พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ ๔ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38800
อ่าน  370

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 28

ปฐมปัณณาสก์

ภัณฑคามวรรคที่ ๑

๑๐. โยคสูตร

ว่าด้วยโยคะ ๔ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 28

๑๐. โยคสูตร

ว่าด้วยโยคะ ๔ อย่าง

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โยคะ (เครื่องผูก) ๔ นี้ โยคะ ๔ คืออะไร คือ กามโยคะ (เครื่องผูกคือกาม) ภวโยคะ (เครื่องผูกคือภพ) ทิฏฐิโยคะ (เครื่องผูกคือทิฏฐิ) อวิชชาโยคะ (เครื่องผูกคืออวิชชา)

กามโยคะเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ ความชุ่มชื่น ความขมขื่น และความออกไป แห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความเยื่อใยในกาม ความสยบในกาม ความกระหาย ในกาม ความกลัดกลุ้มในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความดิ้นรนในกาม ย่อมติดแนบใจ. นี่เรียกว่า กามโยคะ. กามโยคะเป็นดังนี้

ก็ภวโยคะเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ เป็นดังนี้

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรน ในทิฏฐิ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 29

ก็อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ เป็นดังนี้

บุคคล (ผู้ยังละโยคะไม่ได้) นุงนังด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล นั้นว่า (อโยคกฺเขมี) ผู้ไม่ปลอดจากโยคะ

นี้แล โยคะ ๔

ภิกษุทั้งหลาย วิสังโยคะ (ความปลอดโปร่ง) ๔ นี้ วิสังโยคะ ๔ คืออะไร คือ กามโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากกามโยคะ) ภวโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากภวโยคะ) ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากทิฏฐิโยคะ) อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากอวิชชาโยคะ)

กามโยควิสังโยคะเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม ฯลฯ ความดิ้นรนในกาม ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า กามโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

ก็ภวโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนโนโลกนี้รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ ภวโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 30

ก็ทิฏฐิโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรนในทิฏฐิ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

ก็อวิชชาโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึง ความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ อวิชชาโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

บุคคล (ผู้ละโยคะได้แล้ว) ปลอดโปร่งจากธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล นั้นว่า (โยคกฺเขมี) ผู้ปลอดจากโยคะ นี้แล วิสังโยคะ ๔

สัตว์ทั้งหลาย อันกามโยคะผู้ไว้แล้ว ซ้ำภวโยคะและทิฏฐิโยคะผูกเข้าอีก อวิชชารุมรัดเข้าด้วย ย่อมเวียนเกิดเวียนตายไป.

ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กาม และภวโยคะ ด้วยประการทั้งปวง ตัดถอน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 31

ทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.

จบโยคสูตรที่ ๑๐

จบภัณฑคามวรรคที่ ๑

อรรถกถาโยคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโยคสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

กิเลสชื่อว่า โยคะ เพราะผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ในบทว่า กามโยโค เป็นอาทิ ความกำหนัดประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามโยคะ. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวโยคะ. ความติดใจในฌานก็อย่างนั้น. ราคะประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่า อวิชชาโยคะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กามโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในกาม. ชื่อว่า ภวโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ. ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในทิฏฐิ. ชื่อว่า อวิชชาโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในอวิชชา คำดังกล่าวมานี้ เป็นชื่อของธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายธรรมเหล่านั้นให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทยํ คือความเกิด. บทว่า อตฺถงฺคมํ คือความดับ. บทว่า อสฺสาทํ คือ ความชุ่มชื่น. บทว่า อาทีนวํ คือ โทษที่มิใช่ความชุ่มชื่น. บทว่า นิสฺสรณํ คือความออกไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 32

