พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อปัณณกสูตร ว่าด้วยวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38750
อ่าน  337

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 536

ตติยปัณณาสก์

อาปายิกวรรคที่ ๒

๖. อปัณณกสูตร

ว่าด้วยวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 536

๖. อปัณณกสูตร

ว่าด้วยวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓

[๕๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ นี้ วิบัติ ๓ คืออะไร คือ สีลวิบัติ จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ

สีลวิบัติ เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำปาณาติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี้เรียกว่า สีลวิบัติ

จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอภิชฌา มีใจพยาบาท นี่เรียกว่า จิตตวิบัติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 537

ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า (๑) ทานไม่มีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ ไม่มีในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

สัตว์ทั้งหลาย เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหตุสีลวิบัติบ้าง เหตุจิตตวิบัติบ้าง เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง เปรียบเหมือนลูกบาศก์ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใดๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ นี้ สัมปทา ๓ คืออะไรบ้าง คือ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา

สีลสัมปทา เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า สีลสัมปทา

จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีใจพยาบาท นี่เรียกว่า จิตตสัมปทา

ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร? คนลางคนในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า (๑) ทานมีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ มีอยู่ในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา

สัตว์ทั้งหลาย เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหตุสีลสัมปทาบ้าง เหตุจิตตสัมปทาบ้าง เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง เปรียบเหมือนลูกบาศก์ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใดๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓

จบอปัณณกสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 538

อรรถกถาอปัณณกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอปัณณกสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ ลูกบาศก์ (ลูกสะกา) อันประกอบแล้วด้วยเหลี่ยม ๖ เหลี่ยม. บทว่า สุคตึ สคฺคํ ได้แก่ โลกคือสวรรค์ ในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้น มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. ในพระสูตรนี้ตรัสธรรมทั้งสองประการ คือ ศีลและสัมมาทิฏฐิ คลุกเคล้ากันไป

จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ ๖