พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อาเนญชสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน ๓ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38748
อ่าน  443

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 530

ตติยปัณณาสก์

อาปายิกวรรคที่ ๒

๔. อาเนญชสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน ๓ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 530

๔. อาเนญชสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน ๓ จำพวก

[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ คือใคร คือ บุคคลลางคนในโลกนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา (ความกำหนดในรูปธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน) หมด ดับปฏิฆสัญญา (ความกำหนดในปฏิฆะ) หมด ไม่ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา (ความกำหนดมีอาการต่างๆ กัน) หมด (ถืออากาศเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺโต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 531

อากาโส) อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย ๒๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่จนตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่ (คือ ยังต้องเวียนเกิดอยู่)

อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงอากาสานัญจายตนะหมด (ถือวิญญาณเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺตํ วิญฺาณํ) วิญญาณหาที่สุดมิได้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าวิญญาณัญจายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย ๔๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าวิญญาณัญจายตนะ. (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนมิได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 532

อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนะหมด (ถือเอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (นตฺถิ กิญฺจิ) ไม่มีอะไรๆ เข้าอากิญจัญญายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย ๖๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วกับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่.

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอาเนญชสูตรที่ ๔

อรรถกถาอาเนญชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาเนญชสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทสฺสาเทติ ได้แก่ ชอบใจฌานนั้น. บทว่า ตํ นิกาเมฺติ ได้แก่ ปรารถนาฌานนั้นแหละ. บทว่า เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความยินดีด้วยฌานนั้น. บทว่า ตตฺถ ิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในฌานนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 533

บทว่า ตทธิมุตฺโต ได้แก่ น้อมใจไปในฌานนั้นแหละ. บทว่า ตพฺพหุลวิหารี ได้แก่ อยู่กับฌานนั้นเป็นส่วนมาก. บทว่า สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ได้แก่ เข้าถึงความเป็นสหาย อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้น.

คำมีอาทิว่า นิรยมฺปิ คจฺฉติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงการไปนรกนั้นด้วยสามารถแห่งปริยายอื่น เพราะไม่พ้นจากนรกเป็นต้นไปได้ เพราะว่าเขาไม่มีอกุศลกรรมที่มีกำลังมากกว่าอุปจารฌาน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดในอบายติดต่อกัน. บทว่า ภควโต ปน สาวโก ได้แก่ พระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง บรรดาพระสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีทั้งหลาย. บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ได้แก่ ในอรูปภพนั่นเอง. บทว่า ปรินิพฺพายติ ความว่า จะปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้. ความเพียรเป็นเครื่องประกอบอย่างยิ่ง ชื่อว่า อธิปฺปายาโส คำที่เหลือในพระสูตรนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ ฌานที่จะเป็นเหตุให้อุปบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับปุถุชน สำหรับพระอริยสาวก ตรัสทั้งความที่เป็นเหตุให้อุปบัตินั่นเอง ทั้งฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนาด้วย.

จบอรรถกถาอาเนญชสูตรที่ ๔