พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อุทายิสูตร ว่าด้วยอุทายิพราหมณ์ทูลถามปัญหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38830
อ่าน  419

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 152

ปฐมปัณณาสก์

จักกวรรคที่ ๔

๑๐. อุทายิสูตร

ว่าด้วยอุทายิพราหมณ์ทูลถามปัญหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 152

๑๐. อุทายิสูตร

ว่าด้วยอุทายิพราหมณ์ทูลถามปัญหา

[๔๐] ความเหมือนสูตรก่อน ต่างแต่สูตรนี้พราหมณ์ชื่ออุทายิมาเฝ้า และมีนิคมคาถาดังนี้

พรหมจารีทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว ย่อมสรรเสริญยัญ (คือทาน) ที่ไม่มีการ อันจะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก จัดทำให้เป็นกัปปิยะ (คือให้เป็นของควร ปราศจากการเบียดเบียนสัตว์) ตามกาล เช่นนั้น.

อนึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีหลังคา (คือกิเลส) อันเปิดแล้ว ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลและคติ ผู้ฉลาดในเรื่องบุญ ทรงสรรเสริญยัญอันนั้น

ในยัญ (คือการบริจาคทานปกติ) ก็ดี ในศราทธะ (คือทำบุญอุทิศผู้ตาย)

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 153

ก็ดี ทายกผู้มีจิตเลื่อมใสจัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชาตามสมควรแล้ว บริจาคในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายซึ่งเป็นเนื้อนาดี การบูชา การบริจาคที่ กระทำในท่านเหล่านั้น ผู้เป็นทักษิไณยบุคคล ย่อมเป็นการบูชาอย่างดี เป็นการบริจาคอย่างดีพร้อมมูล ยัญย่อมมีผลไพบูลย์ และเทวดาก็เลื่อมใส.

ปราชญ์ผู้ศรัทธา มีใจปลอดโปร่ง (จากความตระหนี่) ครั้นบูชายัญอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นบัณฑิตเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียนเป็นสุข.

จบอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบจักกวรรคที่ ๔

อรรถกถาอุทายิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิสงฺขตํ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภํ คือ เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺํ คือ ไทยธรรม. ที่จริงไทยธรรมนั้น เขาเรียกว่า ยัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร คือเหมาะ. บทว่า อุปสํยนฺติ คือย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุลํ คตึ ความว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 154

ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลในวัฏฏะ และคติในวัฏฏะ. บทว่า ปุญฺสฺส โกวิทา ความว่า ความฉลาดในบุญที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า ยญฺเ คือในทานตามปกติ. บทว่า สทฺเธ คือ ในทานอุทิศเพื่อผู้ตาย. บทว่า หุญฺํ กตฺวา ความว่า จัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชา. บทว่า สุกฺเขตฺเต พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ในเนื้อนาที่ดี กล่าวคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สมฺปตฺตํ คือถึงดีแล้ว. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยสุ ยํ กตํ ความว่า ยัญที่สำเร็จในทักษิไณยบุคคลผู้สมควร เป็นอันบุคคลบูชา เช่นสรวงถึงดีแล้ว. บทว่า สทฺโธ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะเชื่อในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ได้แก่ มีใจสละแล้ว. ท่านแสดงการบริจาคด้วยน้ำใจเสียสละด้วยบทนี้แล.

จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบจักกวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรในจักกวรรคนี้ คือ

๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร ๓. สีหสูตร ๔. ปสาทสูตร ๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร ๗. อปริหานิสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร ๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายิสูตร และอรรถกถา.