืออยู่แต่แร่ทอง

ช่างทองหรือลูกมือ เอาแร่ทองนั้นใส่เบ้า สูบเป่าไล่ขี้ ทองนั้นยังมิได้สูบเป่าไล่ขี้ ยังไม่ละลาย ยังไม่หมดราคี ก็ยังไม่อ่อน ยังแต่งไม่ได้ สียังไม่สุก ยังแตกได้ และใช้การยังไม่ได้ดี ต่อเมื่อช่างทองหรือลูกมือสูบเป่าไล่ขี้ไปจนได้ที่ หมดราคีแล้ว ทองนั้นจึงอ่อน แต่งได้ สีสุก ไม่แตก และใช้การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น เข็มขัด ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ

ฉันนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสอย่างหยาบของภิกษุผู้ประกอบอธิจิตมีอยู่ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละ ถ่ายถอนอุปกิเลสอย่างหยาบนั้นให้สิ้นไป ให้ไม่มีต่อไป ครั้นละอุปกิเลสอย่างหยาบให้สิ้นไปแล้ว ยังมีอุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละ ถ่ายถอน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 500

อุปกิเลสอย่างกลางนั้นให้สิ้นไป ครั้นละอุปกิเลสอย่างกลางให้สิ้นไปแล้ว ยังมีอุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ชาติวิตก (ความตรึกถึงชาติ) ชนบทวิตก (ความตรึกถึงชนบท) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยการจะไม่ให้คนอื่นดูหมิ่น) ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละเลิกอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้นให้สิ้นไป ให้ไม่มีต่อไป ครั้นละอุปกิเลสอย่างละเอียดให้สิ้นไปแล้ว ทีนี้เหลืออยู่แต่ธรรมวิตก (ความตรึกในธรรม) นั่นเป็นสมาธิที่ยังไม่ละเอียด ไม่ประณีต ไม่ได้ความรำงับ ไม่ถึงความเด่นเป็นหนึ่ง เป็นพรตที่ยังต้องใช้ความเพียรข่มห้ามไว้ (ซึ่งอกุศลวิตก) มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย คราวที่จิตแน่วแน่ตั้งมั่นเด่นเป็นหนึ่งในภายใน นั่นเป็นสมาธิละเอียด ประณีต ได้ความระงับ ถึงความเด่นเป็นหนึ่ง ไม่เป็นพรตที่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม

ภิกษุน้อมจิต (ที่เป็นสมาธิอย่างนั้น) ไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา (ความรู้ยิ่ง ความรู้เกินวิสัยคนสามัญ) ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม (ธรรมอันพึงกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา) ใดๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ (คือ)

(๑) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี คือ คนเดียว (นิรมิต) ให้เป็นคนมากก็ได้ เป็นคนมากแล้ว (กลับ) เป็นคนเดียวก็ได้ ทำสิ่งที่กำบังให้แลเห็น (ก็ได้) ทำสิ่งที่แลเห็นให้กำบัง (ก็ได้) ผ่านฝาผ่านกำแพงผ่านภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ดุจไปในที่ว่าง (ก็ได้) ดำลงไปในแผ่นดินและผุดขึ้น (ในที่ๆ ต้องการ) ดุจดำและผุดในน้ำก็ได้ ไปบนพื้นน้ำอันไม่แตก ดุจเดินบนพื้นดินก็ได้ นั่งไปในอากาศ ดุจนกบินก็ได้ แตะต้องลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 501

(๒) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงมีหูทิพย์อันหมดจดเกินหูมนุษย์สามัญ ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือ ทั้งเสียงทิพย์ ทั้งเสียงมนุษย์ ทั้งเสียงไกล ทั้งเสียงใกล้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ

(๓) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงกำหนดใจของสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจ (ของตน) แล้วรู้จิตของเขาได้ว่า เป็นจิตมีราคะหรือจิตปราศจากราคะแล้ว จิตมีโทสะหรือปราศจากโทสะแล้ว จิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะแล้ว จิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่าน จิตกว้างใหญ่ (ด้วยพรหมวิหาร) หรือจิตไม่กว้างใหญ่ จิตมีธรรมอันยิ่งหรือจิตไม่มีธรรมอันยิ่ง จิตเป็นสมาธิหรือจิตไม่เป็นสมาธิ จิตวิมุต (หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว) หรือจิตยังไม่วิมุต ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ

(๔) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงระลึกชาติได้อย่างอเนก คืออย่างไร คือ แต่ ๑ ชาติ ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๑๐ ชาติ ๒๐ ชาติ ๓๐ ชาติ ๔๐ ชาติ ๕๐ ชาติ กระทั่ง ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติ จนหลายสังวัฏฏกัป หลายวิวัฏฏกัป และหลายสังวิฏฏวิวัฏฏกัปว่า ในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีนามสกุลอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นเกิดในชาติโน้น ในชาตินั้น เรามีชื่อ มีนามสกุล มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้นๆ ได้เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นมาเกิดในชาตินี้ ขอเราพึงระลึกชาติได้อย่างอเนกพร้อมทั้งอาการ (คือ รูปร่างท่าทางและความเป็นไปที่ต่างๆ กัน มีผิวพรรณต่างกันเป็นต้น) พร้อมทั้งอุทเทส (คือสิ่งสำหรับอ้าง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 502

สำหรับเรียก ได้แก่ ชื่อและโคตร) อย่างนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ

(๕) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงมีจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ (ตาย) กำลังอุปบัติ (เกิด) เลว ดี ผิวพรรณงาม ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม (ชี้ได้) ว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด กระทำกรรมไปตามเห็นผิด สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าสัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ กระทำกรรมไปตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปสุคติโลกสวรรค์ ขอเราพึงมีจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรมอย่างนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอก็ถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ

(๖) ถ้าเธอจำนงว่า เราพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอก็ถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ.

จบสังฆสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 503

อรรถกถาสังฆสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังฆสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โธวติ แปลว่า ล้าง. บทว่า สนฺโธวติ แปลว่า ล้างด้วยดี คือ ล้างแล้วล้างอีก. บทว่า นิทฺโธวติ แปลว่า ล้างโดยไม่มีมลทินเหลือ. บทว่า อนิทฺธนฺตํ คือ ยังไม่ได้ถลุง. บทว่า อนินฺนีตกาสาวํ คือ ยังไม่ได้ไล่ขี้. บทว่า ปภงฺคุ ได้แก่ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ. เว้นทองคำที่หลอมแล้ว (ที่เหลือ) เพียงเอากำปั้นทุบก็แตก. บทว่า ปฏฺฏกาย ได้แก่ เพื่อต้องการให้เป็นแผ่นทองคำ. บทว่า คีเวยฺยเก ได้แก่ เครื่องประดับคอ. บทว่า อธิจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อนุยุตฺ ตสฺส ได้แก่ เจริญ. บทว่า สเจตโส ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยจิต.

บทว่า ทพฺพชาติโก ได้แก่ เป็นบัณฑิตโดยกำเนิด. ในวิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น มีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภกามเกิดขึ้น ชื่อว่ากามวิตก. วิตกที่สัมปยุตด้วยพยาบาท ชื่อว่าพยาปาทวิตก ที่สัมปยุตด้วยวิหิงสา ชื่อว่าวิหิงสาวิตก.

ในวิตกทั้งหลาย มีญาติวิตกเป็นต้น มีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภญาติ เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ญาติของเราทั้งหลายจำนวนมากมีบุญ ชื่อว่า ญาติวิตก. วิตกที่อาศัยเรือนซึ่งปรารภชนบทเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ชนบทโน้นปลอดภัย หาภิกษาได้ง่าย ชื่อว่า ชนปทวิตก. บทว่า น ปณีโต คือ ไม่เอิบอิ่ม. บทว่า น ปฏิปฺปสฺสทฺธลทฺโธ คือ ไม่ได้ความสงบระงับกิเลส. บทว่า น เอโกทิภาวาธิคโต คือ ไม่ถึงความเป็นสมาธิ. บทว่า สสงฺขาร-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 504

นิคฺคยฺหวาริตวโต ได้แก่ ข่ม คือ ห้ามกันกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยสสังขารอันเป็นสัปปโยคะ ไม่ใช่เกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป แต่เกิดขึ้นห้ามกิเลสทั้งหลาย.

ในบทว่า โหติ โส ภิกฺขเว สมโย นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าสมัย ได้แก่ เวลาที่ได้สัปปายะ ๕ เหล่านี้ คือ ฤดูสัปปายะ อาหารสัปปายะ เสนาสนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ ธัมมัสสวนสัปปายะ. บทว่า ยนฺตํ จิตฺตํ ได้แก่ ในสมัยใด วิปัสสนาจิตนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตํเยว สนฺติฏฺติ ได้แก่ ดำรงอยู่ในตนนั่นเอง ก็วิสัยแห่งอารมณ์ที่เที่ยง ชื่อว่าอัชฌัตตะ ในที่นี้แม้อารมณ์ภายในก็ควร. มีคำอธิบายว่า วิปัสสนาจิตละอารมณ์จำนวนมาก แล้วตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ทีละอย่าง คือ ในอารมณ์คือพระนิพพานเท่านั้น. บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ สงบนิ่งด้วยดี. บทว่า เอโกทิภาโว โหติ ได้แก่ เป็นจิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ. บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยดี.

ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่าประณีต เพราะหมายความว่า เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่าได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ ชื่อว่าถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียวเป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่าไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วยสัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่าทำจิตให้หมุนกลับ แล้วบรรลุพระอรหัตตผล ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงการแทงตลอดด้วยอภิญญาของภิกษุนั้น ผู้เป็นพระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 505

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺาสจฺฉิกรณียสฺส ได้แก่ ที่ควรทำให้ประจักษ์ด้วยรู้ยิ่ง. บทว่า สติ สติ อายตเน ความว่า เมื่ออายตนะ กล่าวคือบุรพเหตุและประเภทแห่งฌานเป็นต้นที่จะพึงได้ในบัดนี้มีอยู่ คือ เมื่อเหตุมีอยู่ ก็กถาพรรณนาเรื่องอภิญญานี้ของพระขีณาสพนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ส่วนบทว่า อาสวานํ ขยา เป็นต้น ในสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจผลสมาบัติ.

จบอรรถกถาสังฆสูตรที่ ๑๐