พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมนิทานสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งธรรม ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38743
อ่าน  375

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 520

ตติยปัณณาสก์

สัมโพธิวรรคที่ ๑

๙. ปฐมนิทานสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งธรรม ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 520

๙. ปฐมนิทานสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง

[๕๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุอกุศลมูล ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม

กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เกิดแต่โลภะ โทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นเหตุ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย (ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 521

กรรม) กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม

กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดแต่อโลภะ อโทสะ อโมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้นเหตุ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นหาโทษมิได้ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

จบปฐมนิทานสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมนิทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมนิทานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิทานานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมานํ สมุทยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวลมาซึ่งกรรมที่เป็นวัฏฏคามี (กรรมที่ทำให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิด). บทว่า โลภปกตํ ความว่า ทำด้วยความโลภ. บทว่า สาวชฺชํ แปลว่า มีโทษ. บทว่า ตํ กมฺมํ กมฺมสมุทยาย สํวตฺตติ ความว่า กรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวลซึ่งกรรมสมุทัย (เหตุที่จะให้เกิดกรรม) แม้เหล่าอื่นที่เป็นวัฏฏคามี. บทว่า น ตํ กมฺมํ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 522

กมฺมนิโรธาย ความว่า แต่กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การดับวัฏฏคามีกรรม. พึงทราบวินิจฉัยในกรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้ บทว่า กมฺมานํ สมุทยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การเกิดขึ้นแห่งกรรมที่ทำให้ถึงวิวัฏฏะ. บททั้งปวงพึงทราบความโดยนัยนี้.

จบอรรถกถาปฐมนิทานสูตรที่ ๙