พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อุทายสูตร ว่าด้วยอุทายพราหมณ์ทูลถามปัญหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38829
อ่าน  424

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 149

ปฐมปัณณาสก์

จักกวรรคที่ ๔

๙. อุทายสูตร

ว่าด้วยอุทายพราหมณ์ทูลถามปัญหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 149

๙. อุทายสูตร

ว่าด้วยอุทายพราหมณ์ทูลถามปัญหา

[๓๙] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่ออุทายะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ กราบทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ สรรเสริญยัญ บ้างหรือไม่.

พ. ตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราไม่สรรเสริญยัญไปเสียทั้งนั้น และ มิใช่ติเตียนยัญไปทั้งหมด ในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่ และสุกรทั้งหลายถูกฆ่า สัตว์หลายหลากชนิดถึงซึ่งความมอดม้วย เราไม่สรรเสริญยัญอย่างนั้น อันมีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ไม่ข้องแวะยัญอันมีการที่จะต้องเป็นธุระมากอย่างนี้เลย ส่วนว่าในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่และสุกรทั้งหลายไม่ถูกฆ่า สัตว์ต่างๆ ชนิดไม่ถึงซึ่งความมอดม้วย เราสรรเสริญ ยัญอย่างนั้น อันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก ยัญอย่างนั้นคืออะไร คือ นิจทาน (ทานที่ให้เป็นนิตย์) อันเป็นอนุกุลยัญ (ยัญคือทานที่ให้ตามสกุล คือตามอย่างบุรพบุรุษกระทำมา) ที่เราสรรเสริญนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ย่อม เกี่ยวข้องยัญอันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมากอย่างนี้.

มหายัญทั้งหลายที่มีการจะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ นิรัคคฬะ มหายัญเหล่านั้น หามีผลมากไม่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 150

ในยัญใด มีแพะ โค และสัตว์ต่างชนิดถูกปลิดชีพ ท่านผู้ดำเนินทางชอบ ท่านผู้มหาฤษี ไม่ข้องแวะยัญนั้น.

ส่วนยัญเหล่าใดไม่มีการอันจะต้อง เป็นธุระริเริ่มมาก ที่บูชาตามสกุลเป็นนิตย์ ซึ่งเป็นยัญที่ แพะ โค และสัตว์ต่างชนิดไม่ถูกปลิดชีพ ท่านผู้ดำเนินทางชอบ ท่านผู้เป็นมหาฤษีย่อมสรรเสริญยัญนั้น.

ผู้มีปัญญาพึงบูชายัญอย่างนี้ ยัญนี้มีผลมาก เพราะเมื่อบุคคลบูชายัญอย่างนี้ ย่อมมีแต่ความดีไม่มีบาป ยัญก็มีผลไพบูลย์ ทั้งเทวดาก็เลื่อมใส.

จบอุชชยสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุชชยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุชชยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สํฆาตํ อาปชฺชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกฆ่า คือ ตาย. บทว่า นิจฺจทานํ ได้แก่ สลากภัต. บทว่า อนุกุลยญฺํ ความว่า ยัญคือทานอันบุคคลพึงบูชา คือ พึงให้ ด้วยอำนาจสืบทอดกันมา ตามตระกูลอย่างนี้ เพราะพ่อปู่บรรพบุรุษของเราทั้งหลายให้กันมาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 151

ในบทว่า อสฺสเมธํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ยัญชื่อว่า อัสสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าม้า คำนั้นเป็นชื่อของยัญ ที่จะอำนวยให้สมบัติทุกอย่างไม่เหลือ ยกเว้นแผ่นดินและคนทั้งหลาย ซึ่งมีหลักบูชา ๒๑ หลัก ที่พึงบูชาด้วยปริยัญสอง. ยัญชื่อว่า ปุริสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าคน คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่จะอำนวยให้สมบัติที่กล่าวแล้ว ในอัสสเมธพร้อมด้วยแผ่นดิน ซึ่งพึงบูชาด้วยปริยัญสี่. ชื่อว่า สัมมาปาสะ เพราะในยัญนี้เขาโยนบ่วงแอกไป คำนั้นเป็นชื่อของยัญทั้งหมดที่เขาทำแท่นบูชาโยนบ่วง ตรงโอกาสที่บ่วงแอกนั้นตก แล้วเดินถอยกลับตั้งแต่โอกาสที่ดำลงในแม่น้ำสรัสวดี พึงบูชาด้วยหลักเป็นต้นที่ยกไปได้ทุกๆ วัน. ชื่อว่า วาชเปยยะ เพราะในบัดนี้ เขาดื่มวาชะ คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่อำนวยให้สมบัติ ๑๗ หมวด ซึ่งมีหลักบูชาทำด้วยไม้มะตูม ที่พึงบูชาด้วยสัตว์เลี้ยง ๑๗ ชนิด ด้วยปริยัญหนึ่ง. ชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะในยัญนี้ไม่มีลิ่มสลัก คำนั้น เป็นชื่อของยัญอันกำหนดไว้ในอัสสเมธ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สรรพเมธ ซึ่งอำนวยให้สมบัติที่กล่าว แล้วในอัสสเมธพร้อมด้วย แผ่นดินและด้วยคนทั้งหลาย ที่พึงบูชาด้วยปริยัญเก้า.

บทว่า มหารมฺภา ได้แก่ มีกิจมาก มีกรณียะมาก อนึ่ง ชื่อว่า มีการริเริ่มใหญ่ ก็เพราะการริเริ่มด้วยปาณาติบาตมาก. ในบทว่า น เต โหนฺติ มหปฺผลา นี้ ท่านสรุปผลของยัญที่มีส่วนเหลือไว้ ในความหมายว่า ไม่มีส่วนเหลือ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ว่าด้วยผลที่น่าปรารถนา ก็ไม่มีผลเลย. ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงการริเริ่มด้วยปาณาติบาตนั้นเอง. ส่วนทานใดที่เขาให้ในระหว่างในยัญนั้น ทานนั้น ย่อมมีผลไม่มาก เพราะถูกการริเริ่มนี้ เข้าไปกำจัดเสียแล้ว อธิบายว่า มีผลน้อย. บทว่า หญฺเร คือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 152

ย่อมฆ่า. บทว่า ยชนฺติ อนุกุลํ สทา ความว่า ชนเหล่าใดย่อมบูชายัญตามตระกูล แม้พวกคนเหล่านั้นเกิดในภายหลัง ก็ยังบูชาตาม เพราะบรรพบุรุษทั้งหลายได้บูชากันมาแล้ว. บทว่า เสยฺโย โหติ แปลว่า ย่อมวิเศษ แน่แท้. บทว่า น ปาปิโย ได้แก่ ไม่เลวทรามอะไรเลย.

จบอรรถกถาอุชชยสูตรที่ ๙