บทว่า กาเมสุ คือ ในวัตถุกาม. บทว่า กามราโค คือราคะ เกิดเพราะปรารภกาม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า อนุเสติ คือ บังเกิด. พึงทราบเนื้อความในบททุกบทอย่างนี้ว่า บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กามโยโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า เหตุแห่งการประกอบเครื่องผูกสัตว์ไว้ในกาม. บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ เหตุมีจักขุสัมผัสเป็นต้น สำหรับอายตนะทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา อญฺานํ ความว่า อวิชชาคือความไม่รู้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ อิติศัพท์ ในบทนี้ว่า อิติกามโยโค พึงประกอบกับโยคะแม้ทั้ง ๔ ว่า กามโยคะดังนี้ ภวโยคะ ดังนี้เป็นต้น

บทว่า สมฺปยุตตฺโต ได้แก่ ผู้ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า ปาปเกหิ ได้แก่ ที่ลามก. บทว่า อกุสเลหิ ได้แก่ เกิดแต่ความไม่ฉลาด. บทว่า สงฺกิเลสิเกหิ คือมีความเศร้าหมอง อธิบายว่า ประทุษร้ายความผ่องใส แห่งจิตที่ผ่องใสแล้ว. บทว่า โปโนพฺภวิเกหิ ได้แก่ เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่. บทว่า สทเรหิ ได้แก่ มีความเร่าร้อน. บทว่า ทุกฺขวิปาเกหิ ได้แก่ ให้ทุกข์เกิดขึ้นในเวลาให้ผล. บทว่า อายตึชาติชรามรณิเกหิ ได้แก่ ให้เกิดชาติ ชรา มรณะในอนาคตบ่อยๆ. บทว่า ตสฺมา อโยคกฺเขมีติ วุจฺจติ ความว่า ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้ละโยคะยังไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อโยคักเขมี ไม่เกษมจากโยคะเพราะเขายังไม่บรรลุพระนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔ เหล่านั้น.

บทว่า วิสํโยคา คือเหตุแห่งความคลายโยคะกิเลสเครื่องผูก. บทว่า กามโยควิสํโยโค คือเหตุแห่งความคลายกามโยคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บรรดาบทเหล่านั้น การเพ่งอสุภกัมมัฏฐาน เป็นการคลายกามโยคะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 33

อนาคามิมรรคทำอสุภฌานนั้นให้เป็นบาทแล้วบรรลุ ชื่อว่า คลายกามโยคะ โดยส่วนเดียวแท้. อรหัตตมรรค ชื่อว่า คลายภวโยคะ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า คลายทิฏฐิโยคะ อรหัตตมรรค ชื่อว่า คลายอวิชชาโยคะ. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายวิสังโยคธรรมเหล่านั้นให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. ความแห่งพระดำรัสนั้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว. บทว่า ภวโยเคน จูภยํ ความว่า ผูกไว้ด้วยภวโยคะ และผูกไว้ด้วยภวโยคะทิฏฐิโยคะแม้ทั้งสองยิ่งขึ้นอีก คือประกอบด้วยโยคะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปุรกฺขตา ได้แก่ ถูกนำไว้ข้างหน้า หรือถูกแวดล้อม. บทว่า กาเม ปริญฺาย ได้แก่ กำหนด รู้กามแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า ภวโยคญฺจ สพฺพโส ได้แก่ กำหนดรู้ภวโยคะทั้งหมดนั่นแล. บทว่า สมูหจฺจ ได้แก่ ถอนหมดแล้ว. บทว่า วิราชยํ ได้แก่ กำลังคลายหรือคลายแล้ว. ก็เมื่อกล่าวว่า วิราเชนฺโต ก็เป็นอัน กล่าวถึงมรรค เมื่อกล่าวว่า วิราเชตฺวา ก็เป็นอันกล่าวถึงผล. บทว่า มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระขีณาสพ. ดังนั้น ในสูตรนี้ก็ดี ในคาถาก็ดี จึงตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) แล.

จบอรรถกถาโยคสูตรที่ ๑๐

จบภัณฑคามวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในภัณฑคามวรรคนี้ คือ

๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร ๓. ปฐมขตสูตร ๔. ทุติยขตสูตร ๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปสุตสูตร ๗. สังฆโสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. โยคสูตร และอรรถกถา.