พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยโกธสูตร ว่าด้วยอสัทธรรม ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38834
อ่าน  373

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 162

ปฐมปัณณาสก์

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

๔. ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 162

๔. ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ อสัทธรรม ๔ ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล อสัทธรรม ๔ ประเภท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ พระสัทธรรม ๔ ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑. นี้แล พระสัทธรรม ๔ ประเภท.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 163

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ ย่อมไม่งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่านในนาเลวฉะนั้น.

ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในธรรม ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ยฉะนั้น.

จบทุติยโกธสูตรที่ ๔

ในทุติยโกธสูตรที่ ๔ บทว่า โกธครุตา แปลว่า ความเป็นผู้หนัก อยู่ในความโกรธ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นี่แล.