พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ธัมมปทสูตร ว่าด้วยธรรมบทที่บัณฑิตสรรเสริญ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38819
อ่าน  445

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 107

ปฐมปัณณาสก์

อุรุเรลวรรคที่ ๓

๙. ธัมมปทสูตร

ว่าด้วยธรรมบทที่บัณฑิตสรรเสริญ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 107

๙. ธัมมปทสูตร

ว่าด้วยธรรมบทที่บัณฑิตสรรเสริญ ๔

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท (ข้อธรรม) ๔ ข้อนี้ปรากฏ ว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูกทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว ธรรมบท ๔ ข้อ คืออะไรบ้าง คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แลธรรมบท ๔ ข้อ ที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 108

พึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา มีใจไม่พยาบาท มีสติ มีจิตแน่วแน่ มั่นอยู่ในภายใน.

จบธัมมปทสูตรที่ ๙

อรรถกถาธัมมปทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมปทสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺมปทานิ คือส่วนแห่งธรรม. ในบทว่า อนภิชฺฌา เป็นต้น พึงทราบอนภิชฌา โดยเป็นข้าศึกของอภิชฌา. อัพยาบาทโดยเป็น ข้าศึกของพยาบาท สัมมาสติโดยเป็นข้าศึกของมิจฉาสติ พึงทราบสัมมาสมาธิ โดยเป็นข้าศึกของมิจฉาสมาธิ.

บทว่า อนภิชฺฌาลุ คือไม่มีตัณหา. บทว่า อพฺยาปนฺเนน เจตสา ความว่า มีจิตไม่ละปกติภาพตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า สโต เอกคฺคจิตฺตสฺส ความว่า ผู้ประกอบด้วยสติมีจิตแน่วแน่ในอารมณ์เดียว. บทว่า อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในภายในแน่นอน. ตรัสวัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา.

จบอรรถกถาธัมมปทสูตรที่ ๙