พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โรณสูตร ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38739
อ่าน  377

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 515

ตติยปัณณาสก์

สัมโพธิวรรคที่ ๑

๕. โรณสูตร

ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 515

๕. โรณสูตร

ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม

[๕๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การร้องไห้ในวินัยของพระอริยะ คือ การขับร้อง ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยะ คือ การฟ้อนรำ ความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยะ คือ การหัวเราะจนเห็นฟันอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 516

เหตุนั้น ในเรื่องนี้ พึงชักสะพานเสีย ในส่วนการขับร้อง การฟ้อนรำ (ส่วนการหัวเราะนั้น) เมื่อท่านทั้งหลายเกิดธรรมปราโมทย์ (ความยินดีร่าเริงในธรรม) ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม.

จบโรณสูตรที่ ๕

อรรถกถาโรสูตร

สูตรที่ ๕ ข้าพเจ้าจะยกเรื่องขึ้นแสดงตามอัตถุปปัตติ (เรื่องราวที่เกิดขึ้น). ถามว่า เรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร. ตอบว่า เรื่องเกิดขึ้นในเพราะอนาจาร (การประพฤตินอกรีตนอกรอย) ของพระฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย. เล่ากันมาว่า พระฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ขับร้อง ฟ้อนรำ หัวเราะ เที่ยวไป. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลพระทศพล พระบรมศาสดาตรัสเรียกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นมา แล้วทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อพุทธประสงค์จะทรงสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า การร้องไห้. บทว่า อุมฺมตฺตกํ ได้แก่ กิริยาของคนบ้า. บทว่า โกมาริกํ ได้แก่ เรื่องที่เด็กๆ จะต้องกระทำ. บทว่า ทนฺตวิทํสกหสิตํ ได้แก่ การหัวเราะด้วยเสียงอันดังของผู้ยิงฟันปรบมือ. ด้วยบทว่า เสตุฆาโต คีเต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า การตัดปัจจัยในการขับร้องของเธอทั้งหลายจงยกไว้ก่อน เธอทั้งหลายจงละการขับร้องพร้อมทั้งเหตุ. แม้ในการฟ้อนรำก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 517

บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว. เหตุ ตรัสเรียกว่า ธรรม ในบทนี้ว่า ธมฺมปฺปโมทิตานํ สตํ เมื่อคนทั้งหลายรื่นเริงบันเทิงอยู่ด้วยเหตุบางอย่าง. บทว่า สิตํ สิตมตฺตาย มีคำอธิบายว่า เมื่อมีเหตุที่ต้องหัวเราะ การหัวเราะที่เธอจะกระทำเพียงเพื่อยิ้ม คือ เพื่อแสดงเพียงอาการเบิกบาน ให้เห็นปลายฟันเท่านั้น ก็พอแล้วสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบอรรถกถาโรณสูตรที่ ๕