พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ทุติยอัสสสูตร ว่าด้วยม้าดี และบุรุษดี ๓ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ต.ค. 2564
หมายเลข  38774
อ่าน  343

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 580

ตติยปัณณาสก์

โยธาชีวรรคที่ ๔

๙. ทุติยอัสสสูตร

ว่าด้วยม้าดี และบุรุษดี ๓ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 580

๙. ทุติยอัสสสูตร

ว่าด้วยม้าดี และบุรุษดี ๓ จำพวก

[๕๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าดี ๓ และคนดี ๓ จำพวก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขยายความต่อไปว่า ม้าดี ๓ เป็นอย่างไร? คือ ม้าดีลางตัวฝีเท้าดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าดี สีงาม แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม นี่ม้าดี ๓ จำพวก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 581

คนดี ๓ จำพวก เป็นอย่างไร? คือ คนดีลางคนมีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม

คนดี มีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม เป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น เป็นอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เรากล่าวความที่เป็นโอปปาติกะ ... (คือเป็นพระอนาคามี) นี้ ในความมีเชาวน์ดีของเธอ แต่ภิกษุนั้นถูกถามปัญหาในอภิธรรมอภิวินัยแล้ว จนปัญญา แก้ปัญหาไม่ได้ ฯลฯ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวก.

จบทุติยอัสสสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยอัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัสสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสฺสสทสฺเส ความว่า ในม้าดี (ม้าเทศ) ในจำนวนม้าทั้งหลาย. บทว่า ปุริสสทสฺเส ความว่า ในบุคคลผู้เช่นกับด้วยม้าดีในบุรุษทั้งหลาย อธิบายว่า ได้แก่ สุภาพบุรุษ. ในพระสูตรนี้ ตรัสมรรคผลไว้ ๓ อย่าง. ในบรรดาบุคคล ๓ ประเภทนั้น บุคคลดีนี้ พึงทราบว่า ถึงพร้อมด้วยเชาว์คือญาณ ด้วยมรรค ๓.

จบอรรถกถาทุติยอัสสสูตรที่ ๙