พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อาปายิกสูตร ว่าด้วยบุคคล ๓ จําพวกที่ต้องไปอบายภูมิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38745
อ่าน  342

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 527

ตติยปัณณาสก์

อาปายิกวรรคที่ ๒

๑. อาปายิกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จําพวกที่ต้องไปอบายภูมิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 527

อาปายิกวรรคที่ ๒

๑. อาปายิกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวกที่ต้องไปอบายภูมิ

[๕๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ ไม่ละโทษนี้ เป็นคนอบาย เป็นคนนรก บุคคล ๓ คือใคร คือ บุคคลไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี ๑ บุคคลกำจัดท่านผู้เป็นพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์หมดจดอยู่ ด้วยอพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ๑ บุคคลผู้พูดอย่างนี้โดยปกติ เห็นอย่างนี้โดยปกติว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี จมอยู่ในกามทั้งหลาย ๑ นี้แล บุคคล ๓ ไม่ละโทษนี้ เป็นคนอบาย เป็นคนนรก.

จบอาปายิกสูตรที่ ๑

อาปายิกวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาอาปายิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาปายิกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาปายิกา เพราะจะไปสู่อบาย. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เนรยิกา เพราะจะไปสู่นรก. บทว่า อิทมปฺปหาย นี้ ความว่า ไม่ละกรรมชั่วทั้ง ๓ มีการปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีเป็นต้นนี้. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ได้แก่ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เทียม. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้มีปฏิญาณอย่างนี้ว่า แม้เราก็เป็นพรหมจารี โดยไม่ละอากัปกิริยาของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 528

พวกเขา. บทว่า อนุทฺธํเสติ ความว่า ด่า คือ บริภาษ ได้แก่ ติเตียน. บทว่า นตฺถิ กาเมสุ โทโส ความว่า ผู้ซ่องเสพกิเลสกามและวัตถุกาม ไม่มีโทษ. บทว่า ปาตพฺยตํ ความว่า ความเป็นผู้จะต้องดื่ม คือ ความเป็นผู้จะต้องบริโภค ได้แก่ ความเป็นผู้จะต้องดื่มกิน เหมือนการดื่มน้ำของผู้กระหายน้ำ ด้วยจิตปราศจากความรังเกียจ. ในพระสูตรนี้ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว.

จบอรรถกถาอาปายิกสูตรที่ ๑