พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปริสาสูตร ว่าด้วยบริษัท ๓ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38767
อ่าน  315

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 573

ตติยปัณณาสก์

โยธาชีวรรคที่ ๔

๒. ปริสาสูตร

ว่าด้วยบริษัท ๓ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 573

๒. ปริสาสูตร

ว่าด้วยบริษัท ๓ จำพวก

[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ นี้ บริษัท ๓ คืออะไร คือ (อุกฺกาจิตวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึก อธิบายให้กระจ่างแจ้ง โดยไม่ได้สอบถาม ๑ (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึก โดยสอบถาม ๑ (ยาวตชฺฌาวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึก โดยผู้ฝึกเพียงแนะให้รู้จักเพ่งพิจารณาเอง ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวก.

จบปริสาสูตรที่ ๒

อรรถกถาปริสาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ บริษัทที่แนะนำโดยไม่ได้สอบถาม คือ บริษัทที่ฝึกได้ยาก. บทว่า ปฏิปุจฺฉาวินีตา ได้แก่ บริษัทที่แนะนำโดยสอบถาม คือ บริษัทที่ฝึกได้ง่าย. บทว่า ยาวตา จ วินีตา ได้แก่ บริษัทที่แนะนำด้วยข้อแนะนำพอประมาณ อธิบายว่า ได้แก่ บริษัทที่ถูกแนะนำโดยรู้ประมาณ. ก็ความของพระบาลีที่ว่า ยาวตชฺฌา ก็เท่ากับ ยาว อชฺฌาสยา (แปลว่า เพียงพอแก่อัธยาศัย) อธิบายว่า บริษัทที่ได้รับการฝึกโดยรู้อัธยาศัย.

จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ ๒