พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38831
อ่าน  397

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 155

ปฐมปัณณาสก์

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

๑. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 155

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

๑. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๔

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ สมาธิภาวนา ๔ ประการคืออะไร คือสมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) ความพักผ่อนอยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบันก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ (ญาณทัสนปฏิลาภ) ความได้ญาณทัสนะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะก็มี

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความพักผ่อน อยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบันเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก ประกอบด้วยวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

เพราะวิตกวิจารสงบไป เธอได้ทุติยฌานอันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน ประกอบด้วยความที่ใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เพราะปีติคลายไปด้วย ภิกษุเพ่งอยู่ด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุขทางกายด้วย ได้ตติยฌาน ซึ่งพระอริยะกล่าว (ผู้ที่ได้ตติยฌานนี้) ว่า ผู้มีสติเพ่งอยู่เป็นสุข

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 15

เพราะละสุข (กาย) และทุกข์ (กาย) ได้ เพราะโสมนัส (สุขใจ) และโทมนัส (ทุกข์ใจ) ดับไปก่อน ได้จตุตถฌานอันไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติอยู่

นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความพักผ่อน อยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบัน

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความได้ญาณทัสนะเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำในใจซึ่งอาโลกสัญญา (ความสำคัญในแสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นเวลากลางวัน) ให้เหมือนกันหมดทั้งกลางวันและกลางคืน มีใจสงบสงัดไม่มีอะไรหุ้มห่อ ยังจิตอันประกอบด้วยความสว่างไสวให้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อฌาณทัสนะ

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญการทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวทนาเกิดขึ้นก็รู้ เวทนาตั้งอยู่ก็รู้ เวทนาดับไปก็รู้ สัญญาเกิดขึ้นก็รู้ สัญญาตั้งอยู่ก็รู้ สัญญาดับไปก็รู้ วิตกเกิดขึ้นก็รู้ วิตกตั้งอยู่ก็รู้ วิตกดับไปก็รู้ นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาดูเนืองๆ ซึ่งความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่ารูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างนี้ นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 157

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สมาธิภาวนา ๔.

ก็แล คำที่เรากล่าวในปุณณกปัญหาในปารายนวรรคว่า

ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ ของผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณารู้อารมณ์อันยิ่งและหย่อนในโลก ผู้นั้นเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มีทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง เรากล่าวว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว

ดังนี้นี่ หมายเอาความที่กล่าวมานี้.

จบสมาธิสูตรที่ ๑

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

อรรถกถาสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า าณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อได้ญาณทัสนะคือ ทิพยจักษุ. บทว่า ทิวา สญฺํ อธิฏฺาติ ความว่า ย่อมตั้งความกำหนดหมายอย่างนี้ว่า กลางวัน ดังนี้. บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า ทำในใจถึงอาโลกสัญญาความกำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวันฉันใด ย่อมทำในใจถึงอาโลกสัญญานั้น แม้ในกลางคืนก็ฉันนั้นนั่นแหละ. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สปฺปภาสํ ได้แก่ มีแสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ แม้ทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่างได้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น บัณฑิตก็พึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 158

กำหนดเนื้อความอย่างนี้. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์แสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ. บทว่า วิทิตา ได้แก่ปรากฏแล้ว. ถามว่า อย่างไร เวทนาที่รู้แล้ว ชื่อว่า เกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. ตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกำหนดวัตถุ ย่อมกำหนดอารมณ์ เพราะภิกษุนั้นกำหนดวัตถุและอารมณ์แล้ว เวทนาที่รู้อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นอย่างนี้ ตั้งอยู่อย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ชื่อว่าเกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าตั้งอยู่ ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. แม้ในสัญญาและวิตกก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อุทยพฺพยานุปสฺสี แปลว่า พิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อม. บทว่า อิติ รูปํ ความว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ รูปอื่นนอกนี้ไม่มี. บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้. ส่วนบทว่า อตฺถงฺคโม ท่านหมายถึงความแตกดับ. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อิทญฺจ ปน เม ตํ ภิกฺขเว สนฺธาย ภาสิตํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำเป็นต้นว่า สงฺขาย โลกสฺมิ ใด เรากล่าวแล้ว ในปุณณกปัญหา (โสฬสปัญหา) คำนั้นเรากล่าวหมายถึงผลสมาบัตินี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย ได้แก่ รู้ด้วยญาณ. บทว่า โลกสฺมิ ได้แก่ ในโลกคือหมู่สัตว์. บทว่า ปโรปรานิ ได้แก่ ความยิ่งและหย่อน คือสูงและต่ำ. บทว่า อิชิตํ ได้แก่ ความหวั่นไหว. บทว่า นตฺถิ กุหิฺจิ โลเก ความว่า ความหวั่นไหวของผู้ใด ในที่ไหนๆ ไม่ว่าจะในขันธ์หนึ่งก็ดี อายตนะหนึ่งก็ดี ธาตุหนึ่งก็ดี อารมณ์หนึ่งก็ดี ย่อมไม่มีในโลก. บทว่า สนฺโต ความว่า ผู้นั้นเป็นคนสงบ เพราะสงบกิเลสที่เป็นข้าศึก. บทว่า วิธูโม ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสดุจควัน เพราะควันคือความโกรธ. ในพระสูตรนี้ ตรัสถึงเอกัคคตาในมรรค ในคาถาตรัสผลสมาบัติอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