พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สุวิทูรสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38837
อ่าน  399

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 168

ปฐมปัณณาสก์

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

๗. สุวิทูรสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 168

๗. สุวิทูรสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง คืออะไร คือ

๑. ฟ้ากับดิน

๒. ฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งสมุทร

๓. ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง

๔. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง.

ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า ไกลกัน ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง (ก็ไกลกัน) ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ ปราชญ์ กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น

การสมาคมแห่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อมคลาย จะนานเท่าใดๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ.

จบสุวิทูรสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 169

อรรถกถาสุวิทูรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไรๆ คือ ไกลแสนไกลนั่นเอง. บทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปวี จ ได้แก่ อากาศกับแผ่นดินใหญ่. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ ๒ นิ้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกล เพราะไม่ติดกันและกัน

บทว่า เวโรจโน คือดวงอาทิตย์. บทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันต่างด้วยสติปัโฐาน ๔ เป็นต้น. บทว่า อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ปภงฺกโร คือดวงอาทิตย์. บทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ. บทว่า สตํ สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร. บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด. บทว่า ตเถว โหติ ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น. ไม่ละปกติ. บทว่า ขิปฺปฺหิ เวติ คือ ย่อมจางเร็ว.

จบอรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ ๗