พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สันตุฏฐิสูตร ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38817
อ่าน  397

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 83

ปฐมปัณณาสก์

อุรุเรลวรรคที่ ๓

๗. สันตุฏฐิสูตร

ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 83

๗. สันตุฏฐิสูตร

ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย ๔

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้เป็นของเล็กน้อยด้วยหาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย ปัจจัย ๔ อย่างคืออะไร คือ ผ้าบังสุกุล อาหาร ที่ได้มาโดยเที่ยวบิณฑบาต เสนาสนะโคนไม้ ยาน้ำมูตรเน่า นี้แล ปัจจัย ๔ อย่าง เป็นของเล็กน้อยด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย เมื่อภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยเล็กน้อยและหาง่าย เรากล่าวความสันโดษของเธอนี้ว่า เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง.

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยอันหาโทษมิได้ เล็กน้อยและหาง่าย ย่อมไม่มีความทุกข์ใจเพราะเรื่องเสนาสนะ จีวร ข้าว น้ำ จะไปทิศใดก็ไม่เดือดร้อน.

ธรรมเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ สมควรแก่ความเป็นสมณะ ธรรมเหล่านั้นเป็นอันภิกษุผู้สันโดษ ผู้ไม่ประมาทนั้นกำหนดไว้ได้แล้ว.

จบสันตุฏฐิสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 84

อรรถกถาสันตุฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏฐิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปานิ แปลว่า ของเล็กน้อย. บทว่า สุลภานิ แปลว่า พึงได้โดยง่าย คือใครก็สามารถจะได้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า อนวชฺชานิ แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ อาหารที่เที่ยวไปด้วยกำลังปลีแข้งได้นาสักว่าเป็นคำข้าว. บทว่า ปูติมุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง. กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น. บทว่า วิฆาโต ได้แก่ ความคับแค้น อธิบายว่า จิตไม่มีทุกข์. บทว่า ทิสา น ปฏิหญฺติ ความว่า ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่ชื่อโน้น จักได้จีวรเป็นต้น จิตของภิกษุนั้น ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อน ตลอดทิศ. ภิกษุใด ย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนั้น จิตของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เดือดร้อนตลอดทิศ. บทว่า ธมฺมา คือปฏิบัติติธรรม. บทว่า สามญฺสฺสานุโลมิกา ได้แก่ สมควรแก่สมณธรรม. บทว่า อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันภิกษุผู้มีจิตสันโดษ กำหนดไว้ อยู่แต่ภายใน ไม่ไปภายนอก.

จบอรรถกถาสันตุฏฐิสูตรที่ ๗