พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สมณสูตร ว่าด้วยผู้ควรยกย่องเป็นสมณะและพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38738
อ่าน  367

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 514

ตติยปัณณาสก์

สัมโพธิวรรคที่ ๑

๔. สมณสูตร

ว่าด้วยผู้ควรยกย่องเป็นสมณะและพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 514

๔. สมณสูตร

ว่าด้วยผู้ควรยกย่องเป็นสมณะและพราหมณ์

[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดๆ ไม่รู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในสมณะทั้งหลาย ไม่นับว่าเป็นพราหมณ์ในพราหมณ์ทั้งหลาย อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง สำเร็จอยู่ปัจจุบันนี้ได้ไม่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 515

ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดๆ รู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในสมณะทั้งหลาย นับว่าเป็นพราหมณ์ในพราหมณ์ทั้งหลาย อนึ่ง เธอเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณพราหมณ์ สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ได้.

จบสมณสูตรที่ ๔

อรรถกถาสมณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สามญฺตฺถํ ได้แก่ อริยผลทั้ง ๔ อย่าง. บทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า สามญฺตฺถํ ทั้งนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามรรค ๔ เพราะอรรถว่า ความเป็นสมณะ ชื่อว่าผล ๔ เพราะอรรถว่า ความเป็นพรหม. ก็ในพระสูตรทั้ง ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงขันธโลกอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสมณสูตรที่ ๔