๙. ปฏิจฉันนสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดี เปิดไม่ดี ๓ อย่าง
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 567
ตติยปัณณาสก์
กุสินาวรรคที่ ๓
๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดี เปิดไม่ดี ๓ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 567
๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดีเปิดไม่ดี ๓ อย่าง
[๕๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ อย่างนี้ ปกปิดดี เปิดเผยไม่ดี ของ ๓ อย่าง คืออะไร คือ มาตุคาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ๑ ความเห็นผิด ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ของ ๓ อย่าง ปกปิดดี เปิดเผยไม่ดี
ของ ๓ อย่างนี้ เปิดเผยดี ปกปิดไม่ดี ของ ๓ อย่าง คืออะไร คือ จันทรมณฑล (ดวงจันทร์) ๑ สุริยมณฑล (ดวงอาทิตย์) ๑ พระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ของ ๓ อย่างเปิดเผยดี ปกปิดไม่ดี.
จบปฏิจฉันนสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฏิจฉันนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจฉันนสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วหนฺติ แปลว่า ย่อมนำไป. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน วหติ ความว่า ปกปิดแล้วจึงออกไป. ในบทว่า วิเฏ วิโรจติ พึงทราบข้อที่จะต้องเปิดเผยโดย ๔ อย่าง คือ เปิดเผยโดยส่วนเดียว ๑ เปิดเผยโดยส่วนสอง ๑ เปิดเผยโดยส่วนตัว ๑ เปิดเผยโดยทั่วไป ๑. ในบรรดาสิ่งที่จะต้องเปิดเผย ๔ อย่างนั้น สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป (แก่ภิกษุและภิกษุณี) ชื่อว่าเปิดเผยโดยส่วนเดียว. สิกขาบทที่ทั่วไป (แก่อุภโตสงฆ์) ชื่อว่าเปิดเผยโดยสองส่วน. คุณธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ชื่อว่าเปิดเผยเฉพาะตน. (ส่วน) พระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ชื่อว่าสิ่งที่เปิดเผยโดยทั่วไป.
จบอรรถกถาปฏิจฉันนสูตรที่ ๙