พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. โสขุมมสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38806
อ่าน  350

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 46

ปฐมปัณณาสก์

จรวรรคที่ ๒

๖. โสขุมมสูตร

ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 46

๖. โสขุมมสูตร

ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการ

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอย่างยิ่ง ย่อมไม่พิจารณาเห็นญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น อันยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น.

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน เวทนา ...

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน สัญญา ...

๔. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน สังขาร ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้แล.

ภิกษุใดรู้ความสุขุมในรูปขันธ์ และรู้ความเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย รู้ความเกิด และความดับแห่งสัญญา รู้สังขารทั้งหลาย โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์และโดยความไม่ใช่ตน ภิกษุนั้นชื่อว่า ผู้เห็นชอบ ผู้สงบแล้ว ยินดีแล้วในสันติบท

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 47

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ชนะมารกับทั้งพลพาหนะมารแล้ว.

จบโสขุมมสูตรที่ ๖

อรรถกถาโสขุมมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสขุมมสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสขุมฺมานิ ได้แก่ ญาณที่เป็นเครื่องแทงสุขุมลักษณะได้ตลอด. บทว่า รูปโสขุมฺเมน สมนฺนาคโต โหติ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยญาณที่กำหนดรู้ลักษณะสุขุมอันละเอียดในรูป. บทว่า ปรเมน ได้แก่ สูงสุด. บทว่า เตน จ รูปโสขุมฺเมน ความว่า ด้วยญาณที่กำหนดรู้ สุขุมลักษณะจนถึงอนุโลมญาณนั้น. บทว่า น สมนุปสฺสติ ได้แก่ ไม่พิจารณาเห็นโดยความไม่มี. บทว่า น ปฏิเติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา โดยความไม่มี. แม้ในเวทนาที่สุขุมเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า รูปโสขุมฺมตํ ตฺวา ความว่า ภิกษุรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของสุขุมด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดสุขุมลักษณะที่ละเอียด. บทว่า เวทนานญฺจ สมฺภวํ ความว่า รู้ถึงแดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์. บทว่า สญฺา ยโต สมุเทติ ความว่า รู้เหตุที่สัญญาขันธ์เกิดคือบังเกิด. บทว่า อตฺถํ คจฺฉติ ยตฺถ จ ความว่า รู้ถึงที่สัญญาขันธ์ดับ. บทว่า สงฺขาเร ปรโต ตฺวา ความว่า รู้ถึงสังขารขันธ์แปรเป็นอย่างอื่น โดยสภาพชำรุด เพราะเป็นของไม่เที่ยง. ก็อนิจจานุปัสสนาตรัสด้วยบทนี้. ตรัสทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนาด้วยบทนี้ว่า ทุกฺขโต โน จ อตฺตโต. บทว่า สนฺโต ความว่า ชื่อว่าสงบ เพราะกิเลสสงบ. บทว่า สนฺติปเท รโต ได้แก่ ยินดีในนิพพาน. ในสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาในฐานะ ๔ เท่านั้น ในคาถาตรัสโลกุตรธรรมด้วยแล.

จบอรรถกถาโสขุมมสูตรที่ ๖