พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ภรัณฑุสูตร ว่าด้วยศาสดา ๓ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38758
อ่าน  364

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 552

ตติยปัณณาสก์

กุสินาวรรคที่ ๓

๔. ภรัณฑุสูตร

ว่าด้วยศาสดา ๓ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 552

๔. ภรัณฑุสูตร

ว่าด้วยศาสดา ๓ จำพวก

[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในประเทศโกศล ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้ามหานามศากยะ ได้ทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จไปเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเจ้ามหานาม ศากยะ ว่า มหานาม เธอจงไปหาเรือนที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ ที่พอพวกเราจะพักในวันนี้สักคืนหนึ่ง.

เจ้ามหานาม ศากยะ รับพระดำรัสแล้วเสด็จเข้ากรุงกบิลพัสดุ์ เที่ยวเสาะหาทั่วกรุง ไม่เห็นเรือนที่พอจะเป็นที่ประทับพักได้สักแห่ง จึงเสด็จกลับไปกราบทูลว่า ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า เรือนในกรุงกบิลพัสดุ์ที่พอจะเป็นที่ประทับพักในวันนี้ พระพุทธเจ้าข้า ท่านภรัณฑุ กาลามะ เพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เก่าแก่ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงประทับพักในอาศรมของท่านสักคืนเถิด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 553

พ. เธอจงไปจัดการปูลาด.

เจ้ามหานาม ศากยะ รับพระดำรัสแล้วเสด็จไปอาศรมของภรัณฑุ กาลามะ จัดการปูลาด ตั้งน้ำชำระพระยุคลบาทแล้วไปกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดการปูลาด ตั้งน้ำชำระพระยุคลบาทแล้ว แล้วแต่จะโปรด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปอาศรมของภรัณฑุ กาลามะ ประทับ ณ อาสนะที่จัดไว้ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงล้างพระบาท

เจ้ามหานาม ศากยะ ทรงดำริว่า วันนี้ไม่ใช่เวลาอันควรที่จะเฝ้าสนทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเมื่อยล้า พรุ่งนี้จึงค่อยเฝ้าเถิด จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณ เสด็จกลับไป

ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้ามหานาม ศากยะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเจ้ามหานาม ศากยะ ว่า มหานาม ศาสดา ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๓ จำพวกเป็นไฉน ศาสดาลางพวกบัญญัติกามปริญญา (ความกำหนดรู้เรื่องกามทั้งหลาย) แต่ไม่บัญญัติรูปปริญญา (ความกำหนดรู้เรื่องรูปทั้งหลาย) ไม่บัญญัติเวทนาปริญญา (ความกำหนดรู้เรื่องเวทนาทั้งหลาย) ศาสดาพวกหนึ่งบัญญัติกามปริญญา และรูปปริญญา ไม่บัญญัติเวทนาปริญญา ศาสดาพวกหนึ่งบัญญัติทั้งกามปริญญา ทั้งรูปปริญญา ทั้งเวทนาปริญญา นี้แล ศาสดา ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนมหานาม ความสำเร็จของศาสดา ๓ นี้ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกัน. พอสิ้นกระแสพระพุทธดำรัส ภรัณฑุ กาลามะ บอกเจ้ามหานาม ศากยะ ว่า ท่านมหานาม ท่านจงกราบทูลว่า เป็นอย่างเดียวกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหานาม เธอจงตอบว่า ต่างกัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 554

ภรัณฑุ กาลามะ และพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างก็พูด และรับสั่งยืนคำอยู่อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง ภรัณฑุ กาลามะ สำนึกขึ้นว่า เราหนอ ถูกพระสมณโคดมรุกรานเอาถึง ๓ ครั้ง ต่อหน้าเจ้ามหานาม ศากยะ ผู้มเหสักข์ ไฉนหนอ เราพึงไปจากกรุงกบิลพัสดุ์เถิด ไม่ช้า ภรัณฑุ กาลามะ ก็หลีกไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ เขาได้หลีกไปเหมือนอย่างนั้นทีเดียว ไม่กลับมาอีก.

จบภรัณฑุสูตรที่ ๔

อรรถกถาภรัณฑุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภรัณฑุสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เกวลกปฺปํ ได้แก่ รอบด้านทั้งสิ้น. บทว่า อาหิณฺฑนฺโต ได้แก่ เสด็จเที่ยวไป. บทว่า น อทฺทสา ความว่า เพราะเหตุใดเจ้ามหานาม ศากยะ จึงไม่ทรงพบ. ได้ยินว่า ภรัณฑุ กาลามดาบสนี้ ขบฉันบิณฑบาตอันเลิศของเจ้าศากยะทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ในเวลาที่พระองค์เสด็จถึงที่อยู่ของดาบสนั้น พระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งจะเกิดขึ้น จึงได้ทรงอธิฏฐานไว้ โดยไม่ให้ที่พักแห่งอื่นปรากฏเห็น เพราะฉะนั้น เจ้ามหานาม ศากยะ จึงไม่เห็น.

บทว่า ปุราณสพฺรหฺมจารี ได้แก่ เคยเป็นผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์กันมาก่อน. ได้ยินว่า ภรัณฑุ กาลามดาบสนั้น ได้อยู่ในอาศรมนั้น ในสมัยอาฬารดาบสกาลามโคตร. พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวหมายถึงดาบสนั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺถรํ ปญฺาเปหิ มีอธิบายว่า เธอจงปูอาสนะที่จะต้องปู. บทว่า สนฺถรํ ปญฺาเปตฺวา ความว่า ปูผ้าสำหรับปูนอน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 555

บนเตียง อันเป็นกัปปิยะ การก้าวล่วง ชื่อว่าปริญญา ในบทว่า กามานํ ปริญฺํ ปญฺาเปติ นี้ เพราะฉะนั้น ศาสดาบางพวกจึงบัญญัติการก้าวล่วงกามทั้งหลายว่า เป็นปฐมฌาน. บทว่า น รูปานํ ปริญฺํ ความว่า ไม่บัญญัติธรรมที่เป็นเหตุก้าวล่วงรูปว่า เป็นอรูปาวจรสมาบัติ. บทว่า น เวทนานํ ปริญฺํ ความว่า ไม่บัญญัติการก้าวล่วงเวทนาว่า เป็นนิพพาน คติ คือ ความสำเร็จ ชื่อว่า นิฏฺา. บทว่า อุทาหุ ปุถุ ความว่า หรือต่างกัน.

จบอรรถกถาภรัณฑุสูตรที่ ๔